ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

สรุป The Simple Path to Wealth by JL Collins

  ผมเขียนถึง JL Collins โพสก่อนหน้ามีคนถามเข้ามาถึงหนังสือของแกว่าดีหรือไม่? ส่วนตัวผมไม่เคยอ่านครับไม่กล้าแนะนำ แต่อ่านบทความจาก Blog ชอบเพราะเขาเขียนจากประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการไปสู่ Finacial Freedom และอ่านเข้าใจง่าย ดังนั้นเพื่อขยายภาพแนวคิด Passive Investing ของ JL Collins ผมจึงทำบทสรุปในรายการ Talks at Google หัวข้อ The Simple Path to Wealth | JL Collins มาแบ่งปัน ให้ท่านสนใจลองศึกษากัน 1. JL Collins ให้นิยามความหมายของ Wealthในมุมมองของเขาว่า มันมองได้สองมุม มุมแรกด้านจิตใจ ความมั่งคั่งตัวแทนของความปลอดภัยและอิสระด้านปลอดภัยเพราะช่วยปกป้องตัวเราจากผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น,รวมถึงความมีอิสระในการตัดสินใจและเลือกที่จะใช้ชีวิตของเรา -มุมที่สองด้านการเงิน จำนวนเงิน เขาไม่ได้ให้ความสำคัญการมีมากที่สุด แต่เขาอิงกับระดับความมีอิสระทางการเงินตามกฏ 4% Rule, หรือ การที่มีเงินหรือสินทรัพย์ ที่นำไปสร้างผลตอบแทนระดับ 4% มากพอจะดำรงชีพรายปี(ครอบคลุม cost of living ของตัวเรา) จุดนี้น่าสนใจเพราะ Colins บอกแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอไป บางคนมั่งคั่งมีอิสรภาพทางการเงินได้ด้วยจำนวนเงินไม่สู...

บันทึก Evergrande

หนี้ของ  Evergrande ยังเป็นประเด็นร้อนต่อเนื่องที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ว่าจะมีผลกระทบต่อเจ้าหนี้ภาคธนาคาร,บริษัทเอกชนซื้อหุ้นกู้ และจะมีบริษัทอสังหาจีนอื่นๆที่จะประสบปัญหาสภาพคล่องเช่นกันหรือไม่ ล่าสุดเริ่มมีการพูดถึง Sinic Holdings Group บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จีนอีกเจ้าที่วันนี้ราคาหุ้นร่วงลงหนัก -87.01% จนต้องหยุดการซื้อขายไป Evergrande กับการขาดสภาพคล่องในการชำระดอกเบี้ย 83.5+47.5 ล้านเหรียญ(จากหนี้หุ้นกู้สองก้อน) ในเดือนนี้ ได้หรือไม่ถ้าเลยกำหนด 30 วันถือบริษัทผิดนัดชำระหนี้ ต้องเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ บริษัทมีหนี้สินรวมมากกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ ตอนนี้ยังอยู่คงรอดูว่าจะผ่านไปได้ดีหรือไม่ ความเห็นนวค.มีทั้งสองแบบ กลุ่มแรกมองว่าสินทรัพย์ของบริษัทมีพอขายใช้หนี้(เข้าสู่กระบวนการต่อรองได้) หรืออนาคตสามารถดำเนินธุรกิจต่อจนขายอสังหาในโครงการต่างๆมาใช้หนี้ได้ อีกกลุ่มมองว่าสินทรัพย์อาจจะไม่พอใช้หนี้ อันนี้คงดูว่าจะมีความช่วยเหลือหรือรัฐบาลจีนจะเข้ามาช่วยหรือไม่อย่างไร แต่นวค.ต่างประเทศส่วนใหญ่มองว่า ยังไม่รุนแรงเท่าที่เคยเกิดกับ Lehman Brothers ประเด็นใหญ่ที่ตามมาคือ จ...

