ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ วิเคราะห์เทคนิค

Why technical analysis fail to work

ผมมีโอกาสได้คุยกับเทรดเดอร ์หลายท่าน ช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีคำถามเยอะมาก ว่า technical analysis มันใช้งานได้อยู่ไหม? ผมเองก็ยังยืนยันคำตอบเดิมว ่ามันใช้งานได้ ถ้าเราใช้เป็นใช้อย่างเข้าใ จ จริงๆไม่ค่อยแปลกที่หลายคนเ จอปัญหา เพราะ 80% ของสายใช้เทคนิคอลปกติ มันไปทาง trend flowing หรือ momentum trading พอตลาดมันขาดโมเมนตรัมหรือผ ันผวนจากภาวะเศรษฐกิจ ปัญหามันเกิดทันที ยิ่งถ้าใครใช้แบบมโนศาสตร์ หรือขาดความเข้าใ จดีพอ พฤติกรรมราคา พฤติกรรมตลาดที่ไม่ปกติ มันทำให้เกิดการเสียหายขาดท ุนได้เยอะ คำแนะนำอีกอย่างของผมคือ อยากให้เทรเดอร์หันมาใช้ เทคนิคอลแบบเป็นวิทยาศาสตร์  หัดเรียนรู้ หัดทดสอบ ทดลอง และปรับปรุงวิธีการใช้งานให ้เหมาะสมได้ด้วยตัวเอง อย่าติดกับตำราเก่าๆ เกินไป บางเรื่องมันถูกคิดมันถูกสร ุปมาตั้งแต่ยุค 1990 -2000 อาจจะเป็นจริง สมเหตุสมผลในตอนนั้น แต่ตลาดปัจจุบันไม่ว่าจะตลา ดหุ้น ตลาดค่าเงิน ตลาดทองคำ ตอนนี้มันเปลี่ยนไปมากแล้ว โดยเฉพาะเรื่องของขนาดเม็ดเ งิน เรื่องของกลยุทธ์ที่ซับซ้อน ขึ้น(Algorithmic trading /  HFT) และเรื่องของระดับค่า volatility ของราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นจาก อด...

แง่คิดการใช้เทคนิคอล

มีคำถามหนึ่งทาง email ถามมาว่า ทำไมคนยุคก่อนเซียนเทคนิคอล รุ่นแรกใช้เครื่องมือแล้วประสบความสำเร็จ?  ส่วนตัวผมมองว่า มันเกิดจากความเข้าใจ ในยุคเริ่มต้นคนได้อ่านงานต้นฉบับ เราะจะของจริง เห็น สมมติฐานและข้อจำกัดของเครื่องมือ ที่ผู้พัฒนาเขาถ่ายทอดตรงๆ แต่มายุคหลังๆเราเรียนเทคนิคอล จากการชวนเชื่อมากไปนิด ทำให้ง่ายไม่ต้องคิดดูด้วยตาแล้วจำอย่างเดียว แถมเพื่อให้ศักดิ์สิทธิ์ก็เพิ่มคำโฆษณาสรรพคุณ ว่าแม่น ว่ารวยว่ากำไร เข้าไปอีก  คำแนะนำผมคือใช้อะไร กลับไปอ่านงานวิจัยต้นฉบับของผู้พัฒนา จะได้รู้เขาคิดยังไง และใช้มันเพื่อทำอะไรจริงๆ เน้นเข้าใจอย่าเอาแต่จำ ท่องจำ เช่นจะใช้ RSI กลับไปทำความเข้าใจว่า J. Welles Wilder ยุค 1978 เขาคิดยังไง ตลาดเก็งกำไรยุคเขาเป็นอย่างไร(บอกได้เลยมันต่างจากยุคนี้มาก ลองศึกษา factor นี้ดีๆด้วย) ทำไมเขามีสมมติฐานแบบนี้ แล้วทำไม ต้องใช้ค่าพารามิเตอร์ 14 หรือ 7 คิดตั้งคำถาม หาคำตอบ ใช้แบบเป็นวิทยาศาสตร์มันจะสำเร็จ มันจะพัฒนาต่อได้  เมื่ออ่านมากๆจะพบคนคิดเทคนิคอลส่วนมาก เขาเน้นจากการสังเกต เน้นการอธิบายการเปลี่ยนแปลง บนกรอบบริบทที่เขาสนใจทั้งนั้น ถ้าจะบอก...

