ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

MACD

MACD เป็นเครื่องมือดัชนีชี้วัดอีกตัวหนึ่งที่เป็นตัวยอดนิยม สำหรับนักเทคนิคคอล ด้วยความที่เป็นดัชนีที่เข้าใจง่ายและประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งเรื่องการดูกำลังของแนวโน้ม การพิจารณา divergent ดังนั้นการเรียนรู้และทำความรู้จักกับ MACD จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและสมควรจะศึกษา MACD(Moving Average Convergence-Divergence) คือเครื่องมือดัชนีประเภท slow active oscillator ลักษณะการพิจารณาการแกว่งในช่วงวันที่กำหนดเหมาะกับช่วงราคาที่มีการแกว่งตัวทั้งระยะสั้นและระยะกลาง แต่อาจจะไม่เหมาะกรณีที่เกิด sideway ในระยะสั้นเพราะจะเกิด false signal หรือการให้สัญญาณที่ช้าและถี่เกินไป โดยเราสามารถใช้เครื่องมือเพื่อ วิเคราะห์สัญญาณซื้อขายได้ สูตรการคำนวณเบื้องต้น ใช้ค่าผลต่างของ EMA เส้นสั้นและเส้นยาว (โดยทั่วไปเส้นยาวจะยาวมากกว่าเส้นสั้นประมาณ 2 เท่า) - MACD: (EMA 12 วัน – EMA 26 วัน ) -  Signal Line EMA 9 ค่า ของ MACD -  MACD Histogram: MACD - Signal Line จากสมการจะเห็นว่า ใช้ค่าต่างของ EMA สองคาบเวลาเป็นตัววันแรงขับเคลื่อนของราคา โดย กรณีที่ MACD เป็นลบหมายความว่า EMA12 < EMA26 แสดงถึงทิ...

Bollinger band

Bollinger band คือ เครื่องมือที่ใช้บ่งบอกถึงความต่อเนื่องและการเคลื่อนที่ของราคาอย่างดี โดยเราสามารถนำ Bollinger band มาใช้ในการวัดแนวโน้มหรือพิจารณาทิศทางการเคลื่อนที่ของราคา ควบคู่ไปกับ indicator ประเภทอื่นๆเพื่อใช้กำหนดสัญญาณซื้อขาย โดย Bollinger band จะช่วยทำให้เราเห็นภาพกว้างของการเคลื่อนที่และความต่อเนื่องของราคาได้ดีมากขึ้น Bollinger band มีการสร้างกรอบของราคา เพื่อนิยามกรอบทิศทางและทางการเคลื่อนที่ของราคา ณ ขณะเวลาต่างๆโดยใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมาเป็นตัวแสดงค่าความแกว่งตัวของราคา ซึ่งจะสะท้อนออกผ่านในรูปแบบความกว้างความแคบของกรอบแบนด์ (Band) การตีความและการนำไปใช้  การนำ Bollinger band มาใช้เน้นไปที่การนิยามภาพรวมของแนวโน้มราคา และพิจารณาการเคลื่อนตัว การแกว่งตัวของราคา โดยตัว Bollinger band แบ่งแถบเส้นออกเป็น 3 ส่วนคือ - Upper Band : ขอบบน คำนวณมาจาก SMA 20 วัน + standard deviation 20 วัน x 2 - Middle Band = ขอบกลาง คำนวณจาก simple moving average (SMA) 20 วัน - Lower Band = ขอบล่าง คำนวณมาจาก SMA 20 วัน - standard deviation 20 วัน x 2 การใช้งานเน้นที่การดูกราฟแท่งเทียนขอ...

EMA (Exponential moving average)