บันทึก DW สุดสวิง แห่งปี

บันทึกไว้หน่อย กับ DJI41C2109A ตัวนี้เป็น DW อิง Dow Jones Index ของค่าย JPM วันนี้สุดโต่ง +23900% กระโดดเช้าไปรอบหนึ่ง และมากระโดดช่วงหลัง 14.30 การแกว่งระหว่างวัน range จาก low 0.03 ไป High 27.25 ก่อนปิด 4.80 ตัวนี้ซื้อขายวันสุดท้าย 17/09/64 , วันต่อมา ความดุเดือดของ DW ตัวนี้ก็ยังคงอยู่ เช้าเปิด 4.80 มีแรงซื้อเข้ามา ดันราคากระโดดไปถึง 13 บาท(คิดไว้แล้วว่าต้องโหด เพราะเหลือไม่กี่วันหมดอายุการเทรด คนยังกล้าซื้อเล่นสั้น) ราคาไปทำ High ไม่กี่นาทีก็ดิ่งลงมาด้วยแรงเทขาย กด 3.12 ก่อนลงไป 1.5 บาทช่วง 10.18 , ผ่านไปไม่กี่นาที 10.30 ราวจบไปกองที่ 0.60 สิ้นสัญญาณชีพไป ก่อนจบวัน 15.48 โดนขายอีกรอบราคาลดลงมาเหลือ 0.33 สิริวันนี้ -93.12% ,ใครเข้าราคาสูงก็โดน DW ตัวนี้กัดเล่นงานหนักพอควร บันทึกตัวนี้ไว้ 2 วันติดเพราะไม่ค่อยเห็นพฤติกรรมราคา DW วิ่งขึ้นวิ่งลงโหดแบบนี้มาก่อน ,เรียกว่าถ้าใครเจอทรงแบบนี้จะเข้าไปเทรด ควรจะคิดหน้าคิดหลัง บริหารความเสี่ยงให้ดี อยากหวังวัดดวงหรือคิดจะโชคดี อย่างเดียว เพราะสุดท้ายมันคือ money game ,คนลุกสุดท้ายย่อมจ่ายรอบวงเสมอครับ

I Will Teach You to Be Rich โดย Ramit Sethi

  วันนี้มีโอกาสได้ฟังคุณ Ramit Sethi บรรยายหัวข้อ I Will Teach You to Be Rich ในรายการ Talks at Google แล้วมีประเด็นน่าสนใจ เลยอยากเขียนบันทึกไว้เพื่อนำแชร์ต่อ คุณ Ramit Sethi เจ้าของหนังสือ "I Will Teach You To Be Rich" (New York Times bestseller) มาบรรยายวิธีคิดเกี่ยวกับเงินที่ไม่ได้มีเนื้อหาหนักหรือเน้นขายฝันแบบ กูรูการเงินทั่วไป ประเด็นหลักที่เขาชวนเหล่าคนฟัง(พนักงาน Google) ช่วยกันตอบคำถาม ได้แก่ 1. ความหมายของ "เงิน" ของแต่ละบุคคล -แต่ละคนตอบไม่เหมือนกัน บ้างก็มองว่าเงิน = ความสุข,ความปลอดภัย, ทางเลือกที่อิสระ,คุณภาพชีวิต เป็นต้น 2.สิ่งที่ใช้เงินแล้วทำให้มีความสุข ?? (spark joy) - ประเด็นนี้ Ramit ให้คนฟังคิดถึงที่ใช้เงินไปแล้ว Happy ในช่วงที่ผ่านมา ไม่เป็นจำเป็นว่า จะใช้เงินไปมากน้อยเพียงใดแต่ของให้มีความสุขเป็นพอ คำตอบที่ได้มากก็แปลกและหลากหลายดี เช่นได้กินของอร่อยจนพอใจ, ได้นั่งรถ taxi มาทำงานแทนรถไฟใต้ดิน, ได้ช่วยผ่อนบ้านให้คุณแม่, ได้ซื้อของสะสม,ได้จ้างพี่เลี้ยงเด็กช่วยดูแลลูก เป็นต้น 3. Money Dial การลองสมมติว่า สามารถเพิ่มขนาดของเงิน(งบประมาณ) เป็...

