ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Principles for dealing with the changing world order

 ได้อ่านหนังสือ Principles for dealing with the changing world order ของ คุณ Ray dalio อยากเขียนบันทึกไว้ ถึงประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับวงจร The Big Cycle ที่นิยาม state การเติบโต ,รุ่งโรจน์สูงสุดและถดถอย (อำนาจและเงินตรา)ของจักรวรรดิต่างๆ เช่น Dutch , British , U.S. , China , Japan , Russia เป็นต้น

โดยเฉลี่ยของจักรวรรดิราวๆ 250 ปี และมีช่วงเวลาซ้อนทับเปลี่ยนผ่าน 10 ปี, หนังสือโฟกัสที่ปัจจุบันด้วยกับการต่อสู้ระหว่างมหาอำนาจเก่ากับใหม่และการเปลี่ยนอำนาจที่กำลังเกิดจาก US ไปสู่ China
ตัวชี้วัด 8 ตัวที่เขาใช้ในการศึกษา ติดตามวงจร The Big Cycle ทั้ง 3 ช่วง(The Rise, The Top และ The Decline ) ของแต่ละจักรวรรดิหรือประเทศ ก็น่าสนใจ ได้แก่
1 การเป็นศูนย์กลางทางการเงินและเศรษฐกิจ (Markets & Financial Center)
2 นวัตกรรมและเทคโนโลยี (Innovation & Technology)
3 การศึกษา(Education)
4 กำลังทหาร (Military Strength)
5 ความสำคัญของสกุลเงินในฐานะเงินทุนสำรอง Reserve Currency Status
6 ผลิตผลทางเศรษฐกิจ Economic Output
7 ส่วนแบ่งการค้าขายในตลาดโลก Trade Strong
8 ความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก Cost Competitiveness
ซึ่งทั้ง 8 ด้านตัวชี้วัด ก็สัมพันธ์กัน การเพิ่ม/ลด ด้านหนึ่งก็จะกระทบทำให้การเพิ่ม/ลด ไปด้วยกันที่ทำให้เกิดการเติบโตและถดถอยได้
นอกจากการลุ้นว่าจีน จะชนะสหรัฐกลายเป็น New world order ได้หรือเปล่า ส่วนตัวผมคิดว่า 8 ตัวชี้วัด เราใช้ประเมินประเทศต่างๆว่าแข็งแกร่งขนาดไหน ในการวางแผนลงทุนในตลาดหุ้น, กองทุน หรือ การเทรดค่าเงิน ได้ เช่น เปรียบเทียบประเทศที่เราจะนำเงินไปลงทุน เพื่อดูความโดดเด่นได้เปรียบในการอนาคต




รวมไปถึงการพิจารณาในด้าน state ของประเทศนั้นๆ ว่าจะเติบโต หรือถดถอย ซึ่งบางประเทศ การเมืองคงที่ได้ไม่นาน แต่กลับกำลังเข้าสู่ state การถดถอยอย่างหนักแล้วก็มี , บางประเทศในกลุ่ม EM อาจจะเป็นดาวรุ่งในอนาคต ต่อไป



ถ้าใครไม่ชอบอ่านหนังสือ ลองชมคลิปสรุป "Principles for Dealing with the Changing World Order by Ray Dalio" กราฟฟิกสวยๆ ได้ครับ ยาวราวๆ 43 นาที

Principles for Dealing with the Changing World Order by Ray Dalio