ระบบ GRID Trading Sytem มันยืดหยุ่นมีหลายลักษณะในการนำไปใช้เทรด ทั้งความแตกต่างในด้าน Entry&Exit Strategies และด้าน Money Management (ซึ่งเราต้องแยกกัน เพราะ level ความเสี่ยงมันไม่ได้ขึ้นกับกลยุทธ์ GRID แต่มันขึ้นกับการบริหารจัดการเงินและใช้ leverage)
ถ้าเราศึกษาเยอะๆจะพบถึงตัวอย่างการใช้งานที่หลากหลาย ยิ่งถ้านำมาทดลองเทรด จะสังเคราะห์ถึงข้อได้เปรียบและข้อจำกัด ของมัน จะช่วยให้ต่อยอดพัฒนา ระบบเทรดของตัวเองได้ดี
ผมยกตัวอย่างเรื่องนี้ เพราะไปเจอบทความหนึ่งเกี่ยวกับการพัฒนา GRID Trading คุณ Klymenko เขานำเสนอ บทความชื่อ RANGE-BASED GRID IN TREND DIRECTION และ CORRECTION-BASED GRID WITH MARTINGALE (เขาใจว่าไอเดียเขาเอามาจากหนังสือ GRID ของรัสเซีย)
มันคืองานวิจัย ทดลอง อ่านแล้วไม่ได้แปลว่าต้องไปเห็นด้วยหรือทำตาม ขณะเดียวกันก็ไม่ได้แปลว่า EA ของเขาจะ work แต่เราสามารถสกัดไอเดีย การพยายามจะลด risk ของการใช้ระบบ GRID ในการเทรดได้ คือไม่ได้ไปนั่งอม loss หรือ martingale สะสม Drawdown รอวันล้างพอร์ตอย่างเดียว
การใช้ระบบ GRID มารับกับ market volatie เป็นเรื่องไม่ง่าย ขณะเดียวกัน อยากให้ดูเทคนิคการ optimal ระดับ leverage ที่ผู้จัยพยายามจะพัฒนาให้หาจุดลงตัวระหว่าง RIsk และ Return เพราะเช่นปี 2019 ราคา FX มี volatility ไม่สูง จำนวน pips แกว่งเฉลี่ยต่ำ เขาเอา leverage มาบูต cashflow ที่ได้ โดยไม่ทำให้ล้างพอร์ตนี้เป็นเรื่องน่าสนใจ
ปล. ไม่แนะนำให้ไปเอา EA GRID เขามาใช้นะครับ แต่ลองศึกษาวิธีการเขียน code เพื่อเข้าเทรดแบบ grid และการจัดการ order แต่ละไม้แต่ละ zone ราคาได้
อ่านและดูตัวอย่าง algorithm ได้ที่
https://www.mql5.com/en/articles/6954
https://www.mql5.com/en/articles/6954