Connect the Dots

สัปดาห์นี้ได้กลับไปดู Silicon Valley. ตั้งแต่ season 1-6 อีกรอบ ยังคงประทับใจฉากนี้จริงๆ ช่วงที่ Peter Gregory หาเงิน เพื่อเติมสภาพคล่องให้บริษัท startup ที่เขาไปลงทุน จากแฮมเบอร์เกอร์ของเบอร์เกอร์คิงที่เขามองเห็นโอกาสของความต้องการ sasimi seed (งาขาว) ในอุตสาหกรรมฟาสฟู๊ดมูลค่า 70 Billion ที่กำลังจะโดนผลกระทบจากแมลง Brood X Cicadas จักจั่นสายพันธ์พิเศษที่ฝังตัวในดินและพร้อมจะเติบโตจากการฝักตัวรอบ 17 ปีพร้อมกันจำนวนหลายพันล้านตัว แน่นอนว่า ประชากรแมลงที่กำลังจะเพิ่มจำนวนมหาศาล ที่ขึ้นมาจากดินพร้อมกัน ย่อมแย่งกันกัดกินพืชผลการเกษตร ซึ่ง Peter Gregory คาดการณ์ว่า sasimi seed ที่ปลูกมากในซูดาน,พม่า,อินเดียและบราซิล เป็นพื้นที่หลักที่มีประชากร Cicadas มากในอดีต, ทำให้รอบนี้ก็ไม่น่าจะรอดผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตของ sasimi seed ได้ Peter เลยเปิด Long Position ใน sasimi seed commodity Futures ,มูลค่าสัญญากว่า $60ล้านเพื่อเก็งกำไร ความกังวลใน ข่าวการระบาดของ Cicadas ผลคือปริมาณการเทรดและข่าวก็ดัน ราคา sasimi seed ในตลาดพุ่งกว่า +10% เขาทำกำไรราวๆ $6 million และใช้เงินนั้นรองรับเพื่อออกเงินกู้(l...

ล้างพอร์ตคือหายนะ มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติสำหรับเทรดเดอร์ล้างพอร์ตคือหายนะ มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติสำหรับเทรดเดอร์

เมื่อวาน Bitcoin ราคาเปิดบวกปรับตัวไปทำ High ของวันที่ 52956 ก่อนเริ่มไหลลงมาพักที่ 51000 แล้วราคาดิ่งนรกด้วยแรงขายชุดใหญ่ ราคาลงแบบ High Volatility จากแนว 51000 ไปทำ low ที่ 42900 ในเวลาไม่ถึง 2 ชม. ก่อนดีดกลับมาพักแถว 47000 รอบนี้มาพร้อมข่าวดีในการซื้อ BTC ชุดใหญ่ของรัฐบาลเอลซัลวาดอร์ ที่โหมประโคม , แต่เหมือนจะมีการเทขายทำกำไรจากรายใหญ่ที่ทำให้ราคา BTC ในวันร่วงลงได้ -18.8% เช่นเดียวกับ Alt coin อื่นๆส่วนใหญ่ที่ราคาร่วงลงแรงเฉลี่ยราวๆ -20% เช่นกัน เรียกว่าเป็นการร่วงลงรุนแรงของตลาดคริปโต ในรอบหลายสัปดาห์ หลังปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่อง ภาวะ High Volatility ในเหรียญ crypto currency นี้เป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดา ดังนั้นก่อนเทรดใน crypto ควรเรียนรู้ที่จะรับมือกับมันให้ได้ก่อนเสมอ โดยเฉพาะตลาด Futures ที่ต้องใช้ Leverage ในการเทรด ไม่เช่นนั้นกำไรที่ได้มากเยอะ ก็จะหายและหมดไป ในรอบนี้ก็ตามคาดเมื่อเกิดภาวะไม่คาดฝัน, และเปลี่ยนแปลงรุนแรง High Volatiltiy , เทรดเดอร์รายย่อยใน Future Market ก็ล้างพอร์ตกันระนาวตามขาด เพราะก่อนหน้าพฤติกรรมตลาดส่วนใหญ่เทรดเดอร์ เน้นไปทาง Long Position และมีการใช้ Levera...

