บนโซเซียลมีเดีย เรามักจะเห็นแต่การอวดโชว์กำไรจากการเทรดหุ้น, ค่าเงิน, เหรียญ crypto currency จนบางทีมันทำให้เรารู้สึกยิ่งอยากได้กำไร ,ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเราไม่เก่ง ไม่ดี เมื่อต้องขาดทุน , อยากฝากเอาไว้ว่าอย่าไปหลงกับมโนคติและการตลาดเช่นนั้นครับ เพราะเกมส์การเก็งกำไร ไม่มีใครถูกได้ทุกครั้ง ไม่ใครไม่ขาดทุน สำคัญคือขาดทุนแล้วเราจะรับมือกับมันอย่างไร , การติดกับกำไร บางทีมันก็พาเราไปสู่ dark side ได้ง่ายๆ
วันนี้นำตัวอย่างการขาดทุนที่พาไปสู่หายนะของ Alexis Stenfors อดีต currency trader ของ Merrill Lynch มาฝาก จากดาวรุ่งมือหนึ่งของบริษัทกลายเป็นตำนาน rogue trader หลังจากตอนปี 2009 เทรดผิดพลาด ทำให้สูญเสียเงินจำนวน 456ล้านเหรียญ
ด้วยประสบการณ์ เทรดและเพิ่งผ่านพ้นการทำกำไรระดับ 7 หลักได้มาจากปีก่อนหน้า ทำให้ประมาทต้องการทำเงินเพิ่มมากขึ้น บวกกับความเชื่อว่า ตัวเขาสามารถอ่านและทำนายทิศทางตลาดได้ ทำให้ Stenfors เทรดแบบ ประมาท over trade เขาเปิด Position ขนาดใหญ่หวังทำเงิน แล้วขาดทุนก็ พยายามกลบตกแต่งบัญชีเทรด โยกเงินมาเทรดเพิ่มทำให้สุดท้ายขาดทุนรวมกันมูลค่า $100m และความผิดพลาดทำให้เกิดการขาดทุนครั้งใหญ่เมื่อความแตก เขาก็โดนไล่ออก
การขาดทุนครั้งนั้นทำให้ เขาโดนแบนจากโลกการเงิน 5 ปี เขาทนทุกข์จากความเจ็บปวด ผิดหวังและ อับอายที่โดนสื่อกล่าวโทษว่าเป็น rogue trader ต้องเขาพบจิตแพทย์ เพื่อบำบัดอาการเครียด ซึมเศร้า ถึง 2 ปี หลักจากนั้นเขาก็ลุกขึ้นอีกครั้ง กลับเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยจนจบ PHD และเริ่มทำงานเป็น อาจารย์ ด้าน เศรษฐศาสตร์และการเงิน ที่ Portsmouth University
เขาออกหนังสือ ชื่อ "Barometer of Fear" เขาถ่ายทอดประสบการณ์การเป็น currency trader ในสถาบันการเงินขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องราวของ ความเครียด ความกดดัน และ ความเลวร้ายจากการขาดทุนที่ต้องเจอ
โดย Stenfors เปรียบเทียบ อาชีพเทรดเดอร์ว่าเหมือนกับการทำงานใน nuclear reactor ที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย เครียดและพร้อมจะระเบิดได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีภาวะการกดดันจาก การแข่งขัน ผู้บริหารบริษัทกระตุ้นให้ทำเงินตลอดเวลาเพื่อสร้างผลงาน รวมถึงการลงโทษเช่นการไล่ออก หรือเสนอให้ย้าย กรณีเทรด เดอร์ทำผลงานไม่ดี
บริษัทพยายามกดดันและจูงใจให้เทรดเดอร์ทำเงินมากๆ ด้วยข้ออ้างที่ว่า รีดศักยภาพ แต่เมื่อขาดทุน หรือผิดพลาดก็ต้องโดนลงโทษ และกลายเป็นแพะรับบาป ซึ่งเขาพยายามถ่ายทอดให้เห็นว่า การเป็นเทรดเดอร์สถาบันการเงินใหญ่ ไม่ได้มีแต่ด้านบวกเหมือนที่หลายคนคิด นอกจากนี้หนังสือของเขายังเปิดประเด็นช่องทางการเอาเปรียบและการฉ้อโกง บิดเบือนตลาด Libor และ foreign currency
เรื่องราวพวกนี้น่าสนใจ เพราะเราได้เรียนรู้จาก ผู้แพ้ ได้เห็นอีกด้าน ที่แท้จริงของตลาด ดีกว่าฟังเรื่องแฟนตาซีที่มีแต่ด้านบวก ทำเงินง่าย มากมายมหาศาล หลายแสน หลายล้านเหรียญ จากตลาดอย่างเดียว