ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Big Short & การรับมือวิกฤติ

เพิ่งจะได้ดูหนัง Big Short  ดูจบสิ่งที่ทำให้ผมคิด คือ เราจะเป็นผู้ชนะในวิกฤติการเงินยังไง? ต้องเป็น Hero แบบ Burry หรือไม่(หลายคนดูออกจากโรงอยากเป็นแบบนี้ ชนะได้แบบนี้กันส่วนใหญ่) นั่งทบทวนดู พบ มี 2 แนวทาง 1. ทำแบบ Michael Burry คือมั่นใจว่าจะเกิดฟองสบู่ กล้าสวนแนวโน้มแล้ว short ทนขาดทุน 2 ปี พอถูกก็กิน แจ๊คพ๊อตก้อนใหญ่ (ก็ต้องยอมรับเขาเก่ง บริหารเงินดีค่อยๆสะสม positionและอึดจิตใจหนักแน่น) 2. ถ้าเชื่อว่า ฟองสบู่จะมาก็ re balance ถือเงินสด(virtual short) มากพอ รอให้มันเกิดวิกฤติ หา discount เข้าซื้อสะสมของถูก ทำกำไรจากการฟื้นตัว >>(อันนี้คนสำเร็จมีเยอะ แต่มันไม่หวือหวา เลยไม่มีคนทำหนัง)  ในตลาดการหากำไรจากวิกฤติจริงๆ 2 แนวทาง มีคนเดินกลยุทธ์และ ประสบความสำเร็จอยู่ทั้ง 2 แบบ มันขึ้นเราจะเลือกทางไหน  ส่วนตัวผมคงไม่ทำแบบ Burry (และไม่เห็นด้วยที่จะไปสนับสนุนให้คนมา short ดัชนีเพียงเพราะคิดว่ามันสูง) เพราะ เพดาน มันหายากการประเมินแรงขับ ความโลภของคนมันทำได้ไม่ง่าย บวกกับก่อนจะลงหรือวิกฤติใหญ่จะมา ตลาด volatile จะสูง ถ้าเดินแผนไม่ดี บริหารเงินห่วยก็โดนกินเรียบได...

ผลงานระยะยาวของ Trend following

ตอบคำถามเมื่อวาน ที่อธิบายเรื่อง Trend following ไปนะครับ คือระยะยาวภาพใหญ่ 5-10 ปี กลยุทธ์สาย Trend following ก็ยังใช้งานได้(ถ้าคุม risk ให้รอดได้ ผลงานมันจะเฉลี่ยดีและแย่กันไปเอง) ผมเองก็มีพอร์ตที่รันด้วย Trend following ไว้เก็บระยะ กินกำไรยาวๆโดยระบบที่ใช้เอา snowball tactic มาประยุกต์ การใช้ Trend following ภาวะตลาดแบบนี้ต้องมีกลยุทธ์บริหารเงิน บริหารความเสี่ยงประกอบ รับมือกับความผันผวนของตลาดที่เกิด บวกกับจำนวนไม่น้อยสายนี้ มักเลือกลดความผันผวนของพอร์ตด้วยการ ทำ allocation ไปในสินค้าหลายตัว อาจจะทำให้ผลตอบแทนรวมช่วง 1-2 ปีนี้ ในภาวะตลาดไม่มีแนวโน้มชัดเจน ค่อนข้างต่ำ ในภาพเอามาจาก trend-following-wizards-fund-performance  ผลงานของกองทุน สาย CTA ที่ใช้ Trend following เป็นกลยุทธ์หลัก Jez Liberty เขารวบรวม ผลงานกองทุนของตำนาน trend following เอาไว้ มีกองทุนเก่าแก่ของเทรดเดอร์คนดังหลายคน เช่น Michael Clarke, Jerry Parker, Bernard Drury ,Bill Dunn , Dave Harding และอื่นๆ  update ล่าสุดของ feb 2016 http://www.automated-trading-system.com/resources/trend-following-wizard...

