ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Gain to Pain Ratio

Gain to Pain Ratio เป็นการประเมินผลการเทรดแบบภาพรวม (ไม่ใช่รายออร์เดอร์) เพื่อใช้วัดประสิทธิภาพของการเทรด ในภาวะตลาดต่างๆ แบบแยกย่อย ไม่ใช่แค่การดูที่ค่ารวมสุดท้ายรายปีหรือรายเดือนอย่างเดียว แนวคิดนี้ถูกนำเสนอโดยคุณ Jack Schwager โดยการคำนวณสัดส่วนของผลรวมการเทรดที่ได้กำไร เทียบกับค่าสมบูรณ์ของผลรวมออร์เดอร์การเทรดที่ขาดทุน ซึ่งค่า GPR ที่ได้สามารถใช้วัดระดับ รายเดือน รายปี ก็ได้แล้วแต่ application ที่นำไ ปใช้ และสามารถใช้ติดตามการผลงานของระบบ แบบรายช่วงเวลาในลักษณะ time series ได้เช่นกัน(จำนวนการเปรียบเทียบควรมีมากเพียงพอทำให้เกิดนัยยะทางสถิติ) การประเมินผลค่า GPR คุณ Jack Schwager แนะนำไว้เบื้องต้นว่า GPR ควรมีค่ามากกว่า 1 และถ้าจะให้ดีที่สุดควรมีค่ามากกว่า 2-3 อิงแนวคิดว่า การเจ็บปวดจากการขาดทุน นั้นไม่เท่ากับความดีใจเมื่อได้กำไร มองอีกมุมถ้าเราประยุกต์หลักความน่าจะเป็นเข้ามาใช้ ผสมกับการเล่นกับมิติของเวลา(Time Horizon) สร้าง tactic ที่ก่อให้เกิดการขาดทุนยากขึ้น ต่อการเปลี่ยนแปลงระยะสั้น ตรงนี้ทำให้เกิดประสิทธิภาพรวมที่ได้ดีขึ้น ซึ่งค่า GPR ที่ได้มีโอกาสปรับขึ้นไปในระด...

Bill Eckhardt, father of the CTA

นั่งอ่านบทความ Fifty years of evolutionary trading ของ Bill Eckhardt, เจ้าของฉายา father of the CTA , อดีตเทรดเดอร์สาย Systematic ยุคแรก ผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง Eckhardt Trading Company (ETC) ถ้าใครเคยอ่านหนังสือเก่าๆ เช่น The Complete TurtleTrader น่าจะเคยได้ยินชื่อเสียงแก เป็นสมาชิกรุ่น Richard Dennis ชำนาญมากสาย volatility trend-following และ short-term trading เขาเขียนหลายประเด็นได้ดีมากเกี่ยวกับ Sys tematic trading ,Stat&Probability รวมถึงปัญหา Overfitting และอื่นๆ จุดอยากนำมาแชร์ส่วนตัวชอบเรื่อง Risk Management และ Money Management มุมมองแนวคิดเกี่ยวกับ Risk และ Return ที่ดีทำให้พอร์ตของ ETC อยู่รอดมายาวนาน ในภาพประเด็นหนึ่งที่เราน่าจะนำมาประยุกต์ได้คือเรื่องการบริหารจัดการเงินที่เขาคำนวณหา position size อิงจาก Utility function บน factor 4 ตัวหลักได้แก่ - เงินทุนที่มี - พฤติกรรมราคาสินค้า (volatility)ที่เทรด - ขนาดความเสี่ยงที่ลูกค้ารับได้ - ผลงาน(performance) ของระบบเทรดที่ผ่านมา ประเด็นเหล่านี้สำคัญ มากกว่าแค่การเทรดเข้าออกในแต่ละครั้ง ยิ่งในภาวะตลาดหุ้น ตลาดเก็ง...

