วันนี้ผมได้อ่าน paper หนึ่งน่าสนใจมากเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงิน(Money Management) ศาสตร์และกลยุทธ์ด้านนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อเทรดเดอร์ โดยเฉพาะการอยู่รอดและการใช้ทรัพยากรเงินที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพ
คุณ Martin Sewell จาก University College London เรียบเรียงบทความวิชาการเกี่ยวกับ Money Management ไว้ได้น่าสนใจมากโดยเฉพาะส่วนของประวิติศาสตร์สะท้อน timeline ด้านองค์ความรู้ตลอดหลายสิบปี มีนักวิชาการและนักคณิตศาสตร์อีกหลายท่าน ที่นำเสนอบทความ เทคนิคและกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการเงิน ขอยกตัวอย่างเบื้องต้นมาให้ดู
Bernoulli (1938) ใช้ geometric mean การคำนวณ value of risky ตามมาด้วย Latan´e(1959) นำเอา Kelly criterion มาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการพอร์ตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลตอบแทน
Edward O. Thorp(1962) ตีพิมพิ์บทความวิชาการการใช้ Kelly criterion สำหรับหาขนาดของการเดิมพัน(bet sizes) นอกจากนี้ Thorp ยังได้ทดลองใช้ Kelly criterion แทน Markowitz model ใน portfolio Management
ในปี Edward O. Thorp(1980) ออกบทความ ‘The Kelly money management system’
Ralph Vince 1990 ออกหนังสือ Portfolio Management Formulas นำเสนอโมเดลคณิตศาสตร์ในการบริหารเงินและจัดสรรทรัพยากรในการสร้างพอร์ต ที่โด่งดังมากคือ optimal f ส่วนขยายใช้กับ Kelly criterion
Cover and Thomas 1991 นำเสนอบทความเรื่องการใช้ Information theory กับการลงทุนในตลาดหุ้น
Vince (1992) ออกหนังสืออีกเล่มคือ The Mathematics of Money Management เล่มนี้ถูกเทรดเดอร์สาย trendfollowing จับนำไปใช้และมีการพูดถึวค่อนข้างแพร่หลาย
Rotando and Thorp (1992) เขียนบทความนำกลยุทธ์การใช้ Kelly strategy สำหรับ long-term investment
Browne and Whitt (1996) ออกบทความ Bayesian version of gambling and investment problems พูดถึง stochastic process และ randomwalk กระทบต่อกลยุทธ์การลงทุน รวมถึงKelly criterion
Karatzas and Shreve (1998) ออกหนังสือ Methods of Mathematical Finance
Anderson and Faff (2004) นำ optimal f ของ vince ไปทดสอบและพัฒนากลยุทธ์เทรดใน futures trading
Fabozzi, et al. (2007) ออกหนังสือ Robust Portfolio Optimization and Management เน้นไปทางการใช้เทคนิคการ optimization ผลตอบแทนและความเสี่ยง
Vince (2007) ออกหนังสือเล่มใหม่ The Handbook of Portfolio Mathematics เล่มนี้มีประเด็นการใช้ drawdown สำหรับ risk metric ของพอร์ต
Michaud and Michaud (2008) เขียนบทความอธิบายข้อจำกัดของ mean-variance optimization และสาธิตโมเดลการคำนวณด้วย Monte Carlo resampling เพื่อรองรับความผันผวนของ asset แทน
ยังมีเรื่องราวๆน่าสนใจอีกเยอะ ผมแค่สรุปบาง ส่วนเด่นๆเพื่อทำให้เห็นว่า กลยุทธ์การบริหารจัดการเงิน มันมีการพัฒนา มีการวิจัยโมเดล อย่างจริงจัง ประกอบกับการทดสอบข้อมูลจริงตลาด ช่วงเวลาต่างๆ ที่ทำให้ผลวิจัยสะท้อนภาวะความเป็นจริงที่เกิด ดังนั้นเราสามารถอ่านศึกษา เรื่องเหล่านี้เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้ได้ครับ