ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ความเสี่ยง

ทำไมการปกป้องผลกระทบเชิงลบจากความเสี่ยงจึงสำคัญ

ยังเจอความเชื่อประเภทที่ว่า พวกนักเก็งกำไร ชอบกำไรจึงชอบเสี่ยงแท้จริงแล้ว ถ้าอ่านเยอะๆ ศึกษาเยอะๆ จะพบว่าไม่มีอะไรไม่เสี่ยง ดังนั้นเหล่า Risk Taker ไม่ว่าจะเป็นนักเก็งกำไร(Trader) อาชีพที่ประสบความสำเร็จ, นักธุรกิจ และอื่นๆ คนเหล่านี้เขาชอบการเสี่ยง+ชอบความท้าทาย ซึ่ง Key สำคัญไม่ใช่การมโน การฝันถึงแต่กำไร แต่เป็นการปกป้อง Downside หรือผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากการเสี่ยงต่างหาก เพราะไม่มีใครจะรู้อนาคตแน่นอน ไม่มี sure thing ,ถูกทุกครั้งที่ตัดสินใจลงมือทำอะไร ,มันย่อมมีความโอกาสจะผิดพลาด นั้นหมายถึง ยังไงก็ตามมันย่อมมีความเสี่ยง ,แต่การไม่เสี่ยง(Risk aversion) ก็อาจจะหมายถึงการเสียโอกาส ,การไม่ได้รับผลตอบแทนที่ดี ดังนั้นจึงต้องกล้าที่จะเสี่ยง แต่ทุกครั้งที่จะเสี่ยง จำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงให้เป็น 1. ทั้งโอกาสที่จะผิดพลาด(%ความน่าจะเป็นในการแพ้) 2. และขนาดผลกระทบ(เช่น จำนวนเงิน $ ที่ขาดทุน)จากความผิดพลาด ประเมินให้ออกก่อนล่วงหน้าที่จะตัดสินใจลงมือทำ(เดินหน้าเข้าหาความเสี่ยง) นั้นคือสิ่งที่ คุณ Richard branson อธิบายไว้ว่ามันคือหัวใจของการเสี่ยงแบบมืออาชีพ , ถ้ามีข้อมูลพร้อม+เตรียมแผนกา

Big Mistakes: The Best Investors & Their Worst INVESTMENT

หนังสือเล่มนี้ไม่ได้สอนเรื่องการสร้างเงินสร้างผลตอบแทน แต่สอนวิธีการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่ทำให้ขาดทุน โดยผู้เขียนนำกรณีความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจริงในตลาดของนักลงทุนชื่อดังเช่น Warren Buffet, ,Benjamin Graham, Charlie Munger, Stanley Druckenmiller, Bill Ackman, Chris Sacca, Jack Bogle, Mark Twain และอื่นๆรวม 15 ท่าน มาให้เราได้เรียนรู้ ตั้งแต่สาเหตุของความผิดพลาด,กระบวนการลงทุนที่ผิดพลาด และวิธีการรับมือหลังเกิดความผิดพลาดแล้ว ซึ่งจุดนี้คุ้มค่าต่อการอ่านมากเพราะ นักลงทุนและเทรดเดอร์ชื่อดังเหล่านี้ ล้วนผ่านความผิดพลาดใหญ่ (บางคนไม่ใช่แค่ครั้งเดียว) แต่ก็ยังสามารถอยู่รอดมาถึงทุกวันนี้ได้ อ่านเล่มนี้จบ 16 บท จด Key รูปแบบความผิดพลาดไว้ Print out ติดผนัง โต๊ะเทรดไว้ คุณจะลดการขาดทุนได้ ไม่น้อยเลยครับ และที่สำคัญ มันการันตรีผล(ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็ไม่ขาดทุน)และใช้ได้ตลอดกาลไม่ว่า ตลาดจะเปลี่ยนไปยังไง ไม่เหมือนวิธีการลงทุนหรือวิธีการเทรด ที่อดีตกับปัจจุบัน อาจจะต้องปรับปรุงวิธีไปตามพฤติกรรมตลาด ผมรีวิวหนังสือเล่มนี้และสรุป Key takeaway ไว้เพื่อให้ท่านที่สนใจได้เรียนรู้ ลองเข้าไปฟังได้จาก link ด้