Moving average คือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีการนำราคาหุ้น ณ ช่วงเวลาต่างๆมาทำการสร้างเป็นชุดข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น โดยมีการเกลี่ยข้อมูลให้เรียบ เพื่อลดการผันผวนด้วยจำนวนวัน โดยนิยมใช้ Moving average ในการดูแนวโน้มทิศทางของราคาหุ้น  โดย Moving average มี indicator ต่างๆอีกมากมายเช่น SMA (Simple moving average), WMA (weighted moving average) TMA (Time series moving average) และ EMA (Exponential moving average) เป็นต้น ผมขอเลือก EMA (Exponential moving average) เพราะเป็นตัวที่มีการคำนวณที่ซับซ้อนและมีการเกลี่ยค่าถ่วงน้ำหนักความแปรปรวนของข้อมูล โดย EMA ให้ค่าที่ตอบสนองต่อราคาในปัจจุบันได้ใกล้เคียงมากกว่าตัวอื่นๆ ทำให้แสดงถึงแนวโน้มที่ชัดเจน การตีความหมาย การนำ EMA มาใช้ในการกำหนดสัญญาณซื้อ ขายนั้นส่วนมากนิยมนำเส้น EMA 2 เส้นหรือมากกว่ามาใช้ โดยพิจารณาการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ย EMA โดย - สัญญาณซื้อ(Buy signal) : EMA เส้นสั้นตัด EMA เส้นยาวขึ้น จากภาพ EMA8 (เส้นสั้น) มีค่ามากกว่า EMA20 (เส้นยาว) ทำให้เส้นสั้นตัดเส้นยาวขึ้น แสดงถึงการยกตัวของราคาหุ้น เกิดสัญญาณซื้อ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มขาข...

Price Indicator 1

การวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยดัชนีราคา(Price Indicator) ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของอาวุธที่เราใช้ในตลาดหุ้นในเกมเก็งกำไรหรือการล่าส่วนต่างของราคา โดยเป้าหมายหลักของการวิเคราะห์ด้วยกราฟดัชนีราคาคือการอธิบายหรือสังเกตพฤติกรรมของราคาหุ้นโดยใช้ค่าทางสถิติและสมการคณิตศาสตร์มาช่วย และนำไปสู่การพยากรณ์การเคลื่อนที่ของราคาบนแนวโน้มในอนาคตต่อไป ด้วยกราฟดัชนีราคาคือการอธิบายหรือสังเกตพฤติกรรมของราคาหุ้นโดยใช้ค่าทางสถิติและสมการคณิต  สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักคือ ดัชนีราคาใช้ค่าราคา ณ ช่วงเวลาต่างๆมาคำนวณดังนั้น เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การย้อนมาดูดัชนีราคามันจึงสมเหตุสมผลทุกครั้ง เพราะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ของราคาได้ แต่ส่วนของการคาดเดาอนาคตนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับการเก็บข้อมูลและการประเมินความถูกต้องของการใช้ดัชนีราคาโมเดลต่างๆกับหุ้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจในสัญญาณซื้อ ขายต่อไป  ดัชนีราคาที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนั้นมีมากกว่า 50 ตัวแยกย่อยไปตามสมการและวิธีการคำนวณ โดยส่วนใหญ่มักจะทำเพื่อสังเคราะห์สัญญาณซื้อ สัญญาณขายของราคาหุ้น ณ กรอบเวลาต่างๆ ในที่นี้ โดยการใช้งานดัชนีราคาให้...

แนวรับแนวต้าน ตอนที่ 2

ตอนที่สองนี้ ผมขอกล่าวถึงวิธีหาแนวรับ แนวต้านที่นิยมใช้ สองวิธีหลักๆคือการใช้ Fibonacci และการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ สองวิธีนี้เป็นวิธีการที่ใช้เครื่องมือคณิตศาสตร์มาช่วยทำให้เรามองแนวรับแนวต้านบนแนวโน้มใหญ่ได้ง่าย การหาแนวรับแนวต้าน วิธีการหาแนวรับ-แนวต้านของราคาหุ้น เราสามารถหาได้หลายวิธีขึ้นกับเทคนิคที่ผู้วิเคราะห์จะเลือกใช้ เช่นการใช้ Fibonacci, การใช้ค่าเฉลี่ยแบบหลายช่วงเวลา , การใช้เทคนิค Pnt ,การใช้ trend line ย่อยก่อนหน้า และอื่นๆ ผมขอให้แนวคิดไว้ว่า แนวรับแนวต้านนั้นเป็นเพียงจุดสังเกตที่ทำให้นักลงทุนทราบถึงสถานการณ์และการเคลื่อนตัวของราคาตามแนวโน้มเปรียบดั่ง เสาหลักกิโลเมตร ทีเอาไว้ให้เราบอกตำแหน่งบนเส้นทาง ( บนแนวโน้ม ) ดังนั้นผมขอยกตัวอย่างภาพการหาแนวรับแนวต้าน คราวๆดังนี้ครับ 1. การใช้ Fibonacci retracement คือวิธีการใช้สัดส่วนของ Fibonacci มาเป็นตัวกำหนดแนวรับ แนวต้านเพื่อใช้เป็นเส้นสังเกต หลักการใช้งานก็คือการลากจากจุดสูงสุดไปต่ำสุด หรือลากจากต่ำสุดมายังสูงสุดของแนวโน้มก่อนหน้า แล้วแต่แนวโน้มขาขึ้นหรือลง เพื่อนำเอา % มาใช้เป็นตัวกำหนดแนวรับหรือแนวต้าน ในแนวโน้มที่เกิดขึ...

