ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิกฤติวัยกลางคน(midlife crisis) นั่นอาจจะเกิดขึ้นได้

ผลการศึกษาด้านความสัมพันธ์ของอายุและคุณภาพชีวิต ของ Professor David Blanchflower จาก Dartmouth College ตีพิมพ์ผลการวิจัยลง National Bureau of Economic Research
แสดงให้เห็นว่า วัยกลางคน คือช่วงอายุที่ คนส่วนใหญ่จะพบกับความทุกข์มากสุดในชีวิต จากค่าสถิติพบว่าช่วงอายุ 47.2 จะเป็นจุด Peak ของความห่อเหี่ยวและความทุกข์

จากภาพผู้วิจัย แสดง "happiness curve" จากค่าการวิเคราะห์ข้อมูล ออกมาเป็น U shape จุด 47.2 ในประเทศที่พัฒนาแล้ว(median wage ระดับสูงและอายุเฉลี่ยประชากรค่อนข้างยาว) จากนั้นก็จะเริ่มผ่อนลงอาจจะเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ หรือการยอมรับในสิ่งที่เกิด ทั้งฐานะการเงิน สุขภาพ ครอบครัว และตำแหน่งหน้าที่การงาน



ผู้วิจัยเน้นถึงการสร้าง เกาะป้องกันสุขภาพจิต ที่คนควรหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะอนาคต ถ้าโลกเผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนทางการเมืองต่างๆ ที่ผลต่อ คุณภาพชีวิตคน รายได้และความมั่นคั่งของคนวัยทำงาน ที่มีภาระรายจ่ายและค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
ปัญหาและวิกฤติมันเกิดได้แน่ สุดท้ายจะผ่านวัยกลาง ได้อย่างไร คงจะต้องเป็นเรื่องที่ ต่างคนต่างต้องเตรียมพร้อมและวางแผนจัดการทั้งเรื่องเงิน เรื่องสุขภาพและ mindset กันเอาเอง