ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ intermediate level

เทคนิคบริหารพอร์ตหุ้นเก็งกำไร

การเป็นนักเก็งกำไร หาเงินจากการเทรดหุ้นหลายคนมักคิดว่ามันง่าย ไม่เหนื่อย ได้เงินเร็ว ใช้ชีวิตชิวๆ ไม่ต้องกดดัน ไม่ต้องมีเจ้านายมาจิกหัวใช้ มากดดันให้เราทำอะไรตามคำสั่ง เหมือนเป็นชีวิตในฝัน แต่จริงแล้วมันก็ไม่ได้มีอะไรที่ง่ายดายเช่นนั้น ต้องผ่านการฝึกฝนและการพัฒนาตนเอง ผมเองแม้ปัจจุบันไม่ได้ทำอาชีพเป็นเทรดเดอร์ แต่ก็เคยมีประสบการณ์การใช้ชีวิตหาเลี้ยงชีพด้วยการเทรดหุ้นและอนุพันธ์อย่างเดียวมาก่อน  ผมเคยใช้เวลา เกือบ 2 ปีในการเทรดหุ้นเก็งกำไรเป็นหลัก ตั้งแต่เช้าถึงดึก ทั้งตลากหุ้นไทย tfex ตกเย็นก็ต่อด้วยการเทรดทองคำ ตอนนั้นมีความคิดเบื้องต้นที่ว่า อยากพัฒนาระบบเทรดและอยากเพิ่มความสามารถในการเทรดหุ้นของตัวเอง ถ้าเราทำงานไปด้วยเล่นหุ้นไปด้วย เวลาในการอ่านหนังสือ ในการทุ่มเทเพื่อติดตามหาข้อมูลมันอาจจะไม่พอ และอาจจะช้า ประจวบเหมาะกับเป็นช่วงที่เปลี่ยนผ่านชีวิตการทำงาน เลยทำให้ตัดสินใจลองทำดู สิ่งหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้ จากการใช้ชีวิตเลี้ยงชีพด้วยการเทรดหุ้น มันไม่ใช่แค่การดูกราฟ หรือนั่งวิเคราะห์ หุ้นแต่มันเป็นมิติเรื่องการบริหารจัดการ โจทย์ที่ว่าทำอย่างอย่างไรที่จะเทรดหุ้นให้มีเงินพอเลี้ยงช...

จุดบรรจบของเทคนิคคอลและพื้นฐาน C-A-N-S-L-I-M # 2

ตอนที่สอง ผมจะกล่าวถึงเทคนิคการลงทุนแบบ C - A - N - S - L - I - M ของคุณ วิลเลียม โอนิล (William O’Neil) ปรมาจารย์ด้านการลงทุนของโลกอีกท่าน ผมชอบเทคนิควิธีนี้เพราะเป็นการผสมผสานทั้งเรื่องของปัจจัยพื้นฐาน การเติบโตของธุรกิจ บวกกับการพิจารณาแนวโน้มราคาหุ้นและแนวโน้มตลาด ควบคู่กันในการลงทุน ผมนำเอาเทคนิคนี้มาประยุกต์และใช้ในการลงทุนระยะยาวของตัวเอง  โดยประยุกต์เอาแนวคิดและเทคนิคบางอย่างใส่ลงไปด้วย เพื่อให้เหมาะกับสภาวะตลาดหุ้นบ้านเราและเหมาะกับจริตการลงทุนของตัวผมเอง สิ่งที่เขียนในหัวข้อนี้เป็นเพียงตัวอย่างการประยุกต์เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว เพื่อนๆสามารถศึกษาหลักการของ C - A - N - S - L - I - M ให้เข้าใจและลองนำไปประยุกต์ใช้ดูครับ C - A - N - S - L - I - M ประกอบด้วยตัวแปรที่ต้องพิจารณา 7 ตัวได้แก่  1. C= Current quarterly earnings per share. 2. A = Annual earnings per share. 3. N = New product/management/price high. 4. S = Supply/Demand: Small Cap + Volume 5. L = Leader 6. I = Institutional Sponsorship 7. M = Market Direction โดยจำแนกปัจจัยหลัก 5 ด้านคือ งบการเงิน,สภาพคล่อง...