ตกผลึกบทเรียนจาก David Gardner

  ตั้งแต่เริ่มเทรดหุ้นอเมริกาเมื่อหลายปีก่อน ผมก็ตามอ่าน The Motley Fool ,มาตลอดชอบ content และไอเดียหลายเรื่องเกี่ยวกับการเทรดและการลงทุนในเว็บที่ อ่านเข้าใจง่ายและสามารถเก็บมาทำการบ้านเจาะลึกต่อได้ วันนี้เลยอยากมาเขียนบทความเกี่ยวกับ David Gardner หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง The Motley Fool ให้ได้รู้จักกัน โดยคุณ Gardner เป็นนักลงทุนสาย techno fundamental แนวผสมทั้งพื้นฐานและการวิเคราะห์ข้อมูลราคาหุ้น เขาจะเน้นการคัดกรองหุ้นที่มีพื้นฐานดีระยะยาวที่ขับดันการเติบโตในอนาคต และมีทรงของราคาแบบในกลุ่ม momentum stocks , ซึ่งเขายกตัวอย่างหุ้นสุดปังที่เคยเทรดเช่น Costco และ Netflix ที่เขาเข้าซื้อตั้งแต่ราคาเริ่มออกตัวแรกๆ และถือครองในพอร์ต ให้กำไรเติบโตหลายปีในช่วงขาขึ้น คุณ Gardner ไม่ใช่นักเก็งกำไรระยะสั้นและไม่หว่าน เขาเน้นการหาหุ้นไม่กี่ตัวที่มีโอกาสวิ่งได้ยาว และไกล มากกว่าการเทรดสั้นตามการแกว่งของราคา ปัจจัยที่ขับดันนั้นมาจาก Business Model ของบริษัท ที่เขาแชร์ไอเดียการคัดกรองหุ้นไว้ว่า 1.ต้องหาบริษัทที่โฟกัสไปที่ธุรกิจเฉพาะ(niche market)และสามารถเป็นเจ้าตลาดได้ก่อนคู่แข่ง, 2. CEO หรือ...

Terraworld

นั่งอ่าน white paper ของ terraworld ตัว NFT LAND Token ซึ่งเป็น metaverse แรกบน terra blockchain แนวคิดน่าสนใจดีคือไม่ใช่แค่เกมส์แต่ทีมพัฒนาต้องการพัฒนาโลกเสมือนจริง ที่ผสมทั้งเรื่อง Real Estate (การซื้อขาย ลงทุนใน NFT LAND และ NFT Building ) และการให้ผู้เล่นมีตัวตน(สร้าง Avatar) เข้าไปทำธุรกิจ Startup ในโลกเสมือนจริง ทำงานร่วมกันโดยไม่ต้องรีบจ่ายค่าเช่าออฟฟิตแพงๆช่วงเริ่มต้นกิจการ (บน Terra virtual Office ที่พัฒนาฟีเจอร์การสื่อสาร,การทำงานร่วมกัน การประชุมออนไลน์ และการใช้ smart contract. จัดการเรื่องเงินเดือน อีกด้วย) รวมถึงการเป็นเหมือนแหล่งรับสมัครงานออนไลน์ที่แต่ละ office สามารถโพสหางานให้ Job Seekers หรือกลุ่ม Freelance และสามารถจ่ายค่าตอบแทนเป็น UST หรือ TWD ได้ด้วย ซึ่ง terra นำเอา blockchain และ smart contract มาใช้ในการจัดการการจ้างงานแบบไร้คนกลาง แพลตฟอร์มนี้น่าจะมาสนับสนุนการ Work form Home , การประชุมออนไลน์,บริการสื่อสารออนไลน์ต่างๆ แม้การเรียนออนไลน์ ให้กับองค์กรธุรกิจหรือบริษัทต่างๆได้อีกด้วย ซึ่งกำลังเป็นกระแสการทำงานยุคใหม่หลัง COVID-19 นอกจากนี้ยังมี market place ...