รีวิว TFEX Gold Online Futures

สินค้าใหม่ของ TFEX วันนี้น้องมาร์เก็ตติ้ง โทรมาแนะนำสินค้า Gold Online Futures(GO) ตัวนี้ จะเริ่มเทรด 5 พ.ย. 2561 ได้ข้อมูลเยอะพอสมควร บวกกับลองเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มจากเว็บ TFEX ขอนำเอาจุดเด่นมาสรุปให้ดูกัน สินค้านี้ชื่อย่อ GO จุดแตกต่างจาก GF คือเทรดราคาทองคำอิงราคาสากลของโลก หน่วยในสกุล USD (หลังจากรอมานานและเคยมีการพูดถึงหลายรอบในอดีต) โดย GO ใช้สินค้าอ้างอิงเป็นทองคำบริสุทธิ์ 99.5% ราคาไม่ต้องไปเชื่อมกับค่าเงินบา ทและใช้สมการการคำนวณแบบ GF นั้นหมายความว่า ไม่ต้องไปรับความเสี่ยงจากค่าเงินบาท แถมราคาจะเคลื่อนที่ตามทิศทางตลาดโลก (แน่นอนว่าจะมี GAP ช่วงการเปิดตลาดในตอนเช้า) เช่นเดียวกับ สามารถใช้ระบบเทรดแบบเดียวกับ ราคาทองคำในตลาดโลกโดยตรง โดย GO 1 สัญญามีมูลค่า 300 เท่าของราคาทองคำ ขนาด Tick ระดับ $0.1 คิดเป็นมูลค่าจุดละ 30 บาทต่อสัญญา (ราคาทองคำขยับ $1 คิดมูลค่า 300 บาทต่อสัญญา) ตัวนี้ Trading Session เหมือนกับ GF คือมีทั้งเช้าและกลางคืน(19:00 – 23:55) รูปแบบสัญญาซีรีย์ละ 3 เดือนหมดอายุทุกๆไตรมาส และส่งมอบเป็น Cash Settlement ด้านค่าคอมค่อนข้างพอควร เทรดผ่านอินเตอร์เน็ตไปกลับ 1...

40 แก่ไปไหมที่จะเริ่มเป็นเทรดเดอร์

คำถามกลุ่มหนึ่งที่พบบ่อยมากๆทาง email คือปรึกษาเรื่องอายุ เช่นอยากเข้ามาเทรดหุ้น อยากเริ่มเทรดทองคำ อายุ 40 แก่ไปไหม เริ่มช้าจะเสียเปรียบเด็กอายุน้อย จะสำเร็จยากหรือเปล่า? สำหรับผมยังไม่ 40 คงไม่ได้ตอบในฐานะคนอายุเยอะ แต่ตอบในมุมมองของข้อมูลและความเป็นจริงที่เกิด ผมมีโอกาสได้อ่านบทความ Research: The Average Age of a Successful Startup Founder Is 45 ของ Harvard Business Review ผู้เขียนเขาอ้างงานวิจัยข้อมูลจาก VC และ Media  ต่างๆพบว่า ผู้ก่อตั้งบริษัท startup ที่ประสบความสำเร็จในอเมริกา มีอายุเฉลี่ยราวๆ 40 ปี ในกลุ่ม software และอายุเฉลี่ย 47 ปีในทุกประเภทกลุ่มอุตสาหกรรม ถ้าจำแนกลงไปกลุ่ม 0.1% บริษัท Startup ที่เติบโตทำกำไรต่อเนื่องช่วง 5 ปีแรก อายุเฉลี่ยของ Founder อยู่ช่วง 45ปี นี้คือข้อมูลที่รวบรวมจากงานวิจัยของ Harvard ซึ่งพบว่าแตกต่างจากบริษัท startup ยุคแรกกลุ่ม extreme outlier ที่ประสบความสำเร็จ founder อายุช่วงต้น 20 ปี เช่น Bill Gates, Steve Jobs, Jeff Bezos, Sergey Brin และ Larry Page แต่พอวิเคราะห์แง่ market cap growth rate ของกิจการ บริษัทเหล่านี้ก็มา Peak ใ...

3 lessons on decision making from a poker champion

Liv Boeree นักโป๊กเกอร์อาชีพหญิงระดับโลกเจ้าของแชมป์รายการ European Poker Tour 2010 และเป็นแชมป์ WSOP 2017 ประเภท Tag Team เธอขึ้นเวที Ted Talks แชร์เรื่องราวแง่คิดเกี่ยวกับการตัดสินใจ(Decision Making) ของเธอซึ่งเธอได้เรียนรู้จากการเล่นโป๊กเกอร์ตลอดหลายปีที่ผ่านมา 1. Luck & Skill เธอเล่าให้ฟังเรื่องของดวงหรือโชคดี ที่บ่อยครั้งมันเข้ามามีผลต่อชีวิต ต่อเกมส์การเล่น แต่สิ่งสำคัญคือต้องไม่ไปยึดติดหรือพึ่งพาโชคมากจนเกินไป เพราะส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเรื่องดีเรื่องร้ายในชีวิต มันล้วนย่อมเกิดจากผลการตัดสินใจและการกระทำของตัวเรา บ่อยครั้งถ้าติดกับโชค ติดกับผลที่ได้จากโชคดี(เช่นกำไรที่ได้จากช่วงตลาดกระทิงขาขึ้น เทรดที่แย่แต่ก็ยังได้กำไร) มันจะยิ่งทำให้เราประมาท มี ego และมีความเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป ยิ่งทำให้เสี่ยงสูง สุดท้ายล้มเหลวหรือหายนะได้ นอกจากนี้ผลตอบแทนที่ได้จากโชค(Luck) มันแตกต่างจากผลตอบแทนที่ได้จากทักษะ(skill)หรือฝืมือ ซึ่งถ้าเราฝึกฝนจนชำนาญ ความสามารถในการทำซ้ำ หรือทำให้ได้ต่อเนื่องระยะยาวมันก็จะเกิดได้ สร้างความสำเร็จที่ยั่งยืนต่อไป 2. Quantification ข้อนี้เธอแนะนำใ...