จุดบรรจบของเทคนิคคอลและพื้นฐาน C-A-N-S-L-I-M # 1

ผมเป็นนักลงทุนแนวเก็งกำไร เป็นเทรดเดอร์ชื่นชอบการทำกำไรตามรอบกำลังของหุ้น แน่นอนว่าสิ่งที่ต้องทำทุกวันก็คือการติดตามราคาหุ้นเป้าหมาย(ไม่ใช่การขวนขวายซื้อขายหุ้นทุกวัน) ใน watch list ทุกวันต้องดูกราฟวันละหลายรอบต่อตัว สิริแล้วก็เป็นร้อยต่อวัน และหลาย time frame เพื่อคำนวณความน่าจะเป็นและหาจังหวะเข้าซื้อขาย สิ่งที่ทำไม่ใช่งานที่สบาย นั่งชิวๆและได้เงินเหมือนที่หลายคนเข้าใจครับ การลงทุนระยะสั้นแบบเก็งกำไร หรือใช้คำว่าเล่นหุ้น เป็นอะไรที่ใช้เวลาและความพยายามค่อนข้างมาก สำหรับผมมันคือการเอาใจใส่อย่าใกล้ชิดกับปัจจุบัน เพื่อหาจังหวะที่ดีที่สุด ที่จะสร้างผลกำไรในรอบนั้นให้เรามากที่สุด ดังนั้นมันจึงห่างไกลกับคำว่า "อิสระภาพ" หรือการปล่อยให้เงินทำงาน สร้างรายได้เข้ามาอย่างเพียงพอและตัวเราก็สามารถไปประกอบอาชีพหรือทำอย่างอื่นที่ต้องการได้ โดยปราศจากการความกังวลเรื่องราคาหุ้น เรื่องผลตอบแทน แต่เมื่อใดก็ตามที่เรายังต้องวิเคราะห์และติดตามราคาหุ้นมันตลอดนั้นก็หมายถึงเรายังต้องทำงานกับมัน ยังติดอยู่กับกรอบอีกกรอบหนึ่งแทน คำถามที่ตามมาคือ ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วจะมาเทรดหุ้นเก็งกำไรให้เหนื่อยทำไม? ...

เรขาคณิตพิชิตหุ้น

วันนี้ขอนำเสนอ Chart Pattern เพื่อนำมาใช้ในการสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของแนวโน้ม แต่แน่นอนว่า เราจะไม่ใช้ Chart Pattern เป็นประธานในการตัดสินว่าแนวโน้มราคาได้เปลี่ยนแปลงไปหรือยัง เพราะว่ารูปแบบของราคาแท่งเทียนนั้นเบื้องหลังก็คือคน คือแรงซื้อและแรงขาย ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ  ดังนั้นผมคงไม่แนะนำให้เพื่อนๆ ใช้เมมโมรี่สมองไปจำว่า รูปแบบนี้หุ้นจะขึ้น รูปแบบนี้หุ้นจะลง เพราะถ้าท่านเจอลูก ยึกยัก บางคนไปไม่เป็นเสียเงินเสียทองมากก็มากเพราะไปเชื่อมั่นในตำราฝรั่งเกินไป ดังนั้นเน้นแบบ KISS (Keep it simple + smart) โดยใช้ทักษะเรขาคณิตระดับประถม มาช่วยในการอ่านกราฟราคาหุ้น ผมเองใช้ รูปแบบแท่งเทียน เพื่อการสังเกต ดังนั้นผมขอยกเอารูปแบบที่ใช้ในการวางกรอบการสังเกตที่ใช้บ่อยมากที่สุด(จากประสบการณ์ของผม) แบบแรกคือรูปทรงเรขาคณิตแบบสามเหลี่ยม (Triangle) โดยหลักการคือเรากำลังจะสังเกตราคาหุ้นที่บีบตัวแกว่งแคบ เพื่อกระทำกับแนวรับหรือแนวต้าน สามเหลี่ยมเด้ง สามเหลี่ยมนี้ มีรูปแบบราคาหุ้น บีบตัวแคบ เข้ากระทำกับแนวรับ แล้วราคาไม่ทะลุแนวรับ นั้นเป็นสัญญาณการกลับตัวขึ้น เพื่อก่อตัวเป็นแนวโน้มขาขึ้น...