อะไรที่ดีเกินจริง มันมักไม่เป็นจริง

เมื่อวานพูดถึงเรื่อง Bernard Madoff ประเด็นการหลอกหลวงครั้งใหญ่ใน wallstreet มูลค่าเสียหาย $18 billion เกมส์การเงินแบบ poncy scheme ที่ Madoff ใช้หลอกนักลงทุน และกองทุนต่างๆให้มาลงทุนผ่านการตกแต่งบัญชี และผลการลงทุนที่สวยงามเกินจริง ซึ่งหลอกให้เหล่า นักการเงินมืออาชีพ,ผู้จัดการกองทุนให้ช่วยหาเงินจากนักลงทุนมา ใส่กองทุนของ Madoff ตลอดหลายปีที่ผ่านมา วันนี้นำข้อมูลมาขยายความเพิ่มโดยในภาพนี้นำมาจาก Google Investment talk ที่ Andrew W. Lo ไปบรรยายเรื่อง Adaptive Markets ในช่วงนี้คุณ Lo พูดถึง Adaptive Risk perception ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะมืออาชีพ แม้จะ loss aversion หนีความเสี่ยงแต่ก็ยังโดนหลอกจากการถูกดึงดูดเข้าหา High return และ low risk หรือ High sharpe ratio จุดนี้คุณ Lo บอกว่าเรื่องมุมมองเกี่ยวกับความเสี่ยง(Risk) ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไปและเป็นเรื่องที่มักโดนจัดการปรุงแต่ง ทำให้เชื่อหรือเข้าใจผิดได้ง่าย จากการสอบถามผู้ฟังบรรยายในคลาสด้วยข้อมูลในภาพก่อนเฉลย คนส่วนใหญ่มักจะเลือกลงทุนบน asset เส้นสีดำ ซึ่งเส้นนี้เป็นผลตอบแทนสะสมระยะ 10 กว่าปีจากการลงทุน $1 ไป $7 (ผลตอบแทนราวๆ 7...

Bubble

คำว่า Bubble เริ่มกลับมามีการพูดถึงใน media อีกครั้งในช่วงเดือน สิงหาคมนี้ , ประเด็นใหญ่คงเป็นเรื่องความร้อนแรงในตลาดหุ้นสหรัฐ , และสินทรัพย์อย่าง cryptocurrency ผมมีโอกาสได้ฟัง podcast คุณภาพสูงเช่น Planet Money เขารีรันบทสัมภาษณ์ปี 2013 เกี่ยวกับ 2 นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลที่มี มุมมองกับคำว่า Bubble แตกต่างกัน คือคุณ Robert Shiller และ Eugene Fama , Robert Shiller นี้เชื่อว่ามีฟองสบู่เพราะความไม่สมบูรณ์ของตลาด , โดยให้คำแนะนำในการสังเกตดังนี้ 1. ราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นาน, 2. คนพยายามหาคำนิยามที่สมเหตุสมผลมาอธิบายการเพิ่มของราคาแบบไม่ปกติช่วงบูมการก่อตัวของฟองสบู่ 3.เริ่มมีคนพูดถึงผลตอบแทนหรือการทำเงินที่ได้จากช่วงฟองสบู่ 4. คนวงนอกรู้สึก เสียดาย เสียใจที่ตกรถ 5. Media เริ่มเข้ามาโปรโมท เข้ามาพูดถึงมากขึ้นๆ เพื่อเกิดการพูดถึงวงกว้าง มุมมองของ Eugene Fama แตกต่างไปเพราะไม่เห็นด้วยกับประเด็น Bubble เขาคิดว่าไม่มี Bubble เพราะราคาสินทรัพย์ควรเป็นตัวแทน infomation ทุกอย่าง ดังนั้นถ้าผู้เล่นในตลาดรับรู้ว่า ราคาแพงสูงเกินจริง ก็ไม่ควรมีการซื้อเพิ่ม, นอกจากนี้ ...

A Non-Random Walk Down Wall Street

เมื่อเช้าผมเห็นคนพูดถึงเนื้อหาใน A Random Walk Down Wall Street แล้วโจมตีแนวทางการเทรด, และการใช้โมเดลการวิเคราะห์ราคาหุ้น จริงๆผมเคยอธิบายประเด็นนี้ไว้แล้วเมื่อหลายปีก่อน ดังนั้นคงไม่อยากไปโต้แย้งอะไรเพิ่มเพราะสุดท้าย มันเป็นเรื่องของความเชื่อส่วนบุคคล ,แต่สิ่งที่เราเห็นเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในยุคปัจจุบัน จะพบคนที่ประสบความสำเร็จจากตลาดหุ้น เช่น Ray dalio, George soros, Jim Simons , Warren buffett ล้วนไม่ได้ใช้วิธีการหรือแนวทางเดียวกันเสมอไป ดังนั้น มันย่อมมีมากกว่า วิธีการเดียว หรือความเชื่อเดียว ที่เอาชนะตลาดและอยู่รอดในตลาดหุ้นเสมอ ถ้ามีโอกาสอ่าน A Random Walk Down Wall Street อยากเห็นอีกด้านของเหรียญ หรือวิธีคิดที่แตกต่างออกไป ผมแนะนำหนังสือชื่อ A Non-Random Walk Down Wall Street เป้าหมายที่เขียนขึ้นเพื่ออธิบายจากข้อมูลจริงและโมเดลเชิงเลขที่บอกว่า ราคาหุ้น ไม่ได้มีแค่ random walk เสมอไปหรือทุกช่วงเวลาแต่มัน adaptive ความเสี่ยงที่เกิดก็ปรับเปลี่ยนเพิ่มลดไปได้เช่นกัน และเราก็ใช้ประโยชน์จากมันได้ คนเขียนหนังสือเล่มนี้ก็ไม่ได้โนเนม แต่เป็น professor Andrew W. Lo แห่ง MIT Sloan Sc...