แนวคิดการทำ Backtesting อย่างถูกวิธี

มีคำถามเรื่อง การทดสอบย้อนหลัง(Backtesting) เข้ามา ผมตอบไปทาง mail ยาวพอควร และอยากย้ำอีกรอบว่า ต้องเข้าใจบทบาทของการทดสอบดีๆ เราทำเพื่อหาข้อบกพร่อง จุดอ่อนมาปรับปรุงไม่ได้ทำมาเพื่อโชว์ หรือปลอบใจตัวเอง ดังนั้น ต้องทดสอบอย่างมีคุณภาพและถูกวิธีการ ระวังโรคมโนจากการ Backtest Over fitting จนเกินไป หรือการทำ curve fitting แล้วมารัน monte carlo เอาจำนวนเยอะเข้าว่าอย่างเดียว เราควรคำนึงถึงคุณภาพและหาข้อมูลมาทดสอบให้มากพอ และทำ WFA ทดสอบให้เต็มรูปแบบไปเลย ที่สำคัญทดสอบแล้ว ปรับปรุงแล้ว ก็ต้องลองกับข้อมูลจริงแบบ forward testing ก่อนใช้งานเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่า เมื่อระบบเจอตลาดจริงๆ จะสามารถทำงานได้ ผมมี clip อันนี้เรื่อง 10 Ways Backtests Lie ดีมากของ Dr. Tucker Balch จากงาน QuantCon ลองเข้าไปฟัง วีธีการทดสอบอย่างเป็นระบบ และข้อควรระวังต่างๆ เพื่อที่เราจะได้ทำระบบเทรด ทำ algorithm trading ดีๆออกมา ไม่ใช่ใช้งานไปแล้วพาล้างพอร์ต เสียหายไป https://vimeo.com/122703520

My Life as a Quant

หนังสืออีกเล่มนะครับ ที่จะมาแนะนำเรื่อง Quant สำหรับคนจะเริ่มศึกษาด้านนี้ ควรจะลองศึกษาดู เป็นของสุดยอด Quant อย่าง คุณ Emanuel Derman  "My Life as a Quant" เป็นเรื่องราวของ Emanuel Derman เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวของ นักฟิสิกส์ที่เปลี่ยนสายนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์มาใช้ใน wallstreet เขาทำงานให้กับ Goldman, Sachs & Co ตำแหน่ง Financial Engineer ตลอดช่วงปี 1985 ถึง 2003 โดยเขาทำงานเกี่ยวกับ equity derivatives (Single Stock Futures , Options) และงาน risk management  หนังสือเล่มนี้เหมือนเป็นบันทึกการเดินทางสายอาชีพ อ่านสนุกและน่าสนใจมาก โดยเฉพาะการพูดถึงเรื่องการใช้คณิตศาสตร์และตรรกะในการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ตัวของผู้เขียนคุณEmanuel เขาเชื่อในการคำนวณมากกว่า การเชื่อในดวงชะตา แม้ไม่ปฏิเสธว่าตลาดมีความเป็น random walk แต่เขายังอธิบายถึงหลักการของการสร้างโมเดลที่นำมาใช้ได้ในภาวะปกติ บนค่าความเสี่ยงที่เหมาะสม เขายกข้อดีของการใช้โมเดลและระบบการลงทุนแบบคณิตศาสตร์มาแสดงให้เห็น แม้มีหลายบทในหนังสือที่อ่านแล้วก็งงๆเพราะเขายกเขาทฤษฏีทางฟิสิกส์ที่ซับซ้อน เช่น Muon Co...

แง่คิดการใช้เทคนิคอล

มีคำถามหนึ่งทาง email ถามมาว่า ทำไมคนยุคก่อนเซียนเทคนิคอล รุ่นแรกใช้เครื่องมือแล้วประสบความสำเร็จ?  ส่วนตัวผมมองว่า มันเกิดจากความเข้าใจ ในยุคเริ่มต้นคนได้อ่านงานต้นฉบับ เราะจะของจริง เห็น สมมติฐานและข้อจำกัดของเครื่องมือ ที่ผู้พัฒนาเขาถ่ายทอดตรงๆ แต่มายุคหลังๆเราเรียนเทคนิคอล จากการชวนเชื่อมากไปนิด ทำให้ง่ายไม่ต้องคิดดูด้วยตาแล้วจำอย่างเดียว แถมเพื่อให้ศักดิ์สิทธิ์ก็เพิ่มคำโฆษณาสรรพคุณ ว่าแม่น ว่ารวยว่ากำไร เข้าไปอีก  คำแนะนำผมคือใช้อะไร กลับไปอ่านงานวิจัยต้นฉบับของผู้พัฒนา จะได้รู้เขาคิดยังไง และใช้มันเพื่อทำอะไรจริงๆ เน้นเข้าใจอย่าเอาแต่จำ ท่องจำ เช่นจะใช้ RSI กลับไปทำความเข้าใจว่า J. Welles Wilder ยุค 1978 เขาคิดยังไง ตลาดเก็งกำไรยุคเขาเป็นอย่างไร(บอกได้เลยมันต่างจากยุคนี้มาก ลองศึกษา factor นี้ดีๆด้วย) ทำไมเขามีสมมติฐานแบบนี้ แล้วทำไม ต้องใช้ค่าพารามิเตอร์ 14 หรือ 7 คิดตั้งคำถาม หาคำตอบ ใช้แบบเป็นวิทยาศาสตร์มันจะสำเร็จ มันจะพัฒนาต่อได้  เมื่ออ่านมากๆจะพบคนคิดเทคนิคอลส่วนมาก เขาเน้นจากการสังเกต เน้นการอธิบายการเปลี่ยนแปลง บนกรอบบริบทที่เขาสนใจทั้งนั้น ถ้าจะบอก...