ตามติดต่อตี (กลยุทธบริหารจัดการเงิน)

ท่ามกลางวิกฤตน้ำท่วมกรุง ที่ดูเหมือนยังหาทางแก้ไขหรือบรรเทาไม่ได้ในขณะนี้ นักลงทุนเองก็มีข่าวดีให้ยิ้มได้ คือ ตลาดหุ้นปรับตัวบวกขึ้นต่อเนื่องจนมาถึงแนวต้านที่ 980 หลายคนที่เทรดในรอบนี้ก็รับทรัพย์กันอื้อซ่า ส่วนคนที่ติดดอยจากรอบก่อนหน้าก็คงจะใจชื้น มีหวังได้ลงดอยกันบ้าง(แต่ความจริงก็ยังไม่มีอะไรที่แน่นอน บ่งบอกว่า SET จะกลับไปที่จุดเดิม) คนอีกกลุ่มหนึ่งที่ผมพบปะแล้วเจอไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากลุ่มที่ติดดอย ก็คือกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า ตกรถ เพราะล้างพอร์ตขาดทุนไปรอบก่อนหน้า เพราะกลัวปัญหาหนี้สินยุโรป พอร์ตว่างยังลังเลไม่กล้าซื้อ ไม่กล้าเข้า เพราะกลัวจะติดดอยอีก วันนี้มีเทคนิคเบื้องต้นมาแนะนำครับ ปัญหาอย่างหนึ่งของคนที่ตกรถคือมักจะเป็นคนที่เคยขาดทุนมาก่อน ด้วยความกลัวที่ข้างในอารมณ์มันจึงทำให้ไม่กล้าที่จะซื้อหุ้นที่ราคาวิ่งขึ้น พอจะซื้อราคาหุ้นเริ่มชะลอตัวก็ไม่มั่นใจคิดว่าจะลง รอต่อไปอีกหน่อยราคาหุ้นก็วิ่งต่อ (รอบนี้ที่เราเห็นมากคือการกระโดดเปิด GAP ตั้งแต่เปิดตลาด) ยิ่งราคาบวกไปสูงความกลัว(อารมณ์) ก็เข้ามารบกวนจิตใจ รอต่อไปหุ้นก็ขึ้นต่ออีก สุดท้ายไม่กล้าซื้อ หรือบางคนคันมืออดใจไม่ไหวมาโดดใส่ต...

เทคนิครับมือกับตลาดหุ้นขาลง

อาทิตย์ที่ผ่านมาดูจะเป็นอาทิตย์ที่เลวร้ายในชีวิตการลงทุนของใครหลายคน มีหลายท่าน email เข้ามาทักทายและขอคำปรึกษา ผมเองได้ให้คำปรึกษาที่เป็นกลางๆไป ด้วยความที่ไม่ยากฟันธงหรือชี้นำ ไอ้แบบที่จะให้บอกว่าซื้อเพิ่มถั่วเฉลี่ยเข้าไป ,ให้ติดดอยเพื่อรักษาต้นทุน หรือขายทิ้งล้างพอร์ต ผมคงไม่ทำผมเชื่อว่าเงินของท่าน ท่านควรมีวุฒิภาวะในการตัดสินใจได้เอง ถ้าผ่านจุดนี้ไปไม่ได้ โอกาสจะประสบความสำเร็จก็ยาก แต่ถ้าเราผ่านมันไปได้แล้ว ผมเชื่อว่าท่านจะได้รับประสบการณ์ที่มีค่าอย่างยิ่งในการลงทุน หลังจากดัชนีลดลงมา 100 กว่าจุดในเวลาไม่ถึง สองสัปดาห์ผมเชื่อว่ามันคงทำให้ใครหลายคนตื่นตระหนกได้ไม่น้อย โดยเฉพาะท่านที่เพิ่งเริ่มลงทุนได้ในช่วงตลาดขาขึ้น ยังไม่เคยผ่านวิกฤตหรือเหตุการณ์ตลาดขาลงมาก่อน ด้วยความคิดที่คุ้นเคยว่าตลาดหุ้นทำเงินได้ง่าย ลงไม่เยอะ ลงไม่นานเดี่ยวก็ขึ้น ชุดความคิดนั้นอาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไปในยาม ที่โลกอยู่ในช่วงเฝ้าระวังกับการกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจทั้งทางฝั่ง ยุโรปและอเมริกา หลายคนยังคิดมองโลกในแง่ดีกว่ามันไม่น่าจะมาถึงบ้านเรา หรือคิดต่อไปอีกว่า น่าจะเป็นโอกาสของเอซียแต่ความเป็นจริงมันไม...

