ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ grid

ทอสอบ GRID(+Machine Learning) บน MT4 TFEX

สาธิต GRID(+ML) บน MT4 TFEX S50 คลิปผลการทดลองตัวอย่างการทำงานจริงของระบบ GRID โดย กลยุทธ์หลักเพื่อใช้ในการเป็น Hedging Layer สะสมสัญญาเพื่อป้องกันความเสี่ยงในพอร์ตหลัก(ผสมกับการเก็บ cashflow จาก Market volatile)  ซึ่งใช้จุดเด่นของ MT4 TFEX ในการจัด Order แบบ GRID (แตกต่างจาก FIFO แบบอดีต) - Non Linear GRID Trading - No SL,TP , No Pending Order - Dynamic Zone based on Machine Learning - Dynamic Exit strate gies - Low Risk (Balance = 500000, RPT 100000 per Unit, SLD>40%ofCV,Max = 5 Contract) - Stop loss By Time (time based exit strategies) เข้าดูตัวอย่างการทำงานได้จาก link  https://www.facebook.com/chaipat.ncm/videos/10156764604269511/

แหล่งความรู้เรื่อง GRID Trading System

คำถามหนึ่งทางกล่องข้อความจากน้องเทรดเดอร์ อยากรู้ว่าถ้าจะศึกษาระบบ GRID Trading System ในต่างประเทศจะสามารถหาอ่านได้จากที่ไหนบ้าง ? คำตอบคือ มันค่อนข้างจะเยอะ แต่กระจัดกระจายบนอินเตอร์เน็ต และบางอย่างอาจจะใช้จริงไม่ได้ ดังนั้นคงต้อง google หาแล้วลองไล่อ่านดู สิ่งต้องจำไว้ว่าระบบ grid พื้นฐานไม่ซับซ้อน หลักคือการจัดสรรทรัพยากรเงินในการเทรด บนขอบเขตราคาที่สอดรับกับ volatility ของ asset ซึ่งทำได้หลากหลายโมเดลมาก ดังนั้นที่ ซับซ้อน คือการต่อยอด การสร้าง tactical พิเศษเข้าไปเพื่อเ พิ่มประสิทธิภาพของมัน ผมยกตัวอย่าง link หนึ่งอยากให้ลองไปอ่านเป็น link เกี่ยวกับระบบ grid ชื่อว่า Grid trading system, keeping DD to a minimum ที่เก่า แต่มีประเด็นน่าสนใจ เพราะเป้าหมายคือ ต้องการหา solution ที่จะทำให้ Drawdown ของระบบ grid ต่ำลง ตรงนี้มีไอเดียให้คิดต่อได้จากการแสดงความคิดเห็นของเทรดเดอร์ต่างๆ(ฝรั่งเขาพูดเรื่องเดียวกัน แต่ทำแตกต่างกัน แสดงความเห็นแบบเปิดได้ ตรงนี้มันทำให้เกิด knowledge flow ขึ้นมา) ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ และนำมาคิดต่อ พัฒนาระบบเราต่อได้ ครับ ปล. ในบทความไม่ใช่วิธีการสอนเทรดก

GRID Trading System (ฺbehind the scene)