How I Became a Quant

เดี่ยวนี้คำว่า Quant มาแรงจริงๆ อารมณ์จะประมาณว่าใครๆก็ Quant กัน แต่พอคุยกันไปกันมา ผมมองว่า ความเข้าใจด้านนี้ยังแตกต่างกันมาก ส่วนตัวผมเอง ตอนเริ่มทำวิจัยด้านนี้ก็บอกตรงๆว่า หลายปีก่อนมันไม่มีอะไรมากเหมือนตอนนี้ ตอนนี้ตปท.คอมมูนิตี้ออนไลน์เพียบ(ถ้าเริ่มไม่ถูกไป quant start) ตอนนี้มันเริ่มง่ายมากขอให้มี skill และความสนใจ ช่วงเริ่มต้นหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมลงทุนซื้อมาอ่านก่อนเริ่มคือ How I Became a Quant: Insights from 25 of Wall Street's Elite (2009) How I Became a Quant เขียนโดย Richard R. Lindsey และ Barry Schachter สุดยอดของวงการด้านนี้ จากอเมริกา เล่มนี้จับเอา 25 คนดังด้าน Quant ทั้งสาย price model สาย risk management, Portfolio Management และอื่นๆ มาสัมภาษณ์ถึงวิธีคิด และประสบการณ์ ที่น่าสนใจคือ จุดเริ่มต้นที่ทำให้ นักฟิสิกส์ นักคณิคศาสตร์ นักคอมพิวเตอร์ PHD ระดับหัวกระทิ เดินหน้าเข้าสู่ wallstreet เพื่อมาแสวงหาความร่ำรวย และสร้างโมเดลเพื่อบริหารเงินระดับพันล้านกัน คนดังๆเยอะ อ่านได้เห็นมุมมองเพียบจริงๆ เช่น Gregg E.Berman, Stephen Kealhofer David Leinweber และอีกหลายคน ส...

Deep Learning

Deep learning  สำหรับเทรดเดอร์ ก็คือการเรียนจากการเทรดจริง เก็บข้อมูลจริง จากผลการเทรด อย่าไปกลัวที่จะเผชิญหน้ากับการขาดทุน(loss) อันนี้คนทั่วไปชอบรีบลืม รีบผ่าน บริหารเงิน ขาดทุนแล้วไม่ให้เสียหายหนัก เพิ่มโอกาสการอยู่รอด เรียนรู้จากมัน เก็บข้อมูลจากมันให้ได้มากที่สุด ตรงนี้ถ้าเรานำมาวิเคราะห์ จะมองเห็น pattern มองเห็นความเกี่ยวเนื่องกับเหตุปัจจัยต่างๆ สุดท้าย เราจะสามารถสร้าง knowledge หรือหา solution ในการปรับปรุงระบบ ปรับปรุง skill ของเราให้สูงขึ้นไปได้ครับ ข้อมูลเราบันทึกไว้ทุกวันๆ มีสัก 100 สัก 1000 การขาดทุน ลอง เอามาสกัด มาแยก มาวิเคราะห์ เราได้องค์ความรู้ ใหม่ เห็นความเกี่ยวเนื่องความสัมพันธ์ของปัญหาที่เกิด และใช้มันพัฒนา skill ในการเทรดต่อไปได้ ฟังกระบวนการเรียนรู้เชิงลึก กะการเทรดได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=vvokwuOveIU

