ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ จิตวิทยาการลงทุน

ยิ่งเทรด ยิ่งกำลังเครียด ต้องระวัง

  ช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยก็ลงแรง(แค่ช่วง 3 วันดัชนี SET ลบไป -80 กว่าจุดจากความกังวลโอไมครอน), คริปโตก็ร่วงหนัก พอดีเจอคำถามเชิงปรึกษา ว่าจะทำยังไงดียิ่งเทรดยิ่งเครียด , บวกกับไปเจอโพสนี้ใน Pantip ผู้หญิงคนหนึ่งโพสถามว่า "เล่นหุ้นทำให้เครียดไหม" เพราะแฟนเธอดูเครียดมาก อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย หลังเริ่มต้นเข้ามาเทรดหุ้น ผมเลยนำประเด็นความเครียด มาคุยในหัวข้อ Q&A EP06 แชร์ประสบการณ์ตรงปัญหาความเครียด จากการเทรด ที่ผมว่าคนส่วนใหญ่ย่อมเคยเจอ พร้อมกับแนวทางในการรับมือและจัดการกับความเครียดให้ อยู่หมัด สนใจลองเข้าไปฟังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=M5NdVbpBaVc อ่านกระทู้ต้นทาง https://pantip.com/topic/41117969

Meditation 10 * 10

เทคนิค Meditation 10 * 10 ที่เมื่อวานได้แนะนำให้กับน้องเทรดเดอร์กลุ่มหนึ่งฟัง แนวคิดไม่ซับซ้อน เรากำหนดเวลา 10 นาทีก่อนเริ่มเทรด(ตลาดเปิด) และ 10 นาทีหลังเลิกเทรดจนการเทรดของวัน ในการนั่งสงบๆเพื่อฝึกสมาธิ ทบทวนจิต ทุกวันต่อเนื่อง การปฏิบัติไม่มีอะไรยาก ซึ่งสำหรับคนที่ไม่เคยทำ การนั่งนิ่งๆ 10 นาทีตามดูลมหายใจเข้าออกก็ไม่ง่ายเท่าไหร่ แต่ผลลัพธ์นั้นค่อนข้างดี เพราะช่วยทำให้ เราช้าลง นิ่งขึ้น โดยเฉพาะถ้าวันไหนเกิด Bad day เทรดไม่ดี ตลาดไม่เป็นดังใจ การทำสมาธิหลังจบวัน จะช่วยปรับให้เราช้าลง ลดการหมกหมุ่นจิตใจ ทำให้กลับไปใช้ชีวิตปกติ ประจำวันกับครอบครัว ได้ดีขึ้น ไม่จมอยู่กับการคิดถึง ผลกำไร ขาดทุน ตลอดวันที่ตื่น ซึ่งจุดนี้ อันตรายมากและส่งผลให้เกิดความเครียด และการกดดัน ปัจจุบันการฝึกสมาธิ กับ การเทรด เป็นเรื่องที่นิยมมากขึ้น เราจะเห็นจากใน youtube ซึ่งมีคำแนะนำจากเทรดเดอร์ประเทศต่างๆ รวมถึงมี เพลง หรือ เสียงประกอบ ช่วยการทำจิตให้สงบอีกด้วย ถ้าใครกำลังประสบปัญหา เรื่องการควบคุมอารมณ์ หรือความเครียดจากภาวะตลาดผันผวน ผมแนะนำให้ลองนำเทคนิคการฝึกสมาธิ 10*10 ของผมไปใช้ดูครับ