อย่าเพิ่งยอมแพ้ แม้ปีนี้จะขาดทุน

ปกติเราพูดถึงเซียนกูรูตามหน้าสื่อมักจะพบแต่เรื่องของความเทพความสุดยอด แท้จริงแล้วทุกคนย่อมเคยผิดพลาด เขียนบันทึกนี้ไว้เพื่อจะเตือนตัวเองให้ไม่ประมาท และ focus ไปที่การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถกันต่อไป บทความข่าวย้อนอดีตของ independent ที่เล่าถึงการขาดทุนใหญ่ ของคุณ George Soros โดยปี 1998 โซรอสมองว่าดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ จะปรับตัวลงและลงหนักทำให้เขา betting ทางนั้น ปรากฏว่าช่วงปลายปีนั้น ดัชนี DJ30 บวกเพิ่มกว่า 13% หรือ 1000 จุด ทำให้ soros ขาดทุนจากการ short positions ในตลาดฟิวเจอร์ (ตลาดมันถล่มหลัง bullish เพียงแต่มันเกิดปี2000 หลังจาก soros ทำนายและ Short 2 ปีถัดมา) เช่นเดียวกันมีการขาดทุนจากตลาด Hong Kong (รวมถึงมีข่าวว่าขาดทุนหนักอื่นๆระดับ 2 พันล้านเหรียญ แต่ตัวเลขนี้ไม่มีการออกมายืนยัน) ปีนั้นเรียกว่าเป็นปีที่ยากลำบากของ soros fund ซึ่งมีการชี้แจงในจดหมายถึงผู้ร่วมลงทุน soros ยังมีการแจ้งพิเศษกับนักลงทุนรายใหญ่ของฟันด์ว่า ลาพักชั่วคราว ("taking a temporary medical leave of absence") แหล่งข่าวอย่างคุณ Nicholas Roditi ผู้ลงทุนในกองทุน Quantum Fund ออกมายืนยันโดยระบ

Multi-Strategies

แนวคิด Multi-Strategies มีการใช้มานาน มีหลาย paper หลายบทความให้เราศึกษา อย่างผมใช้ Robot trading ทำให้ง่ายต่อรันหรือเทรดด้วย หลายกลยุทธ์ ในพอร์ตเดียวกัน แต่ไอเดียหลักคือการ diversify ไม่ใช่แค่ asset class แตกต่าง แต่เราสามารถกระจาย trading strategies ที่หลากหลาย ในช่วงเวลาเดียวกัน สินค้าเดียวกัน(หรือแตกต่างกัน) เพื่อดีลกับ Risk Factor ในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งสัจจะธรรมคือ แต่ละกลยุทธ์ล้วนมีข้อจำกัดและมีจุดเด่น ที่ตอบสนองได้ดีในภาวะตลาดแตกต่างกัน Key คือการบริหารจัดการให้เกิดประสิ ทธิภาพเพื่อให้เกิด Alpha กรณีเทรดเดอร์ ที่เทรดด้วยมือเทรดเอง ก็สามารถใช้ Multi-Strategies ได้ เพียงแต่ปรับช่วงเวลา หรือ Time Horizon ของกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับ การเทรดเข้าออกของเรา แต่ต้องอิงกับ Basic การบริหารเงินที่เหมาะสม + การพัฒนาระบบเทรดแต่ละกลยุทธ์ให้มั่นใจว่ามันรอดจริงๆก่อน ภาพเป็น paper ของ algoanalytics เฟริ์มอินเดียเจ้าหนึ่งที่ทำ Quantitative Trading แทนจะเน้นไปที่ Trend หรือ Momentum Factor อย่างเดียว เฟริ์มนี้ มองหา Investment Idea และรันกลยุทธ์แบบหลากหลายตามแผน โดยจัดสรรน้ำหนักของเงินทุน ลงในแต่ละกลยุทธ