Cathie Wood vs Michael Burry

ช่วงนี้กำลังตามประเด็น ยักษ์ชนยักษ์ ระหว่าง Cathie Wood vs Michael Burry ช่วงเดือนที่ผ่านมา ซึ่ง Michael Burry ตั้งป้อมมาวิจารณ์ราคาหุ้น tesla และประกาศ ซื้อ put options ของ TSLA เพิ่ม รายงานระบุมีสถานะ 1.1 million put options มูลค่าราวๆ $731 million , รวมถึงการ short position against กองทุนของ ARKK ของ Cathie Wood ราว $31 million ล่าสุด Cathie Wood ออกมาโต้ Michael Burry ด้วยข้อความสั้นๆทาง twitter ว่า Michael ไม่เข้าใจการประเมินมูลค่าจากการเติบโตและโอกาสของหุ้นสาย tech & innovation space ประเด็นนี้ทำให้มีการถกเถียงกันมาก ทั้งจากนักลงทุนทั่วไป และกูรูคนดัง ที่มองกันต่างมุมบ้างก็เห็นด้วยกับ Michael Burry บ้างก็มองว่าเป็นเรื่องเสี่ยงเกินไปจะไป short กองทุน ARKK ที่เต็มไปด้วยหุ้น Tech อันดับต้นของโลกและหุ้นเกี่ยวกับ blockchain Tech , บ้างก็ว่า Burry อาจจะรอปาฏิหารย์อีกรอบ แต่ครั้งนี้กรอบเวลา ของการรอคอย เพื่อวัดผล ทั้ง Cathie Wood และ Michael Burry คงจะไม่เท่ากัน และหลายอย่างอาจจะไม่ง่ายแบบเขาคิด เช่นก่อนหน้าออกมาอัด Bitcoin อย่างหนักทาง twitter และล่าสุดราคาก็ดีดกลับ จากข้อมูลท...

Tail risk Q32021

เมื่อวานพูดเรื่องการ hedging สำหรับป้องกัน tail risk ไป วันนี้ไปเจอกราฟจาก BofA เลยนำมาแชร์ต่อ ประกอบการอธิบาย ซึ่งกราฟนี้เป็นผลสำรวจ Fund manager survey เพื่อดูว่า กลุ่มนี้กำลังกังวลกับปัจจัยเสี่ยงอะไรเป็นหลัก ในช่วงนี้ ซึ่งกราฟเทียบช่วง เดือน 7 และเดือน 8 ความน่าสนใจคือ inflation เริ่มลดลงไป เช่นเดียวกับ นโยบาย taper ของ Fed แต่ Covid-19 delta variant เพิ่มสูงมากขึ้นทีเดียว, ขณะเดียวกับเรื่อง asset bubble กลับมาอีกรอบ , พร้อมกับปัจจัยเสี่ยงใหม่เรื่อง นโยบายของจีน ที่จะกระทบกับตลาดหุ้น แม้จะผ่านมาเข้าเดือน 8 ของปี 2021 แล้วแต่เหมือน ความท้าทายและความเสี่ยง ยังมีอีกหลายประเด็นที่รอเราอยู่ จนกว่าจะจบปี ดังนั้นก็อย่าประมาทและเตรียมแผนรับมือกันต่อไปครับ... https://twitter.com/.../status/1427548437747179520/photo/1