FOMO (Fear of Missing Out) Effect

เมื่อวานมี Message หลายอันเข้ามาถามประเด็น "ตกรถ" อารมณ์ประมาณ ถ้าซื้อหุ้นไม่ทันต้องทำยังไง? ผมเขียนบทความนี้ไว้เมื่อเดือนที่แล้ว(SET 1300 จุด) สำหรับน้องๆเทรดเดอร์ที่ฝึกด้วยกันอ่าน วันนี้นำมาแบ่งปันสำหรับท่านที่เผชิญปัญหาเดียวกัน 1. ตั้งสติ จัดการกับอารมณ์ก่อน - FOMO ตอนนี้เผชิญหลายอารมณ์มาก แตกต่างกันไปบ้างจะเครียด ผิดหวังเสียโอกาส, บ้างอิจฉาคนที่ได้กำไร,บ้างทุกข์เพราะตัดขาดทุนแล้วหุ้นดีดใส่หน้า ,บ้างโกรธโทษเซียนที่บอกให้รอมันย่อ -ดังนั้น ตั้งสติวางอารมณ์ไว้ข้างๆ ก่อนตัดสินใจเทรด ก่อนหาเหตุผลเข้าข้างให้รีบซื้อจากเทคนิคอล เช่น เบรก 10 week, เส้น EMA ตัดกัน(เพราะซื้อแบบไม่คิด พอ volatility เพิ่มสูงก็จะดอยจะป่วนหนักอีก) 2. วางแผน ตลาดวิ่งแรง ไม่มีเหตุผล นั้นปกติแต่ตัวเทรดเดอร์ต้องมีแผนมีเหตุผลในการเทรด ต้องรู้ว่าซื้อหุ้นเป้าหมายอะไร ถือสั้น ถือยาว จะเล่นรอบเก็งกำไร หรือจะเก็บปันผล ทุกอย่างต้องตกผลึก สังเคราะห์มาเป็นแผน เขียนใส่กระดาษ ให้ชัดก่อน 3. จัดการความเสี่ยง - จิตใจ: ตกรถแล้ว ต้องยอมรับให้ได้ ว่าคุณซื้อหุ้นหลังคนอื่น ต้นทุนสูงกว่าคนซื้อหุ้นตอน 1100 1200 แน่นอน - บริหารคว

Survivorship Bias

ชวนน้องๆและเพื่อนๆเทรดเดอร์ที่ฝึกเทรดด้วยกันมาคุยเรื่อง "การขาดทุนและล้างพอร์ต" เวลาเกือบ 2 ชม. หมดเร็วมาก ได้ถกหลายประเด็นและได้ข้อมูลปัญหามาสังเคราะห์ต่อมามาย เป้าหมายการสนทนาพยายามจะเข้าถึงสาเหตุ หรือผลของความผิดพลาด เพื่อหลีกเลี่ยง Survivorship Bias แต่คุยเรื่องนี้ไม่ง่าย เพราะมันเจ็บปวด มันผิดหวัง ทำให้เรามักเลือกที่จะลืมมันมากกว่า จนจำ เจ้า Survivorship Bias นี้เป็น Bias ที่น่ากลัว เพราะบางทีเรามองแต่ความสำเร็จ พยายามมองห าสูตรทำเงิน จนมองไม่ครบ ลืมคิดไปว่าวิธีเดียวกัน ระบบเดียวกัน มันไม่ได้จะ work กับทุกคน ทุกกรณี ทุกภาวะตลาด บางทีไปเอาแนวทางจากเซียน จากกูรู สมัยยุคอดีตมาใช้ ตลาดปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมเช่นเดิม ผลที่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะสำเร็จตามนั้นเหมือนกัน สุดท้าย ท้ายสุดบางทีการฟังคนที่ล้มเหลว คนที่ขาดทุนอาจจะทำให้เรามองเห็น แง่มุมบางอย่าง ที่จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ ในการพัฒนา ในการป้องกันข้อผิดพลาด เพื่อการอยู่รอดที่ดีขึ้นต่อไป

เมื่อเงินหายไป

เหมือนดังที่อธิบายเมื่อคืนว่า "การขาดทุน" ก็คือการสูญเสียเงิน นอกจากเงินทุนจะหมดไป ยังตามมาซึ่งผลกระทบต่อจิตใจ ต่ออารมณ์ ที่เราต้องมีระบบรับมืออีกด้วย คือต้องทำ loss manamgent (การจัดการหลัง position ขาดทุน) ควบคู่ไปกับ emotion management (จัดการกับอารมณ์ที่เกิด) เขียนถึงเรื่องนี้แล้วมันทำให้ผมนึกถึงงานทดลอง ของคุณ jack ที่เขาสอบถามคนจำนวน 600 กว่าให้มาโหวตว่า "ถ้าเงินที่เรามี(personal wealth) ลดลง 10 เท่า ตัวเลขยอดเงินเท่าไร่ที่จะมีผลกระ ทบต่อความสุขของเรา(personal happiness) มากที่สุด" ผลโหวตออกมาจากเงิน 1,000,000 ลดเหลือ 100,000 เป็นตัวเลขที่คนโหวตว่ากระทบต่อความสุขมากสุด จริงๆไม่มีข้อสรุปเป็นวิชาการ แต่มันสะท้อนให้เห็นว่า ยอดเงินมาก การสูญเสียเงินยิ่งมีผลกระทบต่อจิตใจ เพราะตัวเลขที่ loss ไปมันโต และมันชัด เช่น ถ้ามีเงิน 1 ล้านแต่ขาดทุนเหลือ 5 แสน เหมือนจะหายไปแค่ 500000 หรือ ครึ่งหนึ่ง แต่เงิน 5 แสนมันเกือบเท่าราคา iPhone11 pro จำนวน 10 เครื่อง ยิ่งคิดยิ่งเปรียบเทียบเชิงวัตถุ เราก็จะยิ่งเสียดาย และรู้สึกทุกมากขึ้นครับ สุดท้าย การเสียเงิน กับ อา