ปัญหา Low interest rates

ตอนนี้กำลังวางแผน หาที่พักเงิน สู้กับ ช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ(low interest rate) อ่านเจอหลายบทความหลาย paper สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือความเป็น New Normal ในตลาดตอนนี้ ที่กูรูฝรั่งบอกว่าปัจจุบัน อาจจะไม่มี Safe Haven อีกต่อไป ไม่ว่าจะ Bond หรือ Cash (สกุลต่างๆ) ล้วนเผชิญกับแรงกดดันและความผันผวนที่เกิด ในช่วง covid-19 จากบทความของคุณ Ben Carlson เขานำเสนอข้อมูลพันธ์บัตรและดอกเบี้ยจากอดีต สิ่งที่น่าสนใจจะเห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง จากเดิมเชื่อ 10ํY Gov Bond จะสู้ Bear Market ได้ แต่หล ังจาก 2008 การทำ QE และการลดดอกเบี้ยของ Fed ทำให้ เกิดผลกระทบต่อพันธ์บัตร ดังภาพปี 2020 ตลาด Bond ผันผวนและ 10Y Yield อยู่ที่เพียง 1.6% อาจจะสูงถ้าเทียบอัตราดอกเบี้ยที่ 0 แต่ต่ำมากเมื่อเทียบกับ Bear Market ในอดีตที่นักลงทุนสามารถนำเงินไปหลบ เช่น 1987 Great Depression ที่ 8.8% หรือช่วง Subprime crisis ที่ 4.5% ซึ่งตารางที่ 2 แสดงให้เห็น แม้จะมีเงินออม $1 Million เพื่อเก็บสะสมใน 10 year treasuries ผลตอบแทนรายปี ต่ำลงมากจนเรียกว่า แทบจะไม่พอกับค่าใช้จ่าย หรือจะใช้พึ่งพาเพื่อดำรงชีวิตหลังเกษียณเลยทีเดียว

Rogue Trader 2019, บทเรียนเตือนใจของเทรดเดอร์

-เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Mitsubishi UFJ บริษัทแม่ของ Petro-Diamond Singapore รายงานแถลงข่าว กล่าวโทษการขาดทุนครั้งใหญ่ จาก rogue trader ที่ทำการเทรดสัญญาอนุพันธ์น้ำมันโดยไม่รับการอนุญาต ปลอมแปลงรายการเทรดโดยละเมิดกฏ risk-management ของบริษัท -การเทรดไม้ใหญ่ ใน derivatives ทำให้เกิดการขาดทุนมหาศาลจากสัญญาอนุพันธ์น้ำมันจำนวน 320 ล้านเหรียญ -ธนาคารไม่ระบุชื่อเทรดเดอร์ รายละเอียดเบื้องต้นเป็นชาวจีน เริ่มท ำงานปลายปี 2018 กับบริษัทลูก Petro-Diamond Singapore ดูแลการเทรดน้ำมันให้กับบริษัทลูกค้าในจีน บริษัทได้ทำการไล่เทรดเดอร์ออกทันที พร้อมตรวจสอบรายการเทรดทั้งหมดและกำลังดำเนินคดีทางกฏหมาย - บริษัทระบุเทรดเดอร์คนนี้เคย เทรดสถานะสัญญาอนุพันธ์น้ำมันโดยไม่รับอนุญาตมาก่อนช่วงต้นปี แต่ด้วย การขาดทุนที่ไม่มากทำให้ตรวจไม่พบ มีการรายงานการขาดทุนตั้งแต่ช่วงเดือน july ราคาน้ำมันปรับตัวลงหนัก จนผิดสังเกตและตรวจพบความผิดปกติในช่วงเดือน August เมื่อมาเกิดเหตุกรณีซาอุที่ราคาน้ำมันผันผวน โดดวิ่ง +20% ในวัน ทำให้ สถานะที่เทรดเดอร์ขาดทุนจำนวนมาก ทาง PDS ทำการปิดสถานะของสัญญาทั้งหมด - นักวิเคราะห์มองว่