5 things I learned from Igor Tulchinsky

สัปดาห์นี้ได้อ่านบทความ Investing Lessons From the Top of a $7.3 Billion Quant Fund ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ของคุณ Igor Tulchinsky CEO และผู้ก่อตั้ง WorldQuant LLC (quantitative hedge fund , $7.3 billion) ออกมาในช่วงโปรโมทหนังสือเล่มใหม่ The UnRules: Man, Machines and the Quest to Master Markets ผมเป็นแฟนหนังสือของคุณ Igor Tulchinsky ตั้งแต่เล่มแรก พอได้อ่านบทความนี้จบคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์เลยอยากสรุปประเด็นสำคัญให้ได้ศึกษากัน 1. Take risks and to remain an optimist - คุณ Tulchinsky อพยพหลบหนีจากโซเวียตมาใช้ชีวิตในสหรัฐตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เริ่มต้นจาก 0 ใช้ชีวิตในห้องเช่าเล็กๆ ประสบการณ์สอนเขาว่าคงมีไม่กี่สิ่งที่เสี่ยงมากไปกว่านี้แล้ว ทำให้ เขากล้าเสี่ยง มองมุมบวก มุ่งมั่นที่จะเอาชนะอุปสรรค ผ่านช่วงที่เลวร้ายและความไม่แน่นอนไปได้ 2. Simulation อายุ 17 ปีเขาได้เริ่มเป็น video-game programmer สิ่งที่ได้เรียนรู้คือเรื่องของการคิดสร้างสรรอย่างเป็นระบบ การหาคำตอบบนความไม่แน่นอนด้วยการโมเดลปัญหาแล้วสร้าง simulation เพื่อหาผลลัพธ์หรือทางแก้ปัญหาที่เป็นได้มากที่สุด 3. Cutting losse...

Optimal trading rule without overfitting

paper ที่ผมพูดถึงเมื่อคืน ตัวอย่างการหลีกเลี่ยง Overfitting ในการทำ optimization จาก backtest แนวคิดสไตล์นี้มีเยอะมาก ลองหาอ่านได้โดยเฉพาะเทคนิคใหม่ๆ ตัวอย่างนี้คุณ Marcos López de Prado เขาใช้ discrete Ornstein-Uhlenbeck process (stochastic process) สร้าง Data เพื่อทดสอบ trading strategy และทำการ optimization ค่า Sharpe ratio โดยทำการสุ่มปรับค่าของ SL และ TP เพื่อให้ได้ที่ดีที่สุดตามเงื่อนไข บน time seri es data ที่สร้างจาก O-U process แทนการใช้ข้อมูลในอดีต(Historical data) ขอไม่ลงรายละเอียดเชิงลึกมาก แต่อยากแนะนำให้ลองศึกษาดูเพราะเป็นแนวทางที่น่าสนใจ และทดสอบกลยุทธ์การเทรดบนสภาวะ random walk ได้ดีทีเดียว ดาวน์โหลดได้จาก https://arxiv.org/abs/1408.1159