Halo Effect

เช้านี้ผมอ่านบทความ The Unspoken Behavioural Biases that Influence Professional Fund Investors ของคุณ Joe Wiggins ซึ่งเป็น Fund Manager ที่ Aberdeen Standard Investments ผมเป็นแฟนของเว็บไซต์เขาเขียนบทความเรื่องจิตวิทยาการลงทุนได้ดีหลายชิ้นมาก บทความนี้เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจเพราะเป็น bias ที่ทำให้นักลงทุนหรือนักเก็งกำไรผิดพลาด ขาดทุนนักกันมามากแล้ว โดยสรุปประเด็นหลักเชื่อมโยงกับ Halo Effect โดยเขาเอากรณีศึกษาของการลงทุนใน Fund การที่นักลงทุนโดนล่อตา ล่อใจจากของแถม จากก ารให้สิทธิ์พิเศษ หรือแม้การต้อนรับเอาใจจากตัวแทนขาย จน bias มาบดบังการตัดสินใจ แทนจะพิจาณา ราคาจาก value ของหน่วยลงทุนหรือการมองเรื่องของความเสี่ยงที่เกิดให้ครบถ้วน พูดง่ายๆเราใช้ gut บนความชอบพอแทนการตัดสินใจบนตรรกะความเป็นเหตุเป็นผล สุดท้ายนำมาซึ่งความผิดพลาด Halo Effect เป็น bias ที่บัญญัติโดยนักจิตวิทยาคุณ Edward Thorndike เขากล่าวถึงการเอนเอียงจากการตัดสินใจที่ถูกบดบังโดยลักษณะพิเศษ ในตลาดหุ้น ตลาดเก็งกำไร ประเด็น Halo effect นี้เกิดง่ายมาก เช่นการเราซื้อหุ้นตามคำชวนของมาร์เก็ตติ้งคนโปรด หน้าตาดี

วิธีรับมือกับ Fake News

มีคนถามว่าถ้าเทรดหุ้นไม่ต้องดูข่าว ไม่ต้องตามข่าวเลยดีไหม เพราะทุกวันนี้มีแต่ข่าวที่มี Bias หรือไม่ก็มีแต่ Fake News ตามสื่อออนไลน์เต็มไปหมด จะว่าไปมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีคนคิดแบบนี้ในปัจจุบัน แต่มันอาจจะไม่ใช่ทางออกเดียวเสมอไปครับ ถ้าเรามองโลกตามความเป็นจริงก็จะพบ สื่อทุกสื่อ ไม่ว่าจะออนไลน์ หรืออฟไลน์ ล้วนมี Agenda มีเกมส์การตลาด ที่แฝงมาในการนำเสนอข่าว นำเสนอความคิดเห็นได้ทั้งนั้น และมีมานมนานแล้ว แต่คนยังต้องเลือกติดตาม เพราะมันคือช่องทางในการอัพเดตข่าวสาร ติดตามการ เปลี่ยนแปลงที่เกิด สิ่งที่ทำได้คือต้องเพิ่มความฉลาดในกระบวนการรับรู้(Perception Process) ตั้งแต่การเลือกแหล่งที่มา ,การจำแนกข้อมูล(Data) ออกจาก ข้อคิดเห็น, การสอบทานด้วยการรับข่าวข้อมูลมากกว่าหนึ่งแห่ง จากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่ฟังหรือเลือกเชื่อจากบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเชื่อจากความคิดเห็นของบุคคลใดบุคลหนึ่ง กรณีเรื่องข้อมูลหรือความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาการ ความเฉพาะทาง ควรหาเอกสารวิชาการหรือตำราวิชาการ ประกอบ อ้างอิงความสมเหตุสมผล ภาพ Perception Process ถ้าใครเคยศึกษาเรื่อง