GAP

GAP แปลว่าช่องว่าง ในการวิเคราะห์หุ้นเชิงเทคนิค GAP เป็นตัวบ่งบอกอะไรได้หลายอย่าง และสามารถใช้เป็นจุดสังเกตความผันผวนและการเคลื่อนตัวแบบรุนแรงไม่สม่ำเสมอ ฉับพลันทันทีทันใดในรูปแบบของการก้าวกระโดด ทั้งในทิศทางขาขึ้นและขาลงของราคาหุ้น จนทำให้เกิดช่องว่างของราคาขึ้นมา GAP ที่เกิดบนทิศทางขาขึ้นนั้นจะสะท้อนผิดปกติของแนวโน้ม และความต้องการของแรงซื้อที่มาก เช่นการแย่งกันซื้อแบบรุนแรง ในขณะทิศทางขาลง GAP ก็เป็นตัวสะท้อนการอ่อนตัวของราคาหุ้นแบบถดถอย จนเกิดการแย่งกันขาย แบบมีนัยยะสำคัญ เช่นการแตกตื่นตอบสนองต่อข่าว หรือปรากฏการณ์ผลกระทบจากภายนอกต่อตัวหุ้น 1. Common Gap เป็น GAP แบบธรรมดาที่ไม่มีอะไรน่าสนใจ มีความสำคัญน้อยจะเกิดได้ในช่วงที่มีการซื้อ ขาย เบาบาง สังเกตดูได้จาก Volume ของหุ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ซึ่งจะมาพร้อมกับการแกว่งตัวของราคาออกด้านข้าง sideway เรียกได้ว่าเจอ GAP แบบนี้ก็ไม่มีอะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจ 2. Breakaway Gap การกระโดดของราคาทั้งในทิศทางขาขึ้นและขาลง เรียกได้ว่าจะเกิดเมื่อมีการฟอร์มรูปแบบทิศทางของราคาที่ชัดเจนแล้ว และมีการกระโดดของ Volume เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ท...

Volatility Breakout System

Volatility คือ ค่าความผันผวนหรือค่าการแกว่งตัว โดยตามทฤษฏีหุ้นที่ได้รับความนิยม ราคาหุ้นจะมีความผันผวนและมีการเคลื่อนที่ไปมาเสมอ เราสามารถนำค่าความผันผวนมาใช้ในการกำหนดจังหวะการเข้าทำกำไรได้ โดยใช้หลักการการพิจารณาค่าความผันผวน ที่เกิดร่วมกับมิศทางแนวโน้มของราคาหุ้น และใช้การ Breakout กรอบของราคามาเป็นตัวยืนยันสัญญาณซื้อขายอีกชั้นหนึ่ง เครื่องมือที่นิยมตัวหนึ่งใช้ในการวัดค่าการผันผวนและใช้สังเกตการแกว่งของราคาคือ Bollinger Band(BB) เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ค่าสถิติของราคามาทำการเปรียบเทียบค่าการแกว่งตัว ณ ขณะเวลาต่างๆ โดยทำการสร้างกรอบของราคาที่แกว่งตัว เทียบกับเส้นค่าเฉลี่ยกลางเพื่อสะท้อนความผันผวนที่เกิดขึ้น  Bollinger Band ประกอบด้วยเส้นสำคัญทั้งหมด 3 เส้นคือแถบบน แถบกลาง และแถบล่าง โดยแต่ละเส้นมีการนิยามด้วยสมการคณิตศาสตร์ดังนี้  1.แถบบน(Upper Band) = SMA 20 วัน + Standard Deviation 20 วัน x 2 2.แถบกลาง(Middle Band) = Simple Moving Average (SMA) จากข้อมูล 20 วัน 3.แถบล่าง(Lower Band) =  SMA 20 วัน – Standard Deviation 20 วัน x 2  การนำไปใช้งานเราพิจารณาBand Width...