Robert Carver , systematic trader

Robert Carver ปัจจุบันเป็นนักเขียน เป็น systematic trader และเป็นนักวิจัยพัฒนาระบบ เทรด เขาเริ่มต้นเขาสู่โลกการเงินตั้งแต่ปี 2002 เขาเรียนจบปริญญาตรี โท ด้านเศรษฐศาสตร์ เข้าทำงานกับ  Barclays Capital เทรดสินค้า exotic derivatives  จากนั้นลาออกมาทำงานเป็นนักวิจัยที่ Center of Economic Policy Research แล้วย้ายมาทำงานให้กับ MAN AHL  ซึ่งเป็น Hedgefund อันดับต้นของโลก เขาทำพัฒนาระบบเทรด fundamental global macro strategy จากนั้นขยับขึ้นไปบริหารพอร์ตลงทุนระดับพันล้านเหรียญในสินค้าประเภท fixed income  จนปี 2013 เขาลาออกจาก MAN AHL เพื่อใช้เวลาอยู่กับครอบครัว และใช้เวลาการพัฒนาระบบเทรด เพื่อเทรดและบริหารเงินของตัวเอง ปี 2015 ออกหนังสือชื่อ Systematic Trading: A unique new method for designing trading and investing systems  คลิป interview ของรายการ bettersystemtrader นี้สัมภาษณ์ Robert Carver หลายประเด็นที่น่าสนใจโดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาระบบเทรด ผมสรุปประเด็นหลักๆดังนี้ > เขาเป็น systematic trader เชื่อว่า มนุษย์มีข้อจำกัดด้านอารมณ์และการตัดสินใจ ระบบเทรดช่วยตรงนี้ได้ > การพัฒนาร

เก่งขึ้นทุกวัน

เก่งขึ้นทุกวัน "เวลา" คือข้อจำกัด และอุปสรรคในการเรียนรู้ โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานประจำ หรือมีภาระกิจครอบครัวต้องดูแล บ่อยครั้งทำให้ เจอกับประเด็นที่ว่า อยากเก่งแต่ไม่มีเวลา คำแนะนำของผมสำหรับพวกเราที่เจอปัญหานี้อยู่คือ ลองวางแผนบริหารจัดการเวลาของเรา ใช้หลักการสร้าง slot เวลาในการเรียนรู้ ไม่ต้องมาก 5 - 15 นาที แต่ทำให้ได้ ทุกวัน เพราะการทำให้ได้ทุกวัน จะสร้างนิสัย สร้างความเคยชิน ที่อยากเรียนรู้ อยากฝึกฝน ทำให้เกิดโมเมนตัมในการพัฒนาตัวเองระยะยาว เราไม่จำเป็นต้องไปใช้ระบบการเรียนรู้แบบอดีต สไตล์ระบบตัดเกรด ที่ต้องแข่งกันเป็นที่หนึ่ง พยายามเก่งกว่าคนอื่นๆเสมอ เพื่อพิสูจน์ความสามารถตัวเองตามกรอบมาตรฐานที่คนอื่นกำหนด เพราะ ถ้าเป้าหมายการเรียนรู้ ฝึกฝน ในด้านทักษะการเทรด การลงทุน เราทำเพื่อชีวิตของตัวเราเอง สิ่งสำคัญต้องตอบโจทย์ชีวิตตัวเราเป็นหลัก ไม่ใช่หมกหมุ่น ทำแล้วไม่มีความสุข ชีวิตไม่ลงตัว ไม่มีเวลาดูแลครอบครัว แบบนั้นก็เรียกว่าไม่เกิดประโยชน์ระยะยาว และสิ่งสำคัญ ต้อง work life balance ไม่ใช่เน้นจะเอาแต่สร้างเงิน สร้างกำไร พยายามจะเก่ง จะเหนือกว่าคนอื่น แต่ชีวิตไม่มีค