ฺBehavior technical analysis : Psychology101

ยุคปัจจุบัน การเรียนรู้มันไม่ได้จำกัดแค่ในห้องเรียนอีกต่อไป เรามี internet และมีเทคโนโลยี vdo online เข้ามาช่วย ผมพูดเรื่อง Psychology บ่อยในหลายตอน ความรู้พวกนี้นอกจากอ่านหนังสือ ก็มาจากการเข้าเรียนครอสออนไลน์ ทั้งฟรีและเสียเงิน เพราะมันจำเป็นต่อการเทรด ผมเล่าเรื่องงาน behavior technical analysis เรื่องนี้ก็ใช้ Psychology เยอะทำให้ผมเริ่มศึกษาจริงจัง ใครอยากศึกษา ผมมีครอสสัมนาฟรีของ udacity ที่ผมเรียนมาแนะนำ เข้าไป enroll ได้ฟรี สอนดีและเข้าใจง่าย แถมมันเป็น vdo ตอนสั้นๆทำให้เราแบ่งเวลาเรียนได้ง่าย ครอสนี้ผมเรียน 1 สัปดาห์ก็จบแล้ว(ถ้าขยันจริงๆหลักสูตรมันคือ 4 เดือน หรือ6hrs/week ) ต้องการหาความรู้เข้าไปเรียนได้ที่ https://www.udacity.com/course/intro-to-psychology--ps001

Karl Popper

ไม่ว่าจะอ่าน Reflexivity ของ George Soros หรือจะอ่าน Back Swan ของ Nassim Nicholas Taleb ก็หนีไม่พ้นที่ต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของ Karl Popper ที่เป็นฐานความคิดของทั้งสองปราชญ์แห่งโลกการเงิน นี้เสียก่อน  วันนี้เลยนั่งปัดฝุ่นเอาเรื่องของ Karl Popper มาอ่านไปเจอ vdo นี้อธิบายได้สั้นและเข้าใจง่ายดี เขาพูดเรื่องแนวคิดการวิทยาศาสตร์/วิทยาศาสตร์เทียมและการพิสูจน์ผิด (Falsification) เอามาแชร์สำหรับ น้องที่อยากศึกษาด้านนี้ ลองเริ่มดูจากนี้ก่อนนะครับ จากนั้นถ้าพอจะเข้าใจลองไปดู Open Society ต่อ https://www.youtube.com/watch?v=ztmvtKLuR7I

Mental Game

การเทรด หรือการเก็งกำไร ในสายตาคนทั่วไป หรือคนที่ไม่เคยสัมผัส มักจะไม่เข้าใจแก่นของมันเท่าไหร่ ทำให้ความเข้าใจผิด ยังมีอยู่มาก จำนวนไม่น้อย มองภาพการเก็งกำไรเป็นภาพลบ จนไปปะปนกับ การพนัน บ้างยอมรับได้ แต่ก็ยังไม่ลึกซึ้ง มองภาพการเก็งกำไร เป็นเพียงการซื้อๆขายๆ ให้ได้กำไรเป็นครั้งคราว ในความเป็นจริง การเก็งกำไร มันเป็นเกมส์ทางจิต หรือ Mental Game ที่เบื้องหลังมันมีอะไรมากกว่าการส่งคำสั่งซื้อขาย เทรดเดอร์ หรือผู้เล่นเกมส์นี้ ต้องเผชิญ เอาชนะโจทย์ทางจิตใจ เอาชนะการบีบคั้นทางอารมณ์  ดังนั้นเทรดเดอร์ แต่ละคน จึงมีทักษะ มีวิธีการเอาชนะ เพื่อเล่นเกมส์นี้แตกต่างกันไป ตรงนี้ต่างหากคือเคล็ดลับสำคัญ แต่ผมเชื่อว่า จำนวนไม่น้อย ยังคิดว่า เคล็ดลับของเทรดเดอร์อาชีพ คือเครื่องมือเทคนิคอล หรือสัญญาณซื้อขาย แท้จริงแล้วมันเป็นเพียง จุดเครื่องให้สัญญาณเข้าออก บนหลักความน่าจะเป็นเท่านั้นเอง  แต่มือใหม่ มือสมัครเล่น ต่างเชื่อมั่นและยึดมั่น เรื่องของเทคนิคอลมาก  และใช้มันด้วยความเชื่อ ตามๆกันไป เชื่อตามแหล่งที่เรียนมา หรือเชื่อตามผู้รู้กูรูต่างๆเขาใช้กันก็อยากใช้ตาม ปราศจากการทดสอบ

