สรุปความจาก BloomBerg มากให้อ่านกัน การจีนเริ่มโยนหินถามทางด้วยการลดค่าเงิน Yuan ของตัวเองลงที่ 1.9%(ตรงนี้เหมือนจุดเริ่มต้นเท่านั้นเพื่อดูว่าจะมีผลอะไรตามมา) ทางนักวิเคราะห์ต่างชาติของค่ายใหญ่ๆเขาก็พากันมองหา ผลกระทบด้านบวกและลบ ที่จะเกิดขึ้น
** ล่าสุดมีการลดลงมาเพิ่มรอบที่สอง จากวันแรก รวมแล้ว 4% จากค่ากลาง
ด้านลบ
1.กลุ่มธุรกิจของจีน ที่มีหนี้เป็น US dollar ต้นทุนการชำระหนี้ก็จะสูงขึ้น อันนี้เมื่อวานเห็นชัดจากการร่วงลงของราคาหุ้นในบริษัทใหญ่ หรือ สายการบิน
2. กลุ่มธุรกิจ ที่ส่งสินค้าไปขายยังจีน จับจีนเป็นตลาดใหญ่ เช่น luxury car รวมไปถึงสินค้าแบนด์เนม จากยุโรปต่างๆ ที่แน่นอนว่า ราคา ย่อมสูงขึ้น อาจจะมีผลกระทบยอดขายในจีน กลุ่มนี้ยุโรปส่งสินค้าไปขายในจีนมากที่สุด หลายบริษัทที่มีรายได้จากฐานลูกค้าในจีน ก็คงหนีไม่พ้นผลกระทบที่จะตามมา
3. ราคาคอมโมดิตี้ เช่นกลุ่มเหล็ก หยวนอ่อน กระทบต้นทุนการนำเข้า มีโอกาสที่ ความต้องการซื้อสินค้านำเข้า จะลดลง เมื่อวานกลุ่มเหล็ก อย่างเช่นบริษัท Vale SA บริษัทผลิตเหล็ก ที่อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐ ร่วงลง 5.7 เพราะมีฐานลูกค้ามาจากจีนถึง 37%ของรายได้ อีกประเทศด้านคอมโมที