การหายไปของแรงงานหลังเปิดเมือง

วันนี้ผมได้ฟัง podcast รายการ oddlot ตอนหนึ่งพูดถึงปัญหาวิกฤติแรงงานในกลุ่มธุรกิจ บริการและอื่นๆ หลังช่วงเปิด lockdown ล่าสุดในสหรัฐ เช่น ร้านอาหาร,โรงแรม,ฟาสฟู๊ด,ร้ายสะดวกซื้อ ที่เหมือนว่า แรงงานกลุ่มเดิม ยังไม่พร้อม หรือไม่ต้องการกลับเข้ามาทำงาน หลายร้านจะเห็นการติดป้ายรับสมัครงาน หรือขออภัยลูกค้าเนื่องจากไม่สามารถบริการได้อย่างเต็มที่ ผู้เชียวชาญที่ให้สัมภาษณ์ในรายการ ระบุมันเป็นความไม่ปกติที่คงรอเวลา เพราะปมปัญหา ของการไม่พร้อมกลับมาของแรงงานกลุ่มนี้มีหลายปัจจัย เช่น ความกลัวในการติดโรคเพราะงานบริการก็เป็นอาชีพเสี่ยงในการติด covid ได้ง่าย ,และลูกจ้างมีการต่อรองค่าแรงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยง แรงงานบางกลุ่ม อาชีพชั่วคราว ก็ยังใช้ประโยชน์จากเงินช่วยเหลือของรัฐ ทำให้ยังไม่กลับมาทำงานในตอนนี้ , รวมถึงจำนวนไม่น้อยต้องดูแลคนในครอบครัวที่ป่วยจาก covid-19 อีกปัจจัยหนึ่งที่มีการพูดถึงมาเรื่อยๆ คือ มุมมองชีวิตที่เปลี่ยนไป หลังเผชิญกับความกลัวและการได้เห็นคนป่วยหนัก คนในครอบครัว ใกล้บ้านในชุมชนต้องตายไป ปัจจัยนี้ทำให้ หลายคนหมดไฟ. เหนื่อย เบื่อกับงานที่ผลาญเวลาของชีวิต ในภาพเป็นข้อมูลจากการสำร...

Rule 72 กับ Risk management ของระบบเทรด

ขยายความไอเดียที่ แชร์เมื่อคืนในห้องเทรดมือใหม่นะครับ Key สำคัญคือการออกแบบระบบ ที่มันไม่เร่งเกินไป เพื่อให้เราติดกับดักความโลภและการมโนคติ อยากให้ระบบเทพที่แม่นยำสูงๆ กำไรเยอะๆ(สุดท้ายก็ไปแต่งระบบให้สถิติดูดีจน over fitting กับข้อมูลอดีต แต่ใช้จริงไม่รอด) แทนที่จะเร่ง ก็ลองปล่อยให้ระบบมันโตแบบพอดี ผมเลยแนะนำให้ลองนำเอา Rule 72 มาใช้ตั้ง Goal ในการวางแผนระบบ โดย Rule 72 คือแนวทางการประมาณการเพิ่มของเงินต้นเป็น 2 เท่า หรือสร้างผลตอบแทน 100% จากทุนเริ่มต้นที่มี เช่นกรณีนี้ผมตั้งเป้าว่าจะปรับต้นทุนให้เหลือ 0 หรือทำกำไรให้ได้ 100%เพื่อ cover ต้นทุนในการเทรดเริ่มต้นใน 3 ปี ก็ประเมินหา rate of return ที่เหมาะสมได้จาก 72/3 = 24 หรือราวๆ 24% ต่อปี , ตัวเลข Return คาดหวังนี้ก็นำไปใช้ออกแบบ Money management และวางกลยุทธ์ในการเทรดต่อ เช่น ถ้าใช้ leverage 5x , เมื่อเทียบกับการกระจายไปบน asset ที่มี volatility ไม่สูงเกิน 10% ผสม 1-3 ตัวเพื่อลด total risk โอกาสในการทำสำเร็จได้ผลตอบแทนต่อปีตามเป้าก็มีได้จริง โดยไม่ต้องเสี่ยงหมดตัวจากการเร่ง over trading ด้วยการใช้ leverage สูงๆแบบ 50x , 100x ด้วย ...

