ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

work-life balance

วันนี้ได้คุยกับน้องที่รู้จัก เป็นเข้าทำงานเป็นเทรดเดอร์ให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง สักประมาณ 2 ปี สิ่งที่สัมผัสได้คือน้องเขาดูเหน็ดเหนื่อยมาก ทั้งจากชั่วโมงทำงานและความเครียดต้องเร่งทำผลงานด้วย เขาเล่าว่าทำงานบางวันเริ่มตั้งแต่เช้าไปจบยังเที่ยงคืน แม้ไม่ได้นั่งติดจอตลอดแต่ก็ต้องตามดู ตามอ่านข่าว คิดแล้วรวมๆ 9-10 ชม. ต่อวันเลย ซึ่งถือว่าหนักมาพอควร แต่ด้วยความที่ยังอายุไม่มาก อยู่ในช่วง prime time ของชีวิต 22-30 ก็น่าจะผ่านไปได้ (ถ้าสุขภาพไม่พังไปก่อน)

พอพูดถึงเรื่องนี้ก็ทำให้นึกถึงบทความที่ได้อ่าน คือประเทศเกาหลีใต้กำลังทำโครงการ 52 hour work คือสร้างการรณรงค์ลดการโหมงานหนัก หรือทำงานมากไป(overwork) สร้าง work-life balance ซึ่งเกาหลีใต้ตัวเลขจากการสำรวจพบชั่วโมงการทำงานต่อปี สูงมากกว่า ค่าเฉลี่ยและมากกว่าประเทศอเมริกา และยุโรปจำนวนมาก

โดยรัฐบาลออกเป็นกฏเพื่อรักษาสิทธิ์ของประชาชนไม่ให้ถูก บังคับหรือทำให้แข่งขันทำงานหนัก โดยสูงสุดไม่เกิน 52 ชม.ต่อสัปดาห์ ค่าปกติ 40 ชม.+ Over time 12 ชม. ลดจากเดิมที่ 68 ชม.ต่อสัปดาห์ ถ้าบริษัทไหนให้ลูกจ้างงานเกินจะโดนค่าปรับจากรัฐ ราวๆ $17,815 และอาจจะมีโทษทางอาญาจำคุก 2 ปี เรียกว่าเอาจริงมาก


ซึ่งโครงการนี้ เน้นให้สังคมเกาหลีใต้ยุคใหม่เปลี่ยนแปลง ขับดันโดยเป็นนโยบายของ ปธน. Moon Jae-in เองเลยโครงการนี้ครอบคลุมทั้ง บริษัทเอกชน, สถาบันของรัฐ และราชการ โดยเริ่ม 1 กค. ปีนี้ เอกชนมีเวลาอีก 6 เดือนช่วงปรับเปลี่ยนตารางทำงาน ส่วนบริษัทขนาดเล็กจะเริ่มใช้กฏนี้ปี 2020
เป้าหมายต้องการลดตัวเลขประชาชนที่ตายและเจ็บป่วยจากการทำงานหนักเกินไป อุบัติเหตุจากการทำงาน, แม้แต่อุบัติเหตุบนถนนจากการนอนไม่พอ รวมถึงเพิ่ม productivity ,เพิ่มการจ้างงาน, เพิ่มจำนวนประชากรคุณภาพของครอบครัว
เมืองไทยกฎหมายบังคับ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่จริงๆแล้วก็เหมือนที่รู้กัน งานบางงานไม่จบในวัน งานด่วนเจ้านายเร่ง ลูกค้าเร่ง หรือพวกงานต้องประเมินผลงานเพื่อคัดคน ต่างคนพยายามแข่งทำงาน แย่งกันก้าวหน้า งานเหล่านี้กินเวลาชีวิตไปมาโข เกิน 48 ชม.แน่นอน ว่าไปบ้านเราก็น่าจะลองหันมาศึกษาเรื่องนี้จริงจังกันบ้าง เพราะบางทีแข่งขันกันมากไป กดดันกันมากไป ก็อาจจะไม่ใช่ผลดีต่อตัวลูกจ้าง หรือประชาชน ในระยะยาวก็เป็นได้
อ่านเพิ่มเติม