บันทึกเรื่องกรีซและวิกฤติหนี้ยุโรป

รอบนี้เป็นรอบที่สาม นับตั้งแต่ควันของวิกฤติหนี้สินภาครัฐของกรีซเริ่มปะทุขึ้น ซึ่งส่งผลไปสู่ตลาดหุ้นทั่วโลกเพราะกรีซเป็นหนึ่งในชาติสมาชิกของ EU ด้วยความคิดที่จะโตไปพร้อมกัน โตไปอย่างมั่นคงและยิ่งใหญ่ กลับกลายเป็นดาบสองคมเมื่อยามเกิดวิกฤติ ซึ่งสาเหตุหลักๆก็คือการที่ประเทศในกลุ่ม PIIGS (Portugal, Italy, Ireland, Greece และ Spain) กำลังเผชิญปัญหาหนี้ภาครัฐที่สูงมาก ในขณะเดียวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการเติบโตของ GDP กับสวนทางกับหนี้สิน ทำให้เกิดปัญหาลุกลามทั้ง เจ้าหนี้และลูกหนี้ของแต่ละประเทศ ทำให้กลายเป็นปมปัญหาที่ต้องรอการแก้ไข ตัวละครตัวแรกที่เปิดฉากวิกฤติครั้งนี้ก็คือ กรีซ ประเทศของเทพเจ้ากรีกโบราณ ประเทศที่ดูหรูหรา คลาสิก แต่ตอนนี้กำลังเหลือแต่เปลือกรอวันแตกสลาย เพราะการที่ EU และ IMF ยื่นมือมาช่วยเหลือทั้งการประนอมหนี้ การสลับสนุนเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้รัฐบาลเพื่อช่วย นำมาใช้จ่ายในค่าสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเบี้ยงเลี้ยงและเงินเดือนแก่พนักงานของรัฐ แลกกับการทำตามแผนการลดหนี้ ซึ่งต้องบังคับให้ประชานรัดเข็มขัด ตัดสวัสดิการประชาชน ตัดเงินช่วยเหลือต่างๆ และขูดรีดภาษีเพิ่มแบบมห

ความเสี่ยง มือสังหารที่ไร้ความปราณี

เราอยู่บนโลกของการลงทุน ความเสี่ยงน่าจะเป็นเพื่อนสนิทที่เราต้องเจอและต้องทำความรู้จักกับมันให้มากๆ เพราะถ้าเราไม่สนิท ไม่รู้จัก หรือประมาท ดูเบามัน วันหนึ่งความเสี่ยงก็จะเข้ามาทำร้ายเรา และนำเราไปสู่ความหายนะได้ ไม่ว่าเราจะคิดว่าตัวเองเก่งแค่ไหน หรือจะมีเครื่องมือวิเคราะห์ดีเท่าใด ถ้าเราไม่สามารถรับมือและควบคุมความเสี่ยงไว้ได้ ก็ไร้ประโยชน์ ปลายอาทิตย์ที่ผ่านมา ข่าวที่ใหญ่ที่สุดข่าวหนึ่งของแวดวงการเงินโลก คงหนี้ไม่พ้นเรื่องการขาดทุนแบบไม่คาดฝัน ของ JP Morgan (JPM) ที่มากถึง สองพันล้านดอลล่าห์สหรัฐ( $2 billion) เงินจำนวนมหาศาลที่ขาดทุนจากลงทุนภายในระยะ 6 สัปดาห์บนตราสารอนุพันธ์ จาก hedging mechanism ของฝ่าย proprietary trading ที่ห้องค้าลอนดอนโดยทาง CEO ยืนยันว่าไม่ใช้ rogue trader หรือการทุจริตแต่อย่างใด การขาดทุนเสียหายจากโมเดลการลงทุนที่ซับซ้อนในช่วงตลาดผันผวนแต่ขาดการดูแลความเสี่ยงให้ดีพอ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ เพราะโลกนี้มันไม่มีอะไรที่แน่นอนเราไม่สามารถคาดเดาอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้ การลงทุนไม่ว่าจะสั้นหรือยาว นั้นก็เป็นการเสี่ยงบนความน่าจะเป็น ที่มีโอกาสผิดพลาดเสมอ ความเสี