AI in stock market

กระแส AI อย่าง alphaGo กำลังมาแรง เป็นทีฮือฮามาก ผมเองก็ติดตามการแข่งขันอย่างใกล้ชิด จริงๆแล้วได้เรียนรู้ อะไรหลายเรื่องมากจาก การแข่งขันครั้งนี้ ด้วยความสามารถของ AI ที่มันสามารถเอาชนะเซียนโก๊ะผู้เป็นมนุษย์ไปได้ ทำให้มีคนถามคำถามว่าในตลาดหุ้น ตลาดเก็งกำไร มี AI พวกนี้มาวิ่งอยู่บ้างไหม จากที่ศึกษาตอบเลยว่ามีครับมีหลายตัวหลาย LAB ด้วยและทำงานด้านต่างๆไปทั้งการเทรด การวิเคราะห์ความเสี่ยง และอื่นๆ แม้ Google venture เองก็สนับสนุนเงินทุนบริษัท startup ที่พัฒนา AI ด้าน financial อยู่ มีโอกาสจะมาเล่าให้ฟัง แต่วันนี้ขอเขียนถึง startup เจ้าหนึ่งที่ตอนนี้ hot มาทำ Machine learning ด้าน Risk Management บริษัทนี้ชื่อ AlgoDynamix ของ Jeremy Sosabowski อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆคือ บริษัทนี้ทำ AI ที่ระบุโอกาสจะเกิดการ ตกลงของดัชนีตลาด ราคาหุ้น ราคาฟิวเจอร์ ใช้เทคนิค entropy feature clustering ทำการวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนไหวราคาและการซื้อขาย แบบเรียลไทม์ แบบ order by order ที่สะท้อนถึงภาวะพฤติกรรมของผู้เล่นในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มที่ขายหรือตั้งขาย รวมถึงวิเคราะห์กลุ่ม order ที่ขายอย่างผิดปกติ เขาเรียกว่ามั...

พลังแห่ง swap

 การเทรดแม้จะเน้นการเข้าออกตามจังหวะของราคา แต่การเลือก product เพื่อวางแผนทำกลยุทธ์นี่ก็สำคัญ หาสินค้าที่ดี และสามารถช่วยเสริมกลยุทธ์การเทรดของเราได้ โดยการทำระบบถ้าทำการบ้านวางแผนก่อน เลือกสินค้าที่มี swap หรืออัตราดอกเบี้ยข้ามคืน เป็นบวกกรณีที่รู้ว่าต้องเทรดแบบระยะยาว มันยิ่ง ทำให้ ปิดความเสี่ยง ในการเทรดเข้าไปอีก ในภาพเอามาให้ดูจะพบ P/L ยังติดลบเพราะราคา ยังอยู่ในกริดโซนล่าง แต่ profit ออกมาเป็นบวกแล้วเพราะ swap ที่ได้มันเข้ามาเติม ตามระยะเวลา คล้ายๆกับเงินปันผลที่เกิด วันหลังจะมาเขียนบทความการทำระบบเทรดในหุ้นปันผล ให้อ่านต่อไป ใช้พลังอัตราปันผลมาเสริมส่วนของ beta ในการสร้างพอร์ตให้โตระยะยาว อยากรู้ว่าสินค้าใด swap เท่าไหร่ เข้าไปดูจาก link ด้านล่าง พวกนี้เป็นมาตรฐาน ที่มีการประกาศไว้แน่นอนก่อน เราตรวจสอบได้ http://www.myfxbook.com/forex-broker-swaps