GRID นี้ก็คือ Quant strategies ประเภทหนึ่งนะครับมีทั้งแบบ  linear และ non linear เบื้องหลังจะพัฒนาระบบได้ดี  หรือ advance แค่ไหนอันนี้ขึ้นกับความเข้ าใจ โดยเฉพาะเรื่องของ probability(price stat) นำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งเกมส ์รับและรุก ด้านเกมส์รับจะทำ grid ให้สมบูรณ์อมตะ มีค่า SF สูงก็ต้องคำนวณเงิน ไปให้ถึงจุด CP (low probability) เพื่อป้องกัน risk ส่วนจะเล่นเกมส์รุก ก็ต้องหันมาเรียนรู้เรื่องก ารวางแทกติกการใช้ volatility ที่เกิดใน active zone (high probability) มากๆ จะทำ GRID Trading System ให้สำเร็จ ต้องเข้าใจพฤติกรรมราคาของส ินค้า เป็นอันดับแรก ควรจะเริ่มจากการทำ data analysis ก่อนเสมอ เพราะเมื่อเราเข้าใจ พฤติกรรมของราคา ในช่วงเวลาต่างๆ ภาวะปัจจัยแวดล้อมต่างๆ การวางแผนการเทรด การรับมือกับความเสี่ยง ก็จะดียิ่งขึ้น  ในภาพข้อมูล GOLD ช่วงเวลา 10 ปี แยกประเภทตามช่วงปีต่างๆลอง ดูการเปลี่ยนแปลงของ ราคา และ volatility และลองตอบคำถามที่ผมตั้งโจท ย์ให้ไปคิดนะครับ ว่า  1. ผลตอบแทนของทองคำที่ผ่านมา มันแปรผันตรงกับ เวลาที่ถือครอง หรือไม่? 2. ทำไมทองคำ จึงเป็นสินค้าที่นิยมมีการเ ก็งกำไร จ

Zone Recovery Tactic

วันนี้มีน้องเทรดเดอร์มาปรึกษา เขาเอาเทคนิคเรียกว่า zone recovery area แนวคิดของฝรั่งคุณ Joseph Nemeth ที่กำลังโด่งดังใน you tube ยอดคนฟังเกือบแสน แนวคิด zone recovery เขาเอามาทำเพื่อทดแทนการ stoploss ด้วยแนวคิดง่ายๆที่ว่า ราคา มันไม่ขึ้นก็ลง ทางใดทางหนึ่ง ดังนั้นใช้พลวัตรของตลาด มาเป็นตัว cover loss ซะจะได้ไม่ต้องขาดทุน ผมไม่ขอสรุปว่าใช้ได้หรือไม่ แต่จะสาธิตการทำงานของอัลกอริทึ่ม Zone recovery tactic ด้วยการเขียนโปรแกรม robot trading เพื่อจำลองการทำงา นกับตลาดจริง สินค้าจริง แล้วมาอภิปรายข้อดีข้อเสีย ลองศึกษาเทคนิคต่างๆไว้ก็ไม่เสียหลายครับ เพราะทุกวิธี ทุกแนวคิดบนโลกนี้มันมีข้อดีข้อเสียเสมอแหละ ใครที่สนใจเทคนิคนี้ลองเข้าไปชมได้จาก link ด้านล่างครับ https://www.youtube.com/watch?v=DX34jq9q7OQ

GRID Trading System II (อธิบายเพิ่มเติม)

อธิบายตอบคำถามน้องเทรดเดอร์จากติว เรื่องของ GRID Trading System - กริด มีข้อจำกัด ไม่ใช่กลยุทธ์วิเศษ -นำกริดไปใช้ต้องเข้าใจ และจัดการกับข้อจำกัดให้ได้ - กริดพื้นฐานไม่ซับซ้อน แต่พัฒนาต่อให้ซับซ้อนได้เช่น non linear grid , การจัดจำนวน order ที่แปรผันตามข้อมูลพฤติกรรมราคา - ใช้ประโยชน์จาก volatility ของสินค้า -กริด ไม่จำเป็นต้อง มาร์ติงเกล , double lot เสมอไป - ใช้ volatility มาช่วยในการรวบโซน หรือการจัดการ position size - การเทรดกริดทำได้หลายแบบ ทั้งตามทิศทางราคา และสวนทิศทางราคา มีข้อดี ข้อจำกัดแตกต่างกันไป - การเทรดกริดตามทิศทางราคา สามารถใช้ความได้เปรียบในการปรับต้นทุน และลดการเพิ่ม DD ได้ด้วย - ไม่ stoploss เป็นไม้รายออร์เดอร์แต่บริหารเงินและการขาดทุนเป็นโซน ผสานกับการ hedge กับสินค้าบน negative correlation layer - กริดป้องกัน ความเสี่ยง แบบการใช้ leverage ต่ำ ดู vdo สาธิตการทำงานของ dynamic grid ได้จาก link https://www.youtube.com/watch?v=ZPASg_wa6mA

