ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2020

Consistency Is King

วันนี้มีน้องเทรดเดอร์ เขียนเมลมาถามถึงเรื่องของเครื่องมือเทคนิคอลและการอ่านกราฟสำหรับการเทรด FX แต่จริงๆแนะนำว่า ระบบที่ดีไม่ใช่ระบบที่ถูกต้อง 80-90% อะไรแบบนั้นเพราะสุดท้ายมันไม่มีเครื่องมือหรือโมเดลอะไร จะไปจับทางตลาดได้เช่นนั้น แต่ระบบเทรดที่ดี บางทีอาจจะมีความถูกต้องระดับหนึ่ง แต่มีความน่าเชื่อถือหรือทำกำไรได้ต่อเนื่องบนความเสี่ยงที่จำกัดได้ ก็ถือว่า OK แล้ว เริ่มต้นลองฝึกเทรดจากระบบที่ simple บนขนาด position size ที่เล็ก เพื่อลดผลกระทบจาก การขาดทุน และทำให้เรากล้าตัดสินใจ(ไม่จิตตกมาก กรณีที่ขาดทุนหนัก) รวมถึงทำให้เรามี เงินทุน ในการเทรดได้ยาวนาน อย่าไปรีบกอบโกยในช่วงแรก เพราะสุดท้ายทำให้ over trading แล้วล้างพอร์ตหมดตัว อย่างในภาพตัวอย่าง ผมพัฒนาระบบเทรด เทรดมาแล้วกว่า 5 ปี(ผ่านทุกภาวะแนวโน้มตลาด อย่าปี 2019 2020 อย่างโหด ก็ทำให้ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ) เราเน้นการคุมผลการเทรด จำกัดความเสี่ยงไม่ให้สูง DD ก็จะไม่ให้เกินเกณฑ์ ขณะเดียวกันพยายามเล่นกับ volatility เก็บรอบสร้างกำไรให้ต่อเนื่อง โดยวัดผลที่จำนวน pips ที่ได้ไม่ใช้ที่จำนวนตัวเงิน($) เอาตัวช่วยหรือ leverage ออกไปก่อน ฝึกแบบนี้ไป...

The Founder (2016)

The Founder เป็นหนังชีวประวัติที่ถ่ายทอดเรื่องราวการก่อตั้งธุรกิจ ระดับโลกอย่าง McDonald เนื้อหาของเรื่องค่อนข้างสนุกกระชับ และถ่ายทอดช่วงเวลาที่สำคัญในการขยายธุรกิจ ได้น่าติดตามมาก โดยเฉพาะ Michael Keaton แสดงได้ดีจริงๆ หนังเริ่มเล่าเรื่องของ Ray Kroc ชายวัยกลางคนผู้ที่มีอาชีพเป็นพนักงงานขายเครื่องทำนมปั่น เขาเดินทางไปทั่วหลายรัฐจนไปพบร้านอาหารชื่อ McDonald ของสองพี่น้อง ซึ่งเป็นร้านเล็กๆขายอาหารพื้นฐานสา มัญ เช่น แฮมเบอร์เกอร์,มันฝรั่งทอด,ไอศกรีม,นมปั่น,กาแฟ เป็นต้น ด้วยราคาไม่แพง กินง่าย สะดวกและบริการรวดเร็วไม่ต้องรอนาน Ray มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ การขยายกิจการไปทั่วอเมริกา ซึ่งเขาเชื่อมั่นว่ามันจะสำเร็จและกลายเป็นร้านอาหารที่ตอบโจทย์คนส่วนมาก สุดท้ายด้วยโมเดลธุรกิจและการบริหารแฟรนไชส์ทำให้ McDonald โด่งดังเป็นที่ยอมรับและสามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ขยายสาขาไปทั่วโลก แต่กว่าจะสำเร็จไม่ง่าย ฝ่าฝันอุปสรรคปัญหามากมาย รวมถึงการตัดสินใจทางธุรกิจ ที่ต้องฉลาดและเด็ดขาด กล้าเสี่ยง เป็นที่มาของความสำเร็จในทุกวันนี้ของ McDonald (คล้ายกับ Microsoft ของบิลเกต เหมือนกันนะ ที่ตอนเริ่มต้นต้อง...