slow life trader

ผมรู้จักฝรั่งคนหนึ่งเขาใช้ชีวิต slow life ในเมืองเล็กๆในอังกฤษเปิดร้านกาแฟ แบบสไตล์บ้านๆ เรียบง่ายแต่มันเจ๋งดี วันหนึ่งมีลูกค้าไม่เยอะก็ไม่เครียด อยากเปิดก็เปิดอยากปิดก็ปิด ชิวตามอารมณ์ เพราะเขาไม่ได้เปิดร้านกาแฟเพื่อธุรกิจ แต่เขาทำร้านกาแฟเพื่อดำรงชีวิต ชีวิตในแบบของเขา แบบช้าๆ ใครอยากนั่งก็นั่ง มี WiFi free มีหนังสือให้อ่าน อยากนั่งทั้งวันก็นั่ง กาแฟยังเป็นแบบดริฟเลยคือ จะกินต้องรอ ถามว่าถ้าทำธุรกิจแต่ไม่สนใจรายได้ จะอยู่ได้ยังไง นี้แหละเป็นจุดที่ผมได้ไปรู้จักกับแก เพราะแกเป็นเทรดเดอร์ เก่งมากคนหนึ่งเจอกันในเว็บบอร์ด fx แห่งหนึ่ง แกอายุไม่ถึง 40 ก็เก๋าพอจะออกจาก firm ที่ลอนดอน มาเป็นเทรดเดอร์อิสระและใช้ชีวิต ผมเคยถามแกเหมือนกันว่า ทำไมคนมีประสบการณ์เยอะๆ(เทรดมากว่า 15 ปี)แบบแกถึงไม่เดินทางอาชีพทำงานให้กับกองทุนใหญ่ๆ แกตอบว่า "เงินไม่ใช่คำตอบของชีวิต" การต้องไปทำงานประจำ เอาแรง เอาเวลา เอาสุขภาพไปทำงานแลกเงินมากๆ ทำงานเพื่อคนอื่น แม้จะมั่นคง สวัสดีการดี แต่แกบอกว่าไม่ใช่ทางที่ต้องการ คนเรามีเงินแค่พอใช้แต่อย่าไปยึดติดกับมัน มีและใช้อย่างพอประมาณ เพราะสุดท้ายติดมากม...

Karl Popper

ไม่ว่าจะอ่าน Reflexivity ของ George Soros หรือจะอ่าน Back Swan ของ Nassim Nicholas Taleb ก็หนีไม่พ้นที่ต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของ Karl Popper ที่เป็นฐานความคิดของทั้งสองปราชญ์แห่งโลกการเงิน นี้เสียก่อน  วันนี้เลยนั่งปัดฝุ่นเอาเรื่องของ Karl Popper มาอ่านไปเจอ vdo นี้อธิบายได้สั้นและเข้าใจง่ายดี เขาพูดเรื่องแนวคิดการวิทยาศาสตร์/วิทยาศาสตร์เทียมและการพิสูจน์ผิด (Falsification) เอามาแชร์สำหรับ น้องที่อยากศึกษาด้านนี้ ลองเริ่มดูจากนี้ก่อนนะครับ จากนั้นถ้าพอจะเข้าใจลองไปดู Open Society ต่อ https://www.youtube.com/watch?v=ztmvtKLuR7I

Buffet & Hedgefund

เคยมีคำถามว่าบัฟเฟต กับเหล่ายอดมนุษย์ hedgefund เขามีอะไรกันหรือเปล่า เพราะทุกความเห็นมักมีการออกมาแย้งกัน ถ้าจำกันได้ปีที่แล้วก็มีกรณี IBM ตอนนั้นก็งัดกับ stanley druckenmiller หรืออย่างปีที่ผ่านมากลุ่ม Hedgefund ก็หน้าบาน และมีออกมาเหน็บปู่คืนได้บ้าง เพราะ Vanguard 500 Index Fund บวกไป 63.5% ขณะที่เฉลี่ย hedge fund portfolio โตเพิ่มขึ้น 19.6% (ปีที่แล้วฟันด์ที่ต่ำกว่านี้ถือว่าสอบตก) เจอบทความนี้จาก investopedia เขาเรียบเรียงสาเหตุและที่มาที่ไปได้เข้าใจกระจ่างเลย บทความกรณีของ Dan Loeb Vs. Warren Buffett ล่าสุดออกมางัดกัน ออกตัวก่อนว่าคงไม่แปลเดี่ยวมันจะทำให้คนเข้าใจผิด เดี่ยวผมอาจจะโดนด่าฟรีด้วย ส่วนตัวผมก็ชื่นชมผมการบริหารระยะยาวของบัพเฟต อยู่แล้ว แต่แน่นอนว่ามนุษย์มันก็คือมนุษย์ คงไม่มีคนสมบูรณ์แบบหรอกแต่ คงไม่ใช่หน้าที่เราไปนั่งตัดสินใคร(ทำตัวเองให้ดีเป็นพอ) ไม่ว่าใครก็ตาม  บทความเขาก็เขียนดี ได้มุมมอง ผมเห็นแนวทางป้องกันความเสี่ยงหนึ่งของวอเรน บัพเฟต คือการทำการบ้าน เลือกหุ้นพื้นฐานดี แล้วเข้าถือหุ้นมากพอจนมีอำนาจในการบริหารบริษัท รวมไปถึงนโยบายการจ่ายปันผล การใช้เง...