Renko + GRID > Quantitative Investing

ตัวอย่างระบบ GRID ในหุ้น ผมทำระบบใช้ renko brick มาเป็นตัวช่วยอ่านพฤติกรรมราคาสำหรับ GRID Trading System ในการสะสมหุ้นและสร้างกระแสเงินสด(ปันผล+การปรับต้นทุนตาม volatility) ไอเดียเบื้องต้นที่แชร์ได้ประมาณนี้ ขอแชร์เพื่อการศึกษา ถ้าจะนำระบบไปใช้ ต้องทดสอบระบบก่อนทุกครั้งที่จะเทรดเงินจริงนะครับ 1. เลือกหุ้น เจ๊งยาก ล้มละลายยาก เป้าหมายคือการสะสมหุ้น 2. หุ้นมีปันผลดี กรณีติด หุ้นใน inventory ได้ปันผลชดเชย 3. มีกองทุน หรือรัฐ ถือหุ้นใหญ่ 4. ไม่ใช้ margin วางเงินเต็มจำนวน 5. เริ่ม setup เข้าไม้แรก ตอนเกิด discount จาก SET ติดลบ ราคาหุ้นต่ำกว่าราคาปกติ(MA200) อย่างน้อย 25-30% รอตอนตลาด panic >> คำสอนพี่เอ็นโดฟินเลย ซื้อหุ้นดีตอนตลาดไม่ปกติ 6. ซื้อเมื่อราคาสร้าง cluster ยืนเหนือแนวรับ 7. ซื้อสะสมตาม zone เมื่อ Brick เป็น bullish ราคายกตัวต่อเนื่อง(average up) 8. ขายในราคาสูงกว่า ราคาเข้าซื้อ(ขายเมื่อมีกำไร) 9. ขายตาม zone เมื่อ Brick เป็น bearish ปรับต้นทุนไปเรื่อยๆ 10. ทำ cashflow กระแสเงินสด จนกำไรถึงเป้า 100% ทำคลายเครียดเรโซ ดึงทุนออกปรับต้นทุนให้เป็น 0 ได้ สร้าง GRID เป็น alpha ของ

GRID&Cashflow

ตอบคำถามคุณ Sorod เรื่องการวางโซนน้ำมันสำหรับกริด คือหลักการคิด ผมเริ่มเทรดต้นปีแถวโซน 30-32$ ดังนั้นการออกแบบระบบ จะวางไปถึง 40$ แต่ระยะเกือบ 3 เดือนที่เทรดมา มันมี cashflow ออกมาเรื่อยๆ ก่อน ราคาจะวิ่งแรงในเดือน มีค. ผ่านมา มันเข้าใกล้โซน 40$ ที่วางแผนคำนวณเงินไว้ แม้จะไม่ได้คิดตอนแรก แต่พอเราเทรดได้ มี cashflow ออกมาตรงนี้เป็น buffer ให้เราได้ นำมา recalculate กระสุนในการยิงใหม่ ให้ครอบคลุมไปถึง 50$ ได้ต่อไปในอนาคต(กรณีที่ราคายกไปถึง) ไม่ยากครับ ตรงนี้คือความหยืดหยุ่น แต่ต้องอาศัยการเก็บ cashflow ให้ได้จากการเทรดด้วย ประสานกันไป