STO (STOCHASTIC OSCILLATOR)

STOCHASTIC OSCILLATOR (STO) คือเครื่องมือที่เน้นไปที่การแกว่งตัวของราคาหุ้น โดยสามารถแสดงถึงลักษณะของราคาปิด ของหุ้น ตามแนวคิดที่ว่า ถ้าราคาหุ้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ราคาปิดย่อมมีการขยับตัวสูงขึ้นไปหา high ด้วย หรือในช่วงแนวโน้มขาลง ราคาปิดย่อมมีแนวโน้ม เข้าใกล้ low ของวันด้วย จึงมีการนำเอาสัดส่วนของราคาปิดเทียบมาใช้ในการคำนวณ STO เป็นเครื่องมือดัชนีราคาอีก ที่มีความไวค่อมข้างสูงนิยมในงานมาในตลาดที่มีการแกว่งตัวแบบไร้ทิศทางในกรอบเวลาแคบๆ จาก สมการ          %K คือ ค่า FAST STOCHASTIC OSCILLATOR         %D คือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ FAST STOCHASTIC OSCILLATOR เราเรียกว่า SLOW STOCHASTIC OSCILLATOR การแปลความหมายและการนำไปใช้ การตีความของ STO สามารถจำแนกเป็นลักษณะต่างๆได้ดังนี้ - การดูค่าความอิ่มตัว Overbought และ Oversold เป็นการนำเอาค่าจาก STO มาใช้นิยามค่าความอิ่มตัวของแนวโน้มราคา โดย      Overbought คือช่วง 80 % - 100 %      Oversold คือ 20 % - 0 % โดยการใช้งานของ ...

Relative Strength Index (RSI)

RSI คือเครื่องมือดัชนีประเภท fast active oscillator ยอดนิยมในกลุ่ม momentum indicator ที่สามารถนำมาใช้พิจารณาการแกว่งตัวของราคาในช่วงกรอบจำกัด ราคามีความผันผวนหรือใช้สังเกตการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มราคาได้ดีอีกตัวหนึ่ง โดยที่นิยมใช้กันคือการดูค่า Overbought และ Oversold, ดู Crossovers หรือใช้ในการสังเกตการณ์เกิด divergence และ convergence ระหว่างตัวดัชนีและราคาหุ้น ปกติเรามักนิยมใช้ ค่า RSI 14 วันเป็นค่าปกติที่ใช้กัน แต่อาจจะมีการดัดแปลงค่าวันจากการทำการเก็บข้อมูลสถิติเพื่อทดสอบให้เหมาะกับรอบการแกว่งของหุ้นแต่ละตัวได้ เพื่อให้สัญญาณที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมของหุ้น ณ ช่วงเวลานั้นๆมากที่สุด การแปลความหมายและการนำไปใช้ การตีความของ RSI สามารถจำแนกเป็นลักษณะต่างๆได้ดังนี้ - การดูค่าความอิ่มตัว Overbought และ Oversold เป็นการนำเอาค่าจาก RSI มาใช้นิยามค่าความอิ่มตัวของแนวโน้ม เพื่อใช้บอกจังหวะการลงทุนโดย Overbought คือการอิ่มตัวขาขึ้น เกิดจากการซื้อมาก และ Oversold คือการอิ่มตัวขาลง เกิดจากการขายมาก โดยแบ่ง zone ของการอิ่มตัวได้ดังนี้          Overbought คือช่วง 7...