Gold, The New Anti commodity

บทความนี่น่าสนใจ อยากให้ลองอ่านดู จะได้เห็นมุมมองของทองคำในยุคปัจจุบันมากขึ้น คนเขียนบทความนี่ก็เก่งนะครับ คือ Bruce Pile เป็นผู้บริหารกองทุน สิ่งหนึ่งที่สะท้อนจากข้อมูลที่เขานำเสนอ ตลาดทองคำมันไม่เหมือนอดีตอีกต่อไป โดยเฉพาะธรรมชาติของคอมโมดิตี้ และ cycle ที่เคยเกิดในอดีต มันอาจจะใช้ไม่ได้กับปัจจุบัน เพราะเกมส์การเก็งกำไรปัจจุบัน ที่มีความรุนแรง โดยเฉพาะกลยุทธ์ที่ซับซ้อนจาก smart money ผู้เล่นรายใหญ่ ในตลาดอนุพันธ์(derivative) และมีการเคลื่อนออกของเงินแบบระยะสั้นตลอดในตลาดทองคำ ยังไม่รวมถึงพวก HFT ที่เข้ามาหาโอกาสทำกำไรจากความผันผวนในตลาด . ลองอ่านแล้วตกผลึก ผมก็เห็นด้วยเพราะ ภาวะแบบนี้มันทำให้เทคนิค หรือการเทรดแบบเดิมๆอาจจะทำเงินได้ยาก ภาวะแนวโน้มหรือวัฏจักรตามคาบเดิมก็จะ ruin ไป(พูดง่ายๆทองอาจจะไม่ได้มีพฤติกรรมราคาเคลื่อนที่ตามรอบในอดีตเสมอไปแล้ว) เขาพูดถึงความผันผวนที่เกิดเรื่อยๆและมากขึ้นเพราะมันคือช่องทางทำกำไรของผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด แทนการต้องซื้อถูก ไปขายแพงๆถือยาวไปขายราคาระดับดาวอังคาร ตอนนี้กลยุทธ์เป็นการเทรดแบบ 2 ทิศทางหวดทั้ง Long และ short เพื่อเก็บกำไรตลอด ใน...

GRID&Cashflow

ตอบคำถามคุณ Sorod เรื่องการวางโซนน้ำมันสำหรับกริด คือหลักการคิด ผมเริ่มเทรดต้นปีแถวโซน 30-32$ ดังนั้นการออกแบบระบบ จะวางไปถึง 40$ แต่ระยะเกือบ 3 เดือนที่เทรดมา มันมี cashflow ออกมาเรื่อยๆ ก่อน ราคาจะวิ่งแรงในเดือน มีค. ผ่านมา มันเข้าใกล้โซน 40$ ที่วางแผนคำนวณเงินไว้ แม้จะไม่ได้คิดตอนแรก แต่พอเราเทรดได้ มี cashflow ออกมาตรงนี้เป็น buffer ให้เราได้ นำมา recalculate กระสุนในการยิงใหม่ ให้ครอบคลุมไปถึง 50$ ได้ต่อไปในอนาคต(กรณีที่ราคายกไปถึง) ไม่ยากครับ ตรงนี้คือความหยืดหยุ่น แต่ต้องอาศัยการเก็บ cashflow ให้ได้จากการเทรดด้วย ประสานกันไป