Gold and inflation Q3 2018

ทองคำช่วงนี้ราคายังอยู่โซนต่ำ แถวระดับ $1200 ความน่าสนใจช่วงนี้จะเริ่มเห็นแรงเชียร์ บทวิเคราะห์เชิงบวกมากขึ้นตลอดเดือนที่ผ่านมา อย่างล่าสุด Francisco Blanch หัวหน้า นวค.ของ Bank of America Merrill Lynch มอง Gold จะไป $1350 ในปี 2019 ท่ามกลางเหตุผลต่างๆนานาๆเชิงบวก อันนี้คงรอดูต่อไปว่าปีหน้าทองจะกลับมาได้หรือเปล่า วันนี้ผมได้อ่านบทความชิ้นหนึ่งของ Mark Rzepczynski พูดถึงความไม่ปกติแง่พฤติกรรมความสัมพันธ์ของราคาทองคำ กับเงินเฟ้อ(inflation) ที่ดูเ หมือนแตกต่างจากอดีตที่ผ่าน เนื่องจากข้อมูล CPI ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้าน Core inflation ทั้ง US และ EU ก็ปรับขึ้นมาระดับ 2% แต่ราคาทองคำในปีนี้ ยังอยู่ระดับที่ต่ำและมีสัญญาณการถดถอยอยู่ เช่นเดียวกันจากการทำ QE ที่ผ่านมาการเข้าซื้อ Bond จำนวนมหาศาลของ ECB และ Fed นั้นน่าจะทำให้ตลาด fixed income มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเศรษฐกิจปกติ โดยสรุปคุณ Mark Rzepczynski ชี้ให้เห็นว่าราคาทองคำปัจจุบันมีบางอย่างแตกต่างไปจากพฤติกรรมในอดีต เหมือนตลาดยังเชื่อว่า inflation ยังถูกจำกัดและน่าจะกดอยู่ (ยังไม่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงในเวลานี้) ขณะที่ ...

It Was the Worst of Times: Diversification During a Century of Drawdowns

เช้านี้ผมเพิ่งมีโอกาสอ่าน paper ล่าสุดของ AQR จบพบว่าน่าสนใจอยากนำมาแนะนำ paper นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การป้องกันความเสี่ยงและการถดถอยของพอร์ต จากตลาดหุ้นขาลงและฟองสบู่ โดยทีมวิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล asset ต่างๆในรอบเกือบ 100 ปี ทดสอบประเมินผลกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง(Diversification)แบบดั่งเดิม(ผสมหลาย asset class) และการทำ Hedging (แบบต่างๆทั้งด้านกลยุทธ์และการใช้อนุพันธ์เช่น put opt ions) เพื่อเปรียบเทียบและประเมินด้านต้นทุนและผลตอบแทนเชิงชดเชยที่ได้รับในช่วงตลาดเลวร้าย การวิจัยโฟกัสไปที่ความคุ้มค่าของการ trade off จากการทำ diversification และการ hedging เพื่อลดและป้อกัน equity drawdowns ผลการทดลองน่าสนใจมากแต่ผมคงไม่นำมาเขียนในทีนี้เพราะ มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องอธิบายกันเยอะ เดี่ยวคนไม่เข้าใจจะไปตีความผิด แต่ผมแนะนำให้ลองอ่าน paper นี้อ่านแบบวิชาการไม่ต้องรีบเชื่อหรือมีธง แค่ data ที่เขารวมหรือประมวลผลออกมา มันก็มีประโยชน์มากโขแล้ว ยังไม่นับรวมเทคนิคการป้องกันความเสี่ยงในแบบต่างๆหลาย level สปอยให้นิด ผลการวิจัยค่อยข้างน่าสนใจ เช่นความเชื่อหลายอย่างในการท...

You Don’t Need a Breakthrough, You Need a Microshift

ได้อ่านบทความนี้แล้วรู้สึกชอบอยากเอามาเขียนสรุปเก็บไว้ บทความนี้คุณ Brianna Wiest เขียนถึง Microshift หรือการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ว่ามันก็สามารถทำให้เกิดผลอันยิ่งใหญ่ได้ ถ้าเราทำมันอย่างต่อเนื่อง บางคนอาจจะรู้สึกว่ากำลังติด อยู่กับวังวนชีวิต จมติดกับพฤติกรรม อะไรบางอย่างที่มันดูเหมือนจะไม่ได้มีผลดีต่อชีวิต ไม่ได้เป็นสิ่งที่ตัวเราต้องการ แทนที่จะไปรอโอกาส รอให้ Breakthrough รู้ solu tion ทุกอย่างเกิดความรู้สึกฮึกเหิมจะลงมือทำอะไรบางอย่างแล้วเปลี่ยนชีวิตไปทันที คุณ Wiest แนะนำว่าให้เริ่มลงมือทำเลย ทำทีละเล็กๆแล้วพยายามทำมันทุกวันต่อเนื่อง ฝืนตัวเองต่อสู้กับความขี้เกียจและข้ออ้าง จนมันเกิด passion เกิดความรู้สึกว่าเราก็ทำได้ จากนั้นสร้างวินัย จนเข้าสู่จุดที่เริ่มพัฒนาทำให้ดี ทำให้ได้มากกว่าก่อนหน้า สุดท้ายมันไปถึงเป้าหมายได้เอง ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจเช่นถ้าอยากมีเงิน $1 million ไม่ใช่ไปรอโชคจากการซื้อหวย หรือจ้องจะลาออกจากงานไปทำธุรกิจทันที ลองเริ่มจากการเก็บเงินแค่วันละ $10 ให้ได้จริงจัง แล้วขยับไปสร้างโอกาสสร้างเงินในวิธีอื่นๆควบคู่ไป กรณีเดียวกันถ้าอย...