แนวรับแนวต้าน ตอนที่ 1

แนวรับและแนวต้าน เปรียบดังแนวของเส้น ณ ตำแหน่งราคาใดๆ ที่ใช้เป็นแนวสังเกตสำหรับการเคลื่อนที่ของราคาผ่านแนวนั้นๆ ด้วยเนื่องจากการหยุด การทะลุผ่าน หรือการไหลตกลงของราคา ณ ที่แนวสังเกตนี้ล้วนมีนัยยะ สำหรับการนำมาใช้งานในรอบต่อไป การทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวรับแนวต้าน จึ้งเป็นเรื่องจำเป็นควบคู่ไปกับการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาหุ้น แนวรับ  แนวรับ(Support) คือแนวที่มีแรงซื้อมารับราคาหุ้นไว้ไม่ให้ตกลงไปมากกว่านี้หรือสามารถชะลอการร่วงลงของราคาได้ ในขณะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปแนวรับจะมีลักษณะเหมือนแนวที่เป็นจุดสังเกตการเคลื่อนที่ลงของราคาในแนวโน้มขาลง (Down Trend) แนวรับจะมีได้มากกว่า 1 แนวและสามารถนำแนวรับในอดีตที่มีนัยยะมาใช้ในการสังเกตในปัจจุบันได้ โดยบ่อยครั้งที่แนวรับสำคัญจะเกิดจากการที่ราคาหุ้นในทิศทางลงหลายรอบ มาหยุดลง ณ ที่แนวรับนั้น จากภาพ S0 S1 S2 และ S3 คือแนวรับ บนแนวโน้มของลงที่เมื่อราคาหุ้นวิ่งเข้าหาแล้ว มีการชะลอหรือเด้งกลับระยะสั้นๆ โดยแนวรับที่มีความแข็งแรงจะสามารถหยุดราคาหุ้นในขาลงได้นาน แนวต้าน แนวต้าน(Resistance) คือแนวที่มีแรงขายมาต้านราคาหุ้นไว้ไม่ให้ขึ้นสูงไปมากกว่านี้หรือสาม...

การวิเคราะห์แนวโน้มราคา 2

หลังจากเลือกตั้งเสร็จ สัญญาณตอบรับจากตลาดก็ดีมาก จนลากพาดัชนียาวมาเกือบลุ้น 1100 จุด แต่ถึงยังไงก็ไม่ควรประมาทครับ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่าแนวโน้มระยะสั้นจะจบเมื่อใด วันนี้มาหัดเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาหุ้นกันต่อดีกว่าครับ เอาไว้เป็นเกาะป้องกันตัวจากความไม่แน่นอนของตลาด ขนาดของแนวโน้ม จริงแล้วการมองแนวโน้มหรือการมองกราฟราคาหุ้นสามารถมองได้หลายกรอบเวลา (Time Frame, TF) ซึ่งล้วนแต่ มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์หรือกลยุทธการลงทุนที่แตกต่างกันไป การเก็งกำไรหรือการล่าส่วนต่างของราคาไม่จำเป็นต้องเล่นสั้นแบบที่หลายคนเข้าใจเสมอไป แนวโน้มเป็นตัวบ่งชีสำคัญที่ใช้ได้ทั้งในรูปแบบ day trade ที่ใช้ TF ระดับนาที ,week trade นักเก็งกำไรแบบรายสัปดาห์กลาง หรือ month trade ที่ดูกันในระดับเดือนแบบเก็งกำไร EPS รายไตรมาสก็มี เพราะหัวใจสำคัญคือ เมื่อรู้แนวโน้มทำให้รู้จังหวะของคลื่น รู้จังหวะราคาที่ควรซื้อ ดังนั้นมันย่อมได้ราคาหุ้นที่ดีกว่าเดินดุ่มๆลุยไปซื้อ ในวันที่ตลาดทำ New High เป็นไหนๆใช่ไหมครับ ? ดังนั้นผมของแบ่งกลุ่มของแนวโน้มตามขนาดของกรอบเวลาหรือ Time Frame คราวๆดังนี้ 1. แนวโน้มใหญ่ คือ เส้...