กว้างลึก :การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด

ทุกวันนี้นอกจากการเทรดประจำวันแล้ว งานหลักของผมก็เขียนบทความ วันละ 1 บทความเพื่อทบทวนตัวเอง และถ่ายความรู้เก่าออกไป  สิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องคือ "อ่าน" และ แลกเปลี่ยนความรู้ กับกลุ่มเทรดเดอร์ในห้องและบอร์ดต่างประเทศ เพื่อหาอะไรใหม่ๆมาเติม ใส่สมอง  ผมใช้หลักที่ว่า ความรู้ 100% ถ่ายทอดออก 50% หาใหม่อีก 50% ทำแบบนี้เราจะไม่หยุดกับที่ สนุกและบังคับให้ตัวเองพัฒนาไปเรื่อยๆ เพราะถ้าเราหยุด ไม่พัฒนาตัวเองจะโดนแซง และถูกกิน ในที่สุด ตลาดเก็งกำไร มันเป็นอะไรที่ dynamic มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผู้เล่นรายใหม่ กลยุทธ์ใหม่ๆ เข้ามาตลอด(จากกลุ่ม smart money)ผมเองเลยไม่ชอบ หยุดอยู่กับที่ หรือ รู้อยู่แค่นั้นและกอดวิชาหวงไว้จนตายแบบนั้น ดังนั้นในแต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน ผมจะมีอะไรที่เรียนรู้เยอะขึ้น  มีคนถามว่า รู้เยอะไปทำไม เมื่อใช้นิดเดียวก็พอ ใช้อะไรง่ายๆก็ได้ ไม่ใช่หรือ? คือถ้าเป็นมือใหม่ หรือ คิดจะทำอะไรเล็กๆไม่โต ไม่ขยายได้ครับ แต่ถ้าอยากเป็นมืออาชีพ อยากขยับขยายเติบโต การรู้อะไรที่หลายหลายและลึกซึ้ง มันจะทำให้เรามีทางเลือก ที่กว้าง มากขึ้น  เมื่อสถานการ

Emotion Support

นำประเด็นจาก งามสัมมนา  Mind over stock market  สัมมนาออนไลน์ฟรีที่ผมจัดให้กับเแฟนหนังสือ น้องท่านหนึ่ง เป็นเทรดเดอร์ฝึกหัดของสถาบันการเงิน ถามเข้ามาเรื่อง "เคล็ดลับการบริหารจัดการอารมณ์สำหรับเทรดเดอร์" ผมตอบไปยาวพอควรแต่มีประเด็นหนึ่งเรื่อง Emotion Support ผมว่ามันสำคัญ อยากเอามาอธิบายเพิ่มผ่านบทความนี้ให้ฟังกัน -------------------------- เรื่องที่ว่าสำคัญคือ คุณไม่สามารถเดินทางไปถึงเป้าหมายได้เพียงลำพังนะครับ การเรามี "ราก" มีตัวตนที่ชัดเจน แข็งแรง มุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อเอาชนะ ไปให้ถึงเป้าหมายนั้นดี แต่หนทางเดินไปข้างหน้า การประสบความสำเร็จ หรือจะเป็นนักเก้งกำไรที่อยู่รอดในตลาด มันไม่ได้ง่ายแบบที่เขาโฆษณากัน ไม่รวยในสามนาที ไม่สบายจากการนั่งตีเทรนด์ไลน์ ส่องกราฟหรือนับเวฟง่ายๆหรอกครับ เพราะการจะรอดจะสำเร็จ มันเกิดจากการวิจัย การทดลอง ลองผิดลองถูก ด้วยตัวเอง หาแนวทางหาวิธี หาระบบเทรด ที่เหมาะกับตัวเองให้เจอ ใครมีพื้นฐานความรู้เรื่องการทำระบบเทรดที่ดี หรือมีวิธีคิดที่ถูก ก็จะง่าย สามารถทดลอง วิจัยเก็บข้อมูลที่เกิดเป็นระบบได้ เอาไว้ใช้ใน

