วันนี้มาตอบคำถามจากน้องๆที่เริ่มใช้งาน Psyquation (มีหลายฟังก์ชั่นการวิเคราะห์ที่มีประโยชน์มาก อย่าไปนั่งยึดติดดูที่ score อย่างเดียว หัดใช้เพื่อพัฒนาตัวเราในอนาคต ) เกี่ยวกับตัว Omega Ratio
Omega Ratio พัฒนาต่อยอดมาเพื่อแก้ข้อจำกัดของ Sharpe ratio หรือโมเดลที่ใช้การประเมินด้วย Mean และ Variance เพราะบางกรณีเกิดการตีความที่อาจจะไม่เหมาะสมกับพฤติกรรมของ Performance ที่เกิดได้ ลองดูจากภาพประกอบ
Shadwick&Keating ปี 2002 พัฒนาโมเดล Omega Ratio ขึ้นมาโดยหลักการคือแทนจะใช้แค่ Mean และ Variance ก็ทำการแบ่งพื้นที่ของ Return Distribution เป็นสองส่วนด้วย ค่า target return หรือ threshold จากนั้นวัดสัดส่วนของพื้นที่ cumulative probability distribution ทั้งสองที่ถูกแบ่ง (สรุปคราวๆไม่ได้ลงเรื่องของสมการและวิธีการหาค่า ลองไปอ่านใน link ด้านล่างได้)
ส่วนการตีความ Omega Ratio มากกว่า 1 ถือว่า OK แน่นอนว่าถ้ามีค่ามากก็มีแนวโน้มดี สะท้อนความน่าจะเป็นที่จะให้ return ที่ดีและยังใช้การประเมิน risk metric เพื่อเฝ้าระวัง risk ที่เกิด แต่แน่นอนว่าการตั้ง threshold ก็มีผลต่อค่าคำนวณดังนั้นโมเดลจำเป็นต้องมีการวางเงื่อนไขที่ชัดเจนและสมเหตุสมผลด้วย
การใช้งานสำหรับเทรดเดอร์ หรือประเมินระบบเทรดเราติดตาม ค่านี้อาจจะรอบรายเดือน เพื่อดูว่า Omega Ratio นั้นอยู > +1 หรือไม่ ถ้าเกิดมันตกลง เราควรจะปรับปรุงการเทรดให้ดีขึ้น หรือลด ขนาดของความเสี่ยงจากการใช้ leverage ลง เป็นต้น