Diversification

อ่านบทความแนวนี้เยอะมากช่วงปีนี้ หลายที่พูดคล้ายกันว่าอนาคต การทำ Diversification อาจจะทำให้เกิด return ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการเทรด หรือการลงทุนในตลาดเดียว เพราะจากภาวะความผันผวนที่จะเข้ามา จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ บทความนี่น่าสนใจเอามาแปะไว้ เรื่อง Diversification Works Whether You Want It To Or Not เขียนโดย Eric D. Nelson จาก ServoWealth นำเสนอข้อมูลผลตอบแทน asset class แบบจำแนกช่วงเวลาได้น่าสนใจ ลองมาคิดต่อ จากข้อมูลที่เขานำเสนอ มันก็จริงเพราะ ด้วยความยากของตลาดและ volatile ที่เกิด ประเภท trader hero หรือการใช้ skill อย่างเดียว เพื่อรีดเอากำไร อาจจะยากกว่าอดีตโดยเฉพาะสาย trend หรือ momentum ดังนั้นการปรับตัวคือ การเทรดแบบกระจาย ตาม fundflow เพราะการโยกเงินของเรา เข้าถูกตลาดที่มีเม็ดเงิน fundflow ไปลง มันสามารถสร้างกำไร ได้บนภาวะความเสี่ยงที่น้อยกว่า เช่นเดียวกัน ถ้าเงินเราไปอยู่ผิดที่ในตลาดที่ fundflow ออกหรือหมดความสนใจ ต่อให้ใช้กลยุทธ์ใช้เทคนิคขั้นสูงยังไง มันก็รีด กำไรออกมายาก แถมความเสี่ยงในการขาดทุนก็จะสูงด้วย http://www.servowealth.com/resources/articles/diversification-wor...

Bad Opinions

ชอบ คำสอนนี้ของคุณเรย์มาก ถึงกับจดใส่สมุดโน๊ตไว้เตือนใจตัวเองเลย ทุกวันนี้ความคิดเห็นจากเซียน จากกูรู ผู้รู้ ผ่านสื่อหลัก ผ่านสื่อรอง หรือจากคนรอบข้างบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค(Facebook, Line) มันเยอะมาก การฟังโดยไม่คิด ฟังบนจิตที่อ่อนไหว มันทำให้ ผิดพลาดและทำให้เกิดความเสียหายได้มากมาย จริงๆ ดังนั้นทำงานหนัก เรียนรู้มากๆ คิดเยอะๆ ทำให้ดีที่สุด แม้จะไม่ถูกทุกครั้งไม่ได้กำไรรวยทันใจแบบใครเขา แต่เราก็สามารถพัฒนาและยืนบนขาของตัวเองได้

Quant Model and Price behavior

ระบบเทรด ที่เน้นการสร้าง cash flow จากการเทรดบน volatility  นอกจากเราจะได้ความสามารถในการควบคุมขนาดของ risk ในรูปแบบฟังก์ชั่นของเวลา time ยังสามารถเอาผลของการเทรด หรือ trading record มาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมราคา ต่อได้อีกด้วย (ผลจะพยายามอธิบายเรื่องยากให้เห็นภาพได้ง่ายที่สุด) สาย Quant โมเดลการเทรด ที่เน้นการเก็บข้อมูลการเทรดมากๆ มันยิ่งทำให้เทรดเดอร์หรือผู้พัฒนา เข้าใจพฤติกรรมราคาและพฤติกรรมของตลาดได้มากขึ้น มันแตกต่างจากการดูกราฟ ที่เน้นการมองไปที่ movement หรือ pattern อย่างเดียว เพราะการตีความจากการมองบางครั้ง มันไม่ได้สะท้อนภาวะการเปลี่ยนแปลง หรือความผันผวนจริงที่เกิดได้ รวมไปถึงมองไม่เห็น flow การเคลื่อนของเงิน ที่ตัวพลักดัน ราคา ยกตัวอย่างในภาพข้าง ผมตัดบางส่วนที่เปิดเผยได้ มาแสดงเพราะอยากประกอบการอธิบายว่าเวลาพัฒนา Quant Model หรือทำตัว algorithmic trading พวกนี้มันทำงาน มองราคา(Price) ต่างจากมนุษย์ Quant มองภาวะการเกิด ความถี่และการเปลี่ยนแปลง มันเป็นปัจจุบันและเป็น raw data ที่เกิด ภาพ  Heat map เราจะเห็น โซนราคา ที่เราสามารถเก็บ cash flow ได้มันจะสะท้อน fre...