Defense Mechanism

จิตวิทยา ผมเองศึกษาเรื่องนี้ค่อนข้างเยอะ หลายคนอาจจะคิดว่าเทคนิคอลสำคัญ นับเวฟ ส่องกราฟได้แม่นๆนี่ดี แต่พอชั่วโมงบินเยอะ เทรดไปมากๆเหมือนผมคุณจะพบว่า การเพิ่มขีดความสามารถของตัวเรา หรือการทำให้เราอยู่รอด มันเป็นเรื่องของจิตใจ เป็นอันดับต้น มากกว่าการไปเดาราคา เดาอนาคต ส่วนตัวอยากใช้เรื่องพวกนี้มาสร้าง ระบบการฝึก เพื่อพัฒนาตัวเอง เพราะ หลายเรื่อง มันช่วยเราได้มาก โดยเฉพาะเทรดเดอร์ ที่ไม่ได้มีทุนรอน หรือมีโค้ชทางจิตบำบัดช่วย เหมือนเทรดเดอร์ของ firm ต่างประเทศ จิตวิทยา เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ เรียนรู้เพื่อเข้าใจ และใช้วางแผนรับมือ มันช่วยลดทอน ความเสี่ยหายได้มาก  วันนี้มาเล่าเรื่องจิตวิทยา เบื่้องต้นให้ฟังกันครับ พยายามไม่เขียนอิงวิชาการ เอาเรื่องเข้าใจง่ายๆ และลองยกตัวอย่างให้พวกเราได้เรียนรู้กัน ขอพูดถึง กลไกการป้องกันตัวเองทางจิต อธิบายง่ายๆคือ มนุษย์ อยู่รอดในสังคม ได้เราต้องแข็งแกร่ง ไม่ใช่แค่ร่างกาย จิตใจก็สำคัญ โดยเฉพาะยิ่ง สภาพสังคม สภาพสถานการณ์รอบตัวบีบคั้น ให้เจอความทุกข์ ความไม่สบายใจ จิตใจตัวเรา จะสร้างกลไกการปกป้องนี้ขึ้นมาทำให้เราเข้มแข็ง และเอาตัวรอด จากส

The psychology of trading

กำลังเตรียมนำเอาเรื่องจิตวิทยาการเทรดมาบรรยาย เลยเอาหัวข้อสัมมนา ในงานของ TEDx Talk มาเสริม คนพูดก็ไม่ธรรมดาเขาเป็น เทรดเดอร์ ผู้มากประสบการณ์ ที่เคยเขย่าโลก ด้วยออกมาเปิดโปงระบบผลประโยชน์ในโลกการเงิน และตลาดหุ้น แต่แน่นอนว่า คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่เชื่อในสิ่ง ที่เขาคิดนำเสนอ แต่เรื่องแบบนี้ บางครั้งคงต้องรอดูเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ประเด็นที่ Alessio Rastani พูดในงานนี้ดี ไม่ได้กล่าวลอยๆ เหมือนตอนไปออกรายการ BBC  วันนี้เขามาแนะนำ เรื่องของจิตวิทยา ที่มีผลต่อการตัดสินใจ และการหาจุดได้เปรียบ เรื่องนี้ คล้ายๆ โมเดล contrarian หรือเทคนิคการเข้าซื้อด้วย sentiment โมเดล มีตัวอย่างมาด้วย ผมว่าน่าสนใจดี เลยนำมาแนะนำต่อ  Alessio Rastani พูดหลายเรื่อง เขาโยงแนวคิดที่ว่า จริงๆ ตลาดหุ้น นั้นไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ระบบเศรษฐกิจ แต่มันคือเกมส์การเงิน ที่ชี้นำกันไปมา และเล่นกับการรับรู้ ตีความของ คน หรือนักลงทุนรายย่อยในตลาด  สรุปสาระคราวๆ คือ จุดซื้่อดีที่สุด คือจุดที่แย่ที่สุด จากปัจจัยภายนอก เชิงมหาภาค โดยเข้าซื้อภาวะเกิดการ panic การกลัว จนทำให้เกิดการถดถอยของราคาหุ้น (บนเงื้อนไขค