ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Commodity Super Cycle

เมื่อวานมีน้องเทรดเดอร์ คนหนึ่งถามเรื่องการลงทุนระยะยาวในสินค้าคอมโมดิตี้ ผมเลยเอาบทความ Commodity Super Cycle นี้มาแบ่งปันให้ลองอ่านเพิ่มเติม โดยสรุปมีใจความหลัก
-สินค้า commodity มีหลายประเภท และมีลักษณะของ Cycle และรูปแบบของราคาที่แตกต่างกันไป
-ราคาของ สินค้า commodity แปรผันตาม Demand และ supply ที่เกิดในช่วงเวลาใดๆ ซึ่งหลายชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภค จะมีความสัมพันธ์กับ ภาวะเศรษฐกิจ
-บทความนี้จำแนกการแกว่งของ cycle เป็น 2 แบบคือ upswings และ downswings.
- upswings รอบการการแกว่งขาขึ้น ที่มาจาก demand ที่มากกว่า supply
- downswings รอบการการแกว่งขาลง ที่มาจาก supply ล้นมากกว่า demand ในตลาด
-ภาวะราคาสินค้า commodity ปรับตัวเป็น cycle หรือการ swing เพราะเมื่อมี demand มาก เวลาผ่านไปผู้ผลิตมีการปรับตัวเพิ่ม supply เข้ามาในตลาด หรือความต้องการซื้อจากปัจจัยเร่งหรือภาวะทางอารมณ์หายไป จุดนั้นราคาจะมีการปรับตัว ลดลง เป็นต้น




-ในคาบเวลาระยะยาว การนิยาม Commodity super cycles สามารถใช้โมเดล Bank of Canada Commodity Price Index (BCPI) เพื่อติดตามภาพใหญ่ โดยคำนวณจากราคา Commodity แบบ spot price จำนวน 26 สินค้าที่ผลิตใน canada และส่งออกขายในตลาดโลก ครอบคลุมสินค้า เช่น Energy,Metals and Minerals,Forestry,Agriculture,Fisheries
- จากภาพกราฟ BCPI พบว่า ปัจจุบัน(1996 – Present) ตลาด commodity อยู่ช่วง 4th super cycle ซึ่งกินระยะเวลา 16 ปีกว่าในการปรับตัวขึ้น โดยรอบนี้มีอิธิพลตัวเร่งจากการขยายตัวเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศจีน


-รอบ 4 มีจุด peak ช่วงปี 2011 หลังจากนั้นราคา commodity มีการปรับตัวถดถอยลง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตร และพลังงาน
- การเติบโตเศรษฐกิจ, อุตสาหกรรม,เทคโนโลยี, จำนวนประชากร, สภาพภูมิอากาศ, ปัญหาโลกร้อน ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อ demand, supply ของราคาคอมโมดิตี้
- ในภาพข้อมูลถึงปี 2016 ไม่ได้ร่วมช่วงเกิด covid-19 แต่สามารถเข้าไปดูข้อมูล BCPI ใหม่ประกอบได้