การวิเคราะห์แนวโน้มราคา 1

กราฟเป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ราคาและปริมาณของหุ้น เพื่อทำนายราคาที่น่าจะเป็นในอนาคต โดยทำการพอร์ตราคาหุ้นในรูปแบบกราฟแท่งเทียนหรือกราฟเส้นตามช่วงเวลา สำหรับศึกษารูปแบบแนวโน้มของราคาในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อใช้ในการอนุมานหรือทำนายแนวโน้มหรือราคาที่น่าจะเป็นในอนาคต ซึ่งจะสามารถใช้ในการกำหนดจังหวะเวลาในการลงทุน หรือกำหนดกรอบการประเมินความเสี่ยงของการลงทุนได้ ดังนั้นการที่นักลงทุน มีความเข้าใจในกราฟเทคนิค ย่อมจะทำให้ทราบถึงพัฒนาการ การเคลื่อนที่ของราคาหุ้น จากการอ่านแนวโน้มของราคา ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างมาก  ประเภทของแนวโน้ม แนวโน้มคือรูปแบบของราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงแบบเคลื่อนที่จากช่วงเวลาหนึ่ง (t 0 ) ไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง (t1) การเคลื่อนที่ของราคาหุ้นที่ปรากฏบนกราฟ จะอยู่ในลักษณะแบบคลื่น คือมีการแกว่งตัว ไม่ได้มีทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงเป็นเส้นตรง สาเหตุมาจากการที่มีปัจจัยอื่นๆของผู้เล่นกลุ่มต่างๆเข้ามามีอิทธิพลต่อการเคลื่อนที่ของราคาหุ้น ก่อให้เกิดความผันผวนซ่อนอยู่ในการเคลื่อนที่ดังภาพ โดยสามารถแบ่งแนวโน้มออกได้เป็นดังนี้ 1. แนวโน้...

ไม่มีทางลัดสำหรับอิสรภาพ!!!!

ช่วงนี้คำว่า Freedom เป็นกระแสที่กำลังฮิตจริงๆหลายคนอยาก สัมผัสกับอิสระอยากหลุดออกจากรอบเดิม แบบที่ต้องตื่นเช้า ลากสังขารไปทำงานหนักที่ตนเองไม่ได้รัก เจอสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย การแข่งขันการเอาเปรียบและการต้องเผชิญต่อแรงกดดันจากเจ้านาย ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนพันธนาการเราไว้ด้วยคำว่า "เงินเดือน" ดังนั้นการจะหลุดกรอบนี้ได้ต้องตัดล็อคแม่กุญแจอันโตออก หรืออีกนัยหนึ่งคือการอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินเดือนจากงานประจำ จึงเป็นที่มาของคำว่า อิสรภาพทางการเงิน  อิสระมีจริงหรือ  หลายคนมองพาหนะที่จะพาตัวเองหลุดจากกรอบเดิมไปสู่อิสรภาพทางการเงินด้วยการเข้ามาสู่ตลาดหุ้น เข้ามาสู่สังเวียนการลงทุน แน่นอนว่าแรงบันดาลใจแรกเริ่มของทุกคน(รวมถึงผมด้วย) ย่อมมาจากเจ้าวลีที่ว่า “อิสรภาพทางการเงิน” หรืออีกคำที่คลาสสิกไม่แพ้กันคือ “ให้เงินทำงานแทนเรา” ฟังสองคำนี้แล้วแทบซึ้งเพราะมันโดนใจจี๊ดขึ้นมาทันที ผมจำได้ว่าหลายปีที่แล้ว วันแรกที่เข้ามาสู่ตลาดหุ้นมันก็คล้ายกับเด็กบ้านนอกเข้ากรุงหรือพจมานถือ ชลอมกำลังจะก้าวเข้าสู่บ้านทรายทอง อะไรที่พบที่สัมผัสล้วนดูแปลกตา ผมมีคำถามมากมายที่เฝ้าถามไถ่คนที่เดินผ่านไปมา สวนทา...