แก่นสำคัญของ GRID Trading system

คนจำนวนมากสนใจเรื่องการเทรดแบบ grid ผมเจอคำถาม จำนวนมากทาง email แต่ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเรือ่งกริดจริงๆ แต่อยากใช้เพราะคิดว่ามันทำเงิน ทำกำไรให้ได้ (นั้นคือความเชื่อ และแฟนตาซี) การเทรด GRID trading ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการเทรดนะครับ(เพราะความเป็นจริง มันอาจจะไม่มีกลยุทธ์ใดที่สมบูรณ์แบบหรือดีที่สุดในการเทรด) เพียงมันเหมาะในบริบท สถานการณ์ที่เราต้องการใช้การเทรดแบบไม่อิงทิศทาง ไม่ต้องการเดาอนาคต และ key ความซับซ้อนที่เราสามารถ apply ได้ไม่รู้จบ การเทรดเชิงกลยุทธ์มันคือการเข้าใจในพฤติกรรมราคา แล้วนำมันมาสร้างเป็น algorithm ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมราคา ให้เกิดความได้เปรียบการในการซื้อขาย  แต่ แก่นสำคัญคือการออกแบบ โครงสร้างของกริด ที่มันถูกออกแบบโดยการวาง load ของเงิน และคำนวณ money management มาอย่างดี ไม่ใช่แค่เร ื่องการเทรดไม้ ให้ไ้ดกำไรเยอะๆ ต่อไม้แบบที่ หรือการไม่ต้อง stoploss แบบที่จำนวนมากยังเข้าใจผิดอยู่ ทุกวิธีมันมีจุดแข็ง จุดอ่อน ทำความเข้าใจจริงๆ แล้วหากลยุทธ์ที่เหมาะกับตัวเรา จากนั้นพยายามใช้ความสามารถในการพัฒนา สร้างวิธีการปิดจุดอ่อน ข้อจำกัดให้ได้ เพื่อเพิ่มปร

Dynamic Rebalancing

พูดเรื่อง risk management บ่อย เพราะอยากยำว่ากลยุทธ์ ด้านนี้สำคัญมาก สำหรับ การสร้างพอร์ต ให้มั่นคงระยะยาว อยากแนะนำให้ ลองศึกษา หรือหาแนวทาง มาปรับใช้กันเยอะๆ โดยเฉพาะ คนที่เทรดหุ้น เทรดอนุพันธ์ หรือเทรดตลาดต่างประเทศ ความเสี่ยง มันคือ การไม่รู้อนาคต ดังนั้น ถ้าคุณเดาอนาคต 100% ไม่ว่าจะเล่นสั้น เล่นยาวทำอะไร จะใช้ระบบแบบไหน มันเสี่ยงทั้งนั้น มากน้อยก็ว่ากันไป วันนี้ผมเอาบทความหนึ่ง น่าสนใจของคุณ Vineer Bhansali จาก  PIMCO เรื่องเกี่ยวกับการทำ dynamic rebalancing โดยใช้ค่า vollatility ของตลาด บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน The Journal of Portfolio Management. หัวใจสำคัญคือทำยังไง ให้ max loss เกิดน้อยสุด เกิด drawdown ของระบบต่ำที่สุด โดยเฉพาะจากปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น และเข้ามากระทบ ผมคงไม่ลงรายละเอียดทั้งหมด เพราะมันเยอะ แต่เอาคอนเซป มาให้ดูว่า การบริหารความเสี่ยงนั้นสำคัญ ไม่ใช่ หลับหูหลับตาเทรด หรือ วิ่งหากำไร เห็นของถูก เห็นคนเชียร์เยอะๆ ก็จะเข้าไปเก็บตลอด การประเมินสถานการณ์ความผันผวน ความไม่ปกติให้ออก แล้วรู้จักผ่อน หนัก เบา ช้า เร็ว เป็น key สำคัญของมืออาชีพ ที่สามารถทำพ

Anti Grid(2)