volume analysis

ด้วยอานิสงค์การลากดัชนี ด้วยเม็ดเงินมหาศาลจากฝรั่ง(ไม่รู้หัวดำ หัวทอง) ที่พาปู่ SET มาไกลทะลุ 1100 ทำเอาพอร์ตเล็กพอร์ตใหญ่เขียวไปตามๆกัน ใครที่มี Bigcap ก็ยิ้มออกหน่อย แต่ถ้านิยมสะสมหุ้นเล็กตามกระแส ก็อาจจะยิ้มไม่กว้างนัก แต่เอาน่ายังไงก็ยังยิ้มได้ หลายคนดีใจเพราะใกล้ลงดอย บางคนก็ผลตอบแทนของพอร์ตทำ new high แน่นอนว่ามีคนดีใจก็ย่อมมีคนเสียใจ อกหักจากการตกรถ เพราะล้างพอร์ตรอกะว่าให้ set หลุด 1000 แล้วไปรับแถว 920 คนกลุ่มนี้ก็อย่าคิดมากครับ วันพระไม่ได้มีหนเดียว โอกาสหน้ายังมี ขอให้เรียนรู้เป็นบทเรียน สิ่งหนึ่งที่จงตระหนักเถอะว่าราคาหุ้น มันคือเรื่องของอนาคต เราไม่สามารถเดาอนาคตได้ทางที่ดีคือหมั่นสังเกต และติดตามราคาอย่างใกล้ชิด เฝ้ารอพิจารณาหุ้นรายตัวที่มีการย่อพักฐานมาทดสอบแนวต้าน แล้วค่อยลงทุน ดีกว่าไปไล่หุ้นที่ปลายดอย ความเสี่ยงจะสูงกว่าครับ คุณภาพของแนวโน้ม ที่สำคัญเวลาเรามองกราฟราคา สิ่งที่ต้องมองให้ออก หรือตีให้แตก(ยืม ดร.นิเวศมาใช้หน่อยนะครับ) สำหรับการเก็งกำไรระยะสั้น ไม่ใช้แค่ตัวเลขราคา แต่สิ่งสำคัญนั้นคือ แนวโน้ม แนวโน้มหรือ Trend คือรูปแบบทิศทางการเคลื่อนตัวของราคาหุ้น ณ ก...

MT4: Update EOD

ขอเขียนถึงการใช้งานโปรแกรม Meta stock สักหน่อย เพราะผมว่าบางครั้งเรื่องราว พื้นฐานของการใช้งานโปรแกรมยังไม่ค่อยมีการเขียนถึง ในภาษาไทยให้อ่านได้อย่างง่ายๆ ด้วยเหตุที่ผมจำเป็นต้องใช้งานโปรแกรม เลยอยากจัดทำคู่มือฟังก์ชั่นการทำงานง่ายๆขึ้นมาเพื่อให้ท่านที่สนใจได้ศึกษาต่อไป ผมเองปกติต้องบอกว่าไม่ค่อยได้ใช้ Meta Stock สักเท่าไหร่ เพราะด้วยที่ชอบใช้ข้อมูล Real-time จึงใช้งาน Efinance ซะมากกว่า แต่ด้วยเหตุที่ว่าต้องทำการทดสอบ Trading Model ของระบบเทรดใหม่ ซึ่งปกติการทดสอบโมเดลแบบ Back Test และ Forward Test ผมจะเขียนโปรแกรมมาทดสอบกับข้อมูลเอง แต่ด้วยความลำบากและเสียเวลาในการ implement บาง indicator ที่ยุ่งยาก เลยคิดว่าใช้ Meta Stock จะดีกว่า ด้วย Meta Stock มีโมดูลที่สามารถให้ผู้ใช้งานเขียน script ด้วยภาษาที่มีไวยกรณ์เฉพาะ เพื่อเรียกใช้งานฟังก์ชั่นและเครื่องมือดัชนีต่างๆได้ง่าย ทำให้สะดวกมากในการทดสอบระบบเทรดที่ซับซ้อน โดยสามารถสร้างระบบเทรดผ่าน expert advisor ได้และทดสอบผ่าน enhanced system tester วันนี้จะเริ่มมาอัพเดตกระบวนท่าพื้นฐานที่ต้องใช้ใน Metastock นั้นคือการ Update ฐานข้อมูล...