Learning From Mistakes

วันนี้กลับไปอ่าน principles ของคุณ Ray Dalio อีกรอบพร้อมเตรียมตัวอย่างงานวิจัย ที่เรานำหลักการเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิด มาประยุกต์ใช้กับ machnie learning เพื่อพัฒนาระบบเทรด ส่วนตัวชอบแนวคิดข้อนี้ของคุณ ray dalio มากเพราะการบันทึก ติดตามและศึกษา mistakes ที่เกิดมันช่วยทำให้พัฒนาผลการทำงานของระบบเทรด และตัวเทรดเดอร์ ได้ดีมาก ถ้าใครกำลังอยู่ช่วงหัดเทรด พยายามจดบันทึกผลการเทรด โดยเฉพาะสิ่งที่ผิดพลาดเอาไว้ เพื่อใช้ทบทวนถึงสาเหตุที่เกิดและสร้างเป็นบทเรียนในการเทรด (เพื่อจะไม่ผิดพลาดซ้ำ)แทนที่จะรีบลืม หรือไปนั่งโฟกัสแต่ผลกำไร จำนวนเงินที่ทำได้อย่างเดียว

In the long run

อธิบายหลักการเขียน Trader Journal ให้กลุ่มเทรดเดอร์มือใหม่ฟัง มีท่านหนึ่งถามผมว่า เริ่มเขียนบทความและบันทึกมานานแค่ไหนแล้ว และเคยเบื่อไหม?? ลองมานั่งนึกกลับไป ส่วนตัวผมเริ่มจดบันทึกการเทรด มาตั้งแต่เริ่มหัดเทรด สมัยเริ่มต้นนี้จริงจังมากกับ turtle system จำได้ก่อนเกิด subprime ประมาณ 2 ปีทดสอบระบบและจดบันทึกลงสมุดขนาด A4 ได้หลายเล่มเลย ก็เขียนมาตั้งแต่ตอนนั้น ตอนนี้ก็หลายสิบปีแล้ว ยังไม่เบื่อ ใช้เวลาตอนเช้านั่งเขียนอ่าน นั่งเขียนทุกวัน เริ่มต้นเขียนแบบเอาไว้อ่านเอ ง แต่มาปรับปรุงเป็นบทความจริงจัง แบบให้คนอื่นๆอ่านได้ ก็ตอน 8-9 ปีที่แล้ว สมัยนั้นเฟสบุ๊คยังไม่ฮิต ยังเป็นยุคของ Hi5 และ Myspace ด้านหุ้นด้านเก็งกำไร ส่วนใหญ่จะอยู่บนสินธร ในพันทิป (สินธรยุคนั้นไม่เหมือนสมัยนี้นะครับ) และก็เขียนบทความลง bloggang ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับหุ้นและทองคำ สิ่งหนึ่งที่ได้รับจากการเขียนคือการได้รีวิว ผลการเทรดและสิ่งที่เกิด ทำให้เราได้เก็บประสบการณ์หลายอย่าง ที่สามารถใช้เป็น template ในการศึกษา ได้ จริงๆก็ผ่านมาแล้วหลายเรื่อง หลาย event ทำให้เราตัดสินใจและเทรดได้ดีขึ้นกว่าอดีต โดยเฉพาะเมื่อเรียนรู้จ...

Gold and Inflation 2018

ทองคำช่วงนี้ราคายังอยู่โซนต่ำ แถวระดับ $1200 ความน่าสนใจช่วงนี้จะเริ่มเห็นแรงเชียร์ บทวิเคราะห์เชิงบวกมากขึ้นตลอดเดือนที่ผ่านมา อย่างล่าสุด Francisco Blanch หัวหน้า นวค.ของ Bank of America Merrill Lynch มอง Gold จะไป $1350 ในปี 2019 ท่ามกลางเหตุผลต่างๆนานาๆเชิงบวก อันนี้คงรอดูต่อไปว่าปีหน้าทองจะกลับมาได้หรือเปล่า วันนี้ผมได้อ่านบทความชิ้นหนึ่งของ Mark Rzepczynski พูดถึงความไม่ปกติแง่พฤติกรรมความสัมพันธ์ของราคาทองคำ กับเงินเฟ้อ(inflation) ที่ดูเ หมือนแตกต่างจากอดีตที่ผ่าน เนื่องจากข้อมูล CPI ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้าน Core inflation ทั้ง US และ EU ก็ปรับขึ้นมาระดับ 2% แต่ราคาทองคำในปีนี้ ยังอยู่ระดับที่ต่ำและมีสัญญาณการถดถอยอยู่ เช่นเดียวกันจากการทำ QE ที่ผ่านมาการเข้าซื้อ Bond จำนวนมหาศาลของ ECB และ Fed นั้นน่าจะทำให้ตลาด fixed income มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเศรษฐกิจปกติ โดยสรุปคุณ Mark Rzepczynski ชี้ให้เห็นว่าราคาทองคำปัจจุบันมีบางอย่างแตกต่างไปจากพฤติกรรมในอดีต เหมือนตลาดยังเชื่อว่า inflation ยังถูกจำกัดและน่าจะกดอยู่ (ยังไม่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงในเวลานี้) ขณะที่ ec...

ทอสอบ GRID(+Machine Learning) บน MT4 TFEX

สาธิต GRID(+ML) บน MT4 TFEX S50 คลิปผลการทดลองตัวอย่างการทำงานจริงของระบบ GRID โดย กลยุทธ์หลักเพื่อใช้ในการเป็น Hedging Layer สะสมสัญญาเพื่อป้องกันความเสี่ยงในพอร์ตหลัก(ผสมกับการเก็บ cashflow จาก Market volatile)  ซึ่งใช้จุดเด่นของ MT4 TFEX ในการจัด Order แบบ GRID (แตกต่างจาก FIFO แบบอดีต) - Non Linear GRID Trading - No SL,TP , No Pending Order - Dynamic Zone based on Machine Learning - Dynamic Exit strate gies - Low Risk (Balance = 500000, RPT 100000 per Unit, SLD>40%ofCV,Max = 5 Contract) - Stop loss By Time (time based exit strategies) เข้าดูตัวอย่างการทำงานได้จาก link  https://www.facebook.com/chaipat.ncm/videos/10156764604269511/

Update Global Macro Economic Q3/2018

Global Economic Data สำคัญที่ต้องติดตามดู นำเสนอโดย Shane Oliver แห่ง AMP Capital 1. Global business conditions PMI Global PMI ของกลุ่มอุตสาหกรรมหลักและบริการในประเทศหลักของโลก นั้นชะลอและ slow down จากจุด Peak สะท้อนถึง global growth ในอนาคตที่อาจจะไม่สดใสนักในปีนี้ 2.Global inflation ติดตามการเพิ่มของ inflation ในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก ในภาพจะพบ สหรัฐและจีน Inflation ยังอยู่ระดับ 2% ส่วนยุโรป ค่า inflation เริ่มยกกลับขึ้นมาระดับ 1% หลังนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันยังต่ำกว่าช่วงวิกฤติการเงินปี 2007-2008 อยู่ เช่นเดียวกับ ญุี่ปุ่นที่ inflation อยู่ระดับต่ำห่างจากเป้า 2% ก่อนหน้ามาก แม้จะปรับตัวขึ้นได้ในช่วงปี 2017 2018 จากนโยบายของ BOJ 3.US yield curve ติดตามความไม่ปกติ ระดับ short rates วิ่งยกตัวขึ้นใกล้เคียงระดับใกล้เหนือ long rates สะท้อนพฤติกรรมตลาด ความเชื่อมั่นในอนาคตเศรษฐกิจระยะยาว ที่อาจจะดูไม่ดีนัก ส่วน GAP ของ 10Y bond yields และ the Fed Funds rate นั้น flat ระดับ 1.2% , ด้านGAP ของ 2Y bond yields และ the Fed Funds rate นั้นเ...

Mania to Mania 2018

บทความนี้ของคุณ Michael Batnick เขาเขียนถึงความ mania ในปีนี้ ที่นักลงทุน นักเก็งกำไรได้เผชิญ เปิดเรื่องเขาพูดถึง cryptocurrency ที่ปลายปี 2017 ด้วยผลตอบแทนมหาศาลกลายเป็นความหวังใหม่ให้กับ นักลงทุนนักเก็งกำไรผู้ต้องการแสวงโชคตามกระแส แต่หลายสิ่งไม่ได้เป็นอย่างที่ฝัน เพราะแค่ปี 2018 ตลาด crytocurrency ก็เกิดภาวะถดถอยของราคาเหรียญคริปโตสกุลหลัก เช่น Ethereum ที่ Peak สุดขีดช่วงเดือนมค. 2018 ราคาบวกไปถึง 16,915% ด้วยเม็ดเง ินจำนวนมหาศาลที่ไหลเข้าไปในตลาดคริปโตช่วงปี 2017 แต่แล้วราคาก็กลับร่วงลงหนัก ถึงปัจจุบันเดือน กย. ราคาปรับลงถึง -90% จากจุด Peak ช่วงเดือน กพ. (แต่ยังสูงจากจุดเริ่มต้นถึง 2,000% )ทรงการถดถอยเกิดในเหรียบคริปโตตัวอื่นๆเช่นกันโดยเฉพาะกลุ่ม alter coin ทำเอานักเก็งกำไรนักลงทุนรายย่อยที่เพิ่งเข้าไปในตลาดขาดทุนหนักตามๆกัน แต่บางกลุ่มโดยเฉพาะนักลงทุนมือเก่าที่อยู่ในตลาดคริปโตมานาน มีต้นทุนต่ำยังเชื่อว่านี้มันคือการปรับฐานหรือทำกำไร ส่วนฝ่ายตรงข้ามคริปโต มีความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายท่าน อย่าง warren buffett ให้ความเห็นช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาว่า มันจะจบไม่สวย (“bad ending”)...

Lehman Brothers' Last Weekend

วันนี้ผมได้ดูคลิปย้อนอดีต 10 ปีวิกฤติการเงิน 2008 ของ WSJ ตอนหนึ่งเกี่ยวกับ Lehman Brother บริษัทวานิชธนกิจ เก่าแก่อายุ 150 ปีเริ่มต้นธุรกิจปี 1850 จาก Henry ,Emanuel และ Mayer พี่น้องตระกูล Lehman จนปี 2008 มีมูลค่ากิจการหลายพันล้าน ต้องมาล้มละลายพร้อมการพังของ subprime mortgage market คลิปสัมภาษณ์พนักงานระดับ senior และผู้จัดการฝ่ายชั้นกลางถึงเหตุการณ์ที่เกิดหลายคน ให้เล่าเหตุการณ์ในช่วง สุดท้ายก่อนจะถึงจุดจบ ที่น่ าสนใจคือพนักงานเหล่านี้มีความรักองค์กร และทำงานมานานบางคน 10-25 ปี โดยพวกเขาไม่เชื่อว่าจะมีวันที่องค์กรใหญ่อย่าง Lehman Brother จะล้มละลาย แม้จะเข้าช่วงยากลำบากหลังแจ้งการขาดทุนกว่า $3.9 billion ช่วงวันที่ 10 กย. พนักงานยังเชื่อว่าจะมีการ bailout หรือควบรวมกิจการ ช่วงเจรจาต้นเดือนกย. ราคาหุ้น Lehman ที่ระดับ $15 ปรับตัวลงรุนแรงต่อเนื่อง นักลงทุนและพนักงานจำนวนไม่น้อยเข้าไปซื้อหุ้น ไปถั่วเฉลี่ยหุ้นเพราะไม่คิดว่าจะเกิดล้มละลาย สุดท้าย 15 กย. ราคาหุ้นลดลงต่ำกว่า $1 เมื่อตลาดรับข่าวผลการเจรจาจากซื้อกิจการ เสริมสภาพคล่องของสองธนาคารใหญ่อย่าง BOA (ฺBOA ไปได้ Merrill Lynch แ...

Digital nomad & Travel Trader

เดินทางท่องเที่ยวและผจญภัยรอบโลก นี้มันเหมือนเป็นความฝันของหลายๆคน เมื่อวานมีน้องคนหนึ่งชวนคุยประเด็นนี้ และถามว่าเราจะวางแผนแบบเทรดไปเดินทางท่องเที่ยวและไปใช้ชีวิตในประเทศต่างๆอย่างไร "Digital Nomad" เป็นสไตล์การทำงานยุคใหม่ที่เพิ่งเกิดและดูเหมือนจะบูมในช่วง 2-3 ปีนี้ เทคโนโลยีและธุรกิจ startup ไม่ว่าจะเป็น airbnb , coworking space และอื่นๆอำนวยเหล่า digital nomad มากประมาณกันว่าปัจจุบันมีจำนวน "Digital Nomad" มากกว่า 62,637 แล ะประเทศไทยก็หนึ่งเป็น Hub ของเอเซีย แนวคิดไม่ซับซ้อนมันคือการทำงานแบบไม่มี office ขอแค่มี wifi หรืออินเตอร์เน็ตดีๆ ก็เรียกว่าเริ่มต้นได้แล้ว สำคัญคือคุณมีอิสระในการออกแบบเวลาในการทำงานและใช้ชีวิต(แน่นอนว่าก็ต้องมีวินัยและความรับผิดชอบในงานด้วย) Digital Nomad มีหลายอาชีพมากโดยเฉพาะสายโปรแกรมเมอร์หรือนักพัฒนาและอื่นๆ ที่เดินทางไปทำงานในประเทศต่างๆ(3-4 วันต่อสัปดาห์) จากนั้นใช้เวลาว่างที่เหลือ Backpacking ท่องเที่ยวเรียนรู้วัฒนธรรมไปในตัว นอกจากประสบการณ์ชีวิต ยังได้เปรียบด้านค่าครองชีพที่ถูก ในหลายเมือง ย้อนกลับมาที่ Trader นิด...

เตรียมแผนรับมือกับความเสี่ยง1: Gary Shilling

วันนี้ชื่อของ Gary Shilling กลับมาบนหน้าสื่อหลักอีกครั้ง เชื่อว่าคนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้จักไม่คุ้นหูกับชื่อนี้ แต่ถ้าเทรดเดอร์หรือนักลงทุนที่อยู่ในตลาดมาก่อนซับไพร์ม น่าจะพอจำแกได้ Gary Shilling เป็นนักเศรษฐศาสตร์(phd)และเป็นนักวิเคราะห์ ชายที่ออกมาเตือนเรื่องวิกฤติฟองสบู่ในซับไพร์มคนแรกๆ เขียนรายงานเตือนปัญหาและความไม่ปกติที่เกิดตั้งแต่ช่วงปี 2004 จนทำให้ Greg Lippmann เทรดเดอร์(ตัวละครเด่นเล่นโดย Ryan Gosling ใ น Big Short) หลังอ่านรายงานและได้คุยกับ Gary Shilling ออกมา short โปรดักซ์อนุพันธ์ subprime mortgages ทำกำไรจากฟองสบู่ที่เกิดมหาศาล $1.5 billion ให้กับ Deutsche Bank ช่วยให้ธนาคารไม่ต้องรับการขาดทุนหนักจากวิกฤติครั้งนั้น เช่นเดียวกันคุณ Shilling ยังเป็นที่ปรึกษาให้กับคุณ John Paulson ผู้จัดการกองทุนเฮ็ดฟันด์ทำการเทรด credit default swaps ในปี 2006-2007 เมื่อ debt default ฟันด์ทำกำไรไป $4 billion ในปี 2007 คุณ Paulson กล่าวว่านี้คือการเทรดที่ดีที่สุดในชีวิตของเขา ตอนนั้นในปี 2006 ตอนที่ Gary Shilling พยายามนำเสนอแนวคิดและผลการวิเคราะห์ข้อมูลของแกเกี่ยวกับ ซับไพร์มว่าจ...

10 Things I've Learned from Meb Faber - "Just Survive"

ใช้เวลาว่างยามเช้านั่งฟัง podcast ในร้านกาแฟ Flirting with Models รายการโปรดสัมภาษณ์แขกรับเชิญผบห.กองทุนสาย Quant คนดังคุณ Meb Faber แห่ง Cambria Investments ผู้ตีพิมพ์บทความวิจัยQuantitative Approach to Tactical Asset Allocation ที่มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 200000 ครั้ง คุณ Corey Hoffstein สัมภาษณ์ถึงเรื่องราวต่างๆหลายเรื่องที่น่าสนใจ ผมสรุปโน๊ตประเด็นหลักไว้ ประมาณนี้ 1. Trend following ยังไม่ตาย อันนี้คุยกันถึง paper ที่ Faber เขียนเน้นการทดสอบตัวกลยุทธ์แบบ TSMOM ผสมกับการจัดการความเสี่ยงและทำ TAA บน 5 asset calss หลัก ทำการทดสอบและตีพิมพ์ จากนั้นตอนปี 2012 กลับมา revise เอาข้อมูลใหม่(OSS) มาทดสอบกับระบบเทรดเดิม ผลก็ยังออกมาว่าการเทรดสไตล์ TSMOM ระยะยาวบน Global asset ยังเอาชนะตัวอ้างอิงได้ 2. ไม่มีใครซื้อจุดต่ำสุดหรือขายจุดสูงสุดได้ นั้นคือประเด็นสำคัญที่ Faber ย้ำเรื่อง Trend Following มันเป็นการจับโอกาสจากการเคลื่อนตัวส่วนใหญ่ของ asset การเปลี่ยนแปลงตาม Fundflow ไม่ใช่การพยายาม outperform ตลาดจากโมเดลการพยากรณ์หรือหาจุดเปลี่ยนแปลงเฉพาะเช่น สัญญาณซื้อขายจากจุดกลับตัวสูงสุดต...