จากประเด็นสองขั่ว ของฝั่งนักพัฒนาที่เถียงกันเรื่องของ Grid และระบบแบบ Anti Grid  เขาถกประเด็นนีัมาก โดยเฉพาะเรื่อง Quadratic กับ linear growing profits นี้สองสายคุยกันไม่รู้จบ กินกันไม่ลง   ส่วนตัวผ่านอ่าน เสพทั้งสองฝั่งแบบไม่มีอคติ เพราะพอร์ตที่บริหาร ปัจจุบันก็พัฒนาโมเดลระบบเทรด แบบทั้งสองอย่าง และพบทั้งข้อดีและข้อเสีย ผมเลยมองว่า ทำไมไม่ลองหาตรงกลาง ลองออกแบบระบบ จับ Grid(Volatility grid / non martingale) มารวมกับ anti grid  ถามรวมกันยังไง ก็รวมแบบ closure system คือ ทำ loop ปิดเพื่อบริหารพอร์ตไปเลย เรากำหนดค่า Risk level เอาไว้เพื่อบริหาร Equity ผมใช้ +(USDJPY)+EURUSD-EURJPY ให้เกิด Balance ใน USD JPY และ EUR [ทดลองหน้าเดียว] จากนั้นจัดกอง 2 กอง  กองแรกเป็น Grid ปกติ [USDJPY,EURUSD]  และอีกกองเป็น Anti grid คือ EURJPY ตามธรรมเนียมของ  closure system คือเราจะสมานฉันไม่ให้มันเกิด การลดลงของ equity เยอะ ต้องคิดค่าคุณสมบัติ คือ volatility และ Correlation ไว้ก่อน พอ check ค่าได้ก็พยายามเอาไว้ track เพื่อบริหารการสะสม Order ของพอร์ต 2  กอง ผลก

Anti grid

วันนี้ มีโอกาสคุยกับน้องคนหนึ่ง มาปรึกษาเรื่องทำ Grid system เดี่ยวนี้กลายเป็นกระแสหลัก ฮิตไปทั่วบ้านทั่วเมือง มีแต่คนอยากลอง น้องคนนี้ มันตั้งคำถามว่า พี่ครับไม่ใช้กริดได้ไหม?? (คิดในใจ ไอ้นี่แม่งโครตอินดี้ ) ได้ดิ ผมตอบไป เพราะแนะนำไปกลยุทธ์การเทรดมีทั้ง scalping ,swing trader, breakout ,momentum , contrarian สอนไปเยอะมาก น้องคนนี้มันว่า ไม่ใช่ครับ อยากลอง Anti grid แบบที่ผมเขียนในบทความไว้ พอดีค้นเจอบทความเก่า วันนี้เลยนั้งอธิบายกันยาว สนุกดีได้ทบทวนไปในตัว คนเขียนเรื่อง Grid เยอะผมว่าหลายคนคงรู้จักกันพอควร แต่อยากแนะนำอย่าไปดูด้านดีดูข้อจำกัดด้านลบมันด้วย โดยเฉพาะคนที่ไม่เข้าใจจริงๆ หรือ ฟังคนพูดผิดๆพูดต่อนี้อันตราย ส่วนใหญ่อยากใช้กริด เพราะไม่ต้องการ Stoploss และอยากลองของเล่น martingale ทำกำไรร้อยเท่า สุดท้าย ล้างพอร์ต ทั้งนั้น ตรงนี้อันตรายมาก เพราะ กริดข้อจำกัดมันก็ไม่ใช่น้อย พอๆข้อเด่นนั้น ไม่ใช่ระบบพิเศษอะไร holy grail อะไร ถ้าคุณเจอคนใช้เป็น สอนเป็นเขาจะสอนข้อจำกัดและชี้ข้อเสี่ยงให้เห็นได้ ต้องระวังหน่อยการใช้ martingale ฝรั่ง เขาไม่ได้เชื่อตามกันหมด ไม่ใช่ Grid Martigale ก