เรียนหุ้นจากหนัง: ท็อป ซีเคร็ต วัยรุ่นพันล้าน

TOP SECRET วัยรุ่นพันล้าน เรื่องนี้เป็นหนังที่สร้างแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี จากเค้าโครงเรื่องจริงของเจ้าของธุรกิจสาหร่ายทอดกรอบ "เถ้าแก้น้อย" นักธุรกิจหนุ่มเศรษฐีพันล้าน ที่มุ่งมั่นเอาชนะความยากลำบากและการปลดหนี้ให้กับครอบครัว จนสามารถสร้างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จขึ้นมาได้ จากหนี้ 40 ล้านกลายเป็นนักธุรกิจอายุน้อยที่มีเงินเป็นพันล้าน เป็นหนังไทยที่คนจะทำธุรกิจหรือจะลงทุนควรหามาดูเป็นอย่างยิ่งครับ ผมชอบการเดินเรื่องของหนังเรื่องนี้เป็นหนังแนวเล่าเรื่อง ที่ใช้ตัวเอกเดินเรื่องราวต่างๆผ่านการเล่าอดีต ความสนุกอยู่ที่การฝ่าฝันและการเอาชนะอุปสรรค์ ของ ต๊อบ อิทธิพัฒน์ ที่เรียกว่าเริ่มมาจากศูนย์เลยทีเดียว แต่ด้วยความมุ่งมั่นเอาชนะและมีหัวพ่อค้าทำให้เกิดเรื่องราวสนุกๆ ขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่นการขาย item จากเกมส์ ที่สร้างรายได้ให้เด็กติดเกมส์อย่าง ต๊อบได้มีรถเก๋งขับไปโชว์สาวที่โรงเรียน  ต๊อบเป็นอีกตัวอย่างของ คนที่ไม่ได้เน้นการศึกษาในระบบ ไม่ได้เอาดีหรือเป็นเลิศในการเรียนด้วยเกรดสวยหรู แต่เป็นการเอาดี เอาชนะ จากแห่งโลกจริง ด้วยเหตุผลที่ทางบ้านเป็นหนี้ ล้มละลาย จนพ่อแม่ต้อ

เรื่องค่า Beta

บ่อยครั้งที่หลายคนอยากรู้ว่า หุ้นตัวที่ตนเองสนใจนั้นมันน่าที่จะเข้าไปลงทุนแล้วหรือยัง แน่นอนว่าถ้ามีเครื่องมือ ดูจังหวะจากกราฟได้ก็คงไม่ยาก แต่ถ้าไม่ใช่แนวเทคนิคจ๋า แต่อยากเลือกหุ้นเพื่อลงทุนยาว โดยมองหาจังหวะดีๆ ผมมีอีกหนึ่งค่าที่ใช้ประมาณการคราวๆได้มาแนะนำ ค่าที่ว่าคือค่าเบต้า(Beta) นั้นเองครับ เบต้าที่ว่าไม่ใช่ครีมทาหน้าแต่อย่างใด แต่มันคือ ค่าสัมประสิทธ์ตัวเปรียบเทียบระหว่างหุ้นกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์(SET) เพื่อดูแนวโน้มอย่างไร ซึ่งมีที่มาจากสมการเส้นตรงบนระบบสมการแบบ linear system equation แน่นอนว่าท่านสามารถคำนวนได้เองจากโปรแกรมคณิตศาสตร์เช่น Matlab หรือจะคำนวณแบบอเรย์เพื่อหาจาก Gauss-Elimination ด้วยมือก็ได้ ที่ชี้ประเด็นนี้เพราะจะบอกว่ามันคือคณิตศาสตร์ ราคาหุ้นก็คือข้อมูล ชุดตัวเลข อย่าไปมองว่าเป็นไสยศาสตร์หรือโชคลางแต่อย่างไร ง่ายไปกว่านัั้นแบบทั่วไปท่านสามารถอ่านค่านี้ได้จากตารางหุ้นในหนังสือพิมพ์ หรือจะดูจากโปรแกรมเทรดหุ้นเช่น efinance ก็ได้ สมการ y = a + bx เมื่อ y คือ ราคาหุ้น x คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ a คือ ค่าอัลฟ่า (alpha) b คือ ค่าเบต้า (beta) หรือคือค่าความชันของสมการ