ระบบเทรดที่ไม่สมบูรณ์แบบ

เมื่อวานได้ร่วมคุยกับทีมเทรดเดอร์สาย systematic trading น้องหลายคนรู้จักกันมาหลายปี รอบนี้ได้คุยกันเพื่อนำเรื่องการทำงานของระบบเทรดช่วงตลาด covid-19 crisis มาอภิปรายและแชร์ประสบการณ์กัน ประเด็นหนึ่งที่ผมนำไปแชร์คือเรื่องความไม่ perfect ส่วนใหญ่ที่ผมพบเทรดเดอร์พยายามจะหาระบบที่สมบูรณ์แบบ แม่นยำ ผิดพลาดน้อยที่สุด บางคนไปหาโมเดลมา prediction ตลาดและหลอกตัวเองว่าโมเดลเราเทพ แม่นมากโดยอิงการทำ back testing จากข้อมูลอดีต แต่เหมือนที่ไมค์ ไทสันกล่าว "Everybody has a plan until they get punched in the mouth." ตลาดหุ้นของจริงมันไม่ง่าย หลายอย่างมันไม่ได้เป็นไปตามตำราไม่ได้เป็นไปตามบทวิเคราะห์ ไม่ได้เป็นไปตามที่เราคิด แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องทิ้งระบบเทรด ผิดได้ ขาดทุนได้แต่ต้องผิดให้เป็น สัจจะธรรมคือ ระบบเทรดหรือเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ทำกำไรได้ทั้งนั้นยามตลาดขาขึ้นหรือกลับตัวขึ้น สิ่งสำคัญคือผลที่เกิดยามตลาดหุ้นขาลง หรือตลาดผันผวนต่างหากที่เป็น Key ชี้วัด สิ่งที่เทรดเดอร์ต้องทำคือ เริ่มจากระบบที่เรียบง่าย ทดลองเทรดจริงในตลาดจริงกับข้อมูลราคาจริง(Real time data) ใช้เวลาในการพัฒนา ในการวิเคราะ...

Bull trap 101

เทรดเดอร์ ที่ท่องยุทธจักรมาพอสมควรน่าจะเคยได้ยินคำว่า Bull trap หรือกับดักตลาดกระทิง ไม่มีอะไรซับซ้อนตามตำราว่ากันว่า อะไรที่ดูเหมือนจะกระทิง ราคาจะวิ่งแรงเบรกแนวต้าน ยิ่งดูเหมือนมันจะคึกคักหรือดีเกินจริง บนความไม่แน่นอน(หรือความผันผวนแฝงตัว) สภาวะนั้นย่อมจะเกิด กับดักทำให้คนเชื่อ หรือไล่ราคาซื้อตาม และสุดท้ายตลาดก็วิ่งกลับตัวในทางตรงข้าม สิ่งที่น่าสนใจคือ Bull trap มักเกิดบ่อยช่วงปลายตลาดกระทิง ช่วงที่ตลาดมีภาวะทิศทางไม่แน่นอนหลังการ sell off ร อบใหญ่ นอกไปจากนั้น Bull trap ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ตำราเทคนิคอล ใช้อธิบายสถานะของการเกิด Bubble อีกด้วย เอาเรื่องนี้มาฝาก เพราะช่วงนี้ ต่างประเทศโดยเฉพาะอเมริกา มีการพูดถึงคำนี้บ่อยๆ ส่วนตลาดจะเป็นยังไงต่อไป จะขึ้นหรือลง คงต้องรอดูกัน ไม่ประมาทดีที่สุดครับ อ่านต่อ https://www.investopedia.com/terms/b/bulltrap.asp

ปัญหา Low interest rates

ตอนนี้กำลังวางแผน หาที่พักเงิน สู้กับ ช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ(low interest rate) อ่านเจอหลายบทความหลาย paper สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือความเป็น New Normal ในตลาดตอนนี้ ที่กูรูฝรั่งบอกว่าปัจจุบัน อาจจะไม่มี Safe Haven อีกต่อไป ไม่ว่าจะ Bond หรือ Cash (สกุลต่างๆ) ล้วนเผชิญกับแรงกดดันและความผันผวนที่เกิด ในช่วง covid-19 จากบทความของคุณ Ben Carlson เขานำเสนอข้อมูลพันธ์บัตรและดอกเบี้ยจากอดีต สิ่งที่น่าสนใจจะเห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง จากเดิมเชื่อ 10ํY Gov Bond จะสู้ Bear Market ได้ แต่หล ังจาก 2008 การทำ QE และการลดดอกเบี้ยของ Fed ทำให้ เกิดผลกระทบต่อพันธ์บัตร ดังภาพปี 2020 ตลาด Bond ผันผวนและ 10Y Yield อยู่ที่เพียง 1.6% อาจจะสูงถ้าเทียบอัตราดอกเบี้ยที่ 0 แต่ต่ำมากเมื่อเทียบกับ Bear Market ในอดีตที่นักลงทุนสามารถนำเงินไปหลบ เช่น 1987 Great Depression ที่ 8.8% หรือช่วง Subprime crisis ที่ 4.5% ซึ่งตารางที่ 2 แสดงให้เห็น แม้จะมีเงินออม $1 Million เพื่อเก็บสะสมใน 10 year treasuries ผลตอบแทนรายปี ต่ำลงมากจนเรียกว่า แทบจะไม่พอกับค่าใช้จ่าย หรือจะใช้พึ่งพาเพื่อดำรงชีวิตหลังเกษียณเลยทีเดียว...