The science of technical analysis vs. the art of trading

กำลังเตรียมวัตถุดิบในการเขียนหนังสือเล่มใหม่ เลยกลับไปฟังคลิป chatwithtraders เขานำคุณ Brian Shannon แห่ง Alpha Trends เทรดเดอร์ & นักวิเคราะห์ทางเทคนิค CMT ผู้มีประสบการณ์ในตลาดหุ้นมากกว่า 20 ปี มาพูดคุยหัวข้อ The science of technical analysis vs. the art of trading ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับเทรดเดอร์ทั้งมือใหม่ มือเก่า ผมเลยแชร์โน๊ตสรุปมาให้ครับ 1.เส้นทางการเป็นเทรดเดอร์ -เริ่มต้นสนใจตลาดหุ้นช่วง high school เขาช่วยพ่อหาข้อมูลและนั่งอ่านนิตยสารหุ้นด้วยกัน - ตอนเรียนมหาวิทยาลัยก็มีโอกาสได้เทรดทำกำไรจากตลาดหุ้นได้หลายพันเหรียญ มันยิ่งทำให้เขาอยากศึกษาอยากเรียนรู้เรื่องหุ้นมากขึ้น - เรียนจบมหาวิทยาลัย เขาเลือกทำงานเป็น stock broker ให้กับบริษัทโบรกเกอร์แห่งหนึ่งด้วย ความอยากสัมผัสและเรียนรู้จักตลาดหุ้นมากขึ้น - เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นหลายปีและมีโอกาสย้ายไปทำงานกับโบรกเกอร์ขนาดใหญ่อย่าง leaman brother เขาก็เริ่มหันมาศึกษาเรื่องของกราฟเทคนิคอลจริงจัง - 1998 พอมีโอกาสมาเขาก็เปลี่ยนงานมาเป็น Prop Trader ให้กับ Generic Trading, LLC ในนิวยอร์ค เพราะด้วยต้องการเงินทุนมาเทรด รวมถึงมีการแบ่...

Life begins at 40

บันทึกประเด็นสำคัญไว้หน่อย พอดีไปเจอคลิปนี้ของ Professor Mark Jackson เกี่ยวกับ midlife crisis บรรยายไว้น่าสนใจมาก ประเด็นหลักเป็นเรื่องของชีวิตที่ไม่เป็นดังหวัง เมื่อตื่นมาตระหนักได้ตอนช่วง 35-40 ปีก็กลายเป็น midlife crisis ที่เริ่มจาก ปัญหาแรงกดดันจากการงาน,การเงินและครอบครัว , อธิบายสั้นๆเหมือนฉากหนัง ที่ตัวละครวัย 40 ตื่นเช้ามาตระหนัก เบื่อและเหนื่อยกับการทำงานที่ต้องรับผิดชอบปัญหาไปวันๆ(ยากจะก้าวหน้า), ขณะที่ยังมีหนี้บ้าน หนี้บัตรเครดิต หนี้การศึกษา ก้อนใหญ่ต้องผ่อน, เงินเดือนยังไม่พอใช้ ครอบครัว ลูก เมียก็อยู่ไม่สะดวกสะบายหรือดีเหมือนคนอื่น ยิ่งทำงานมากไม่มีเวลาให้ครอบครัว ก็ยิ่งเกิดปัญหา ไม่มีความสุข ติดอยู่กับวังวนเดิมๆ จะทิ้งหรือหนีออกก็ไม่ได้เพราะมีภาระความรับผิดชอบค้ำคอ แต่ก็ไม่มีแรงกระตุ้นอยากเดินหน้าต่อไป สุดท้ายเครียดคิดไม่ตก เหมือนกำลังสูญเสียตัวตนในอดีต ที่เคยโดดเด่น ที่เคยมุ่งมั่นไป (สุดท้ายถ้าแก้ไม่ได้ก็นำพาไปสู่ปัญหาอื่นๆ เช่น เรื่องสุขภาพจิต สุขภาพกาย, ปัญหาการหย่าร้าง ตามมา) ผู้บรรยายชี้ประเด็นหนึ่งน่าคิดเพราะบอกว่า ใครๆตกในภาวะนี้ได้(โดยเฉพาะช่วงวิกฤติเช่นวิกฤต...