Smart beta Portfolio

ทดลองพัฒนาโมเดล สร้างพอร์ตแบบ smart beta ขึ้นมาโดยเป้าหมายหลักคือยังใช้ความไม่สมบูรณ์ของตลาด บวกกับ volatile ที่เกิด มาสร้างให้เกิด cashflow เพื่อสร้าง balance curve ให้โตต่อเนื่อง ความท้าทายมันอยู่ตรงที่การบริหารเงิน คือทำยังไงให้เกิดความได้เปรียบ และจำกัดความเสี่ยงให้เหมาะสม ได้ดีที่สุด เพราะไม่เช่นนั้นความผันผวนของตลาด มันจะมาทำร้ายพอร์ตของเรา สิ่งแรกที่ทำคือ หาโมเดลคุมการบริหารเงินแบบเป็น Dynamic ที่แปรผันไปตามค่า volatility ของตลาด เรียกง่ายๆคือให้ leverage มันแปรผันไปตาม volatility ที่เกิด สิ่งที่สองคือ เพิ่มความแข็งแกร่งให้โมเดล โดยเอาระบบเทรดสองตัวมาทำงานร่วมกัน แนวคิดนี้ก็ง่ายๆ คือเราวิจัยระบบมามากพอ รู้ว่าอะไรคือจุดอ่อนของกลยุทธ์ประเภทต่างๆ ดังนั้น เราจับสองกลยุทธ์ที่มี จุดอ่อน จุดแข็งเสริมกันได้มาทำงานด้วยกันซะ อย่างในโมเดลนี้ ใช้ Scalping ร่วมกับ Trend Following โดยเอาสองกลยุทธ์มาแก้ชดเชย ข้อจำกัดกันและกัน บวกการหาประโยชน์จาก swap ของสินค้าและการอ่านแนวโน้มภาพใหญ่แบบ macro view เพื่อเกาะตามเทรนด์(core beta) แต่ข้อเสียคือเมื่อพยายามเทรด เล่นกับ volatile มันทำให้ กา...

Alchemy of Finance

link นี่นะครับที่ผมพูดถึง เป็นหนังสือเสียง ของ The Alchemy of Finance ตำราที่ถ้าจะศึกษาแนวคิดของโซรอส ควรอ่าน  โซรอสได้อธิบาย แนวคิดเรื่องของ แนวทางการเทรดของเขาไว้ พูดเรื่องของ reflexivity ความบิดเบี้ยวของ perception และ Reality ที่เขานำทฤษฏีปรัชญาของ Popper มาประยุกต์ใช้กับตลาดหุ้น ตลาดค่าเงิน และระบบเศรษฐกิจ มียกตัวอย่างเรื่องของ economic และ debt cycle  ฟังเพลินๆ ยิ่งใครนอนไม่หลับ แนะนำเลย  https://www.youtube.com/watch?v=TI0V04dP4t8

Drawdown is your friend

วันนี้มีคนถามเรื่อง Drawdown ระบบ ว่าทำไมต้องไปสนใจมันมาก คำตอบคือ ถ้าเราไม่สนใจมัน ปล่อยให้มันไปของมันเรื่อยๆ มันจะทำให้คุมไม่อยู่รู้ตัวอีกที ก็เสี่ยงมาก จนอาจจะล้างพอร์ตได้  ดังนั้นการดูเรื่อยๆ มันช่วยเราคุมการโตของ equity curve ได้ดี ลดความผันผวนของพอร์ต แถมควบคุมจังหวะหนักเบาของการใช้เงินได้ด้วย ตรงนี้ไม่ใช่เรื่องของเทคนิคอล ไม่ใช่เรื่องของการลากเป้า ดูอินดิเคเตอร์ ดูรูปแบบแท่งเทียน มันเป็นเรื่องของการ บริหารเงิน และบริหารความเสี่ยง ที่จะทำให้เรา "อยู่รอดในตลาดเก็งกำไร" และเมื่อมีทักษะสร้างกำไรได้ต่อเนื่อง โอกาสโตอย่างยั่งยืนมันก็มี เทรดเดอร์ต่างชาติ หรือกองทุน เขาให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก เพราะการเทรดไม่ใช่เรื่องของการเดา หรือทำนายอนาคตให้แม่นอย่างเดียว การควบคุมผลของการตัดสินใจและสิ่งที่เกิดตามมาต่างหากคือ Key ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว บนภาวะตลาดที่มีความไม่แน่นอนและผันผวนสูง ปิดท้ายเอาตัวอย่าง เกณฑ์การเทรดของ Fund หนึ่งมาให้ดู ผมมีโอกาสศึกษาโมเดลของ hedge fund นี่พบว่ามีหลายส่วนน่าสนใจ โดยเฉพาะกลยุทธ์การเทรด ที่มีเกณฑ์การคุมขนาดของ Drawdown ที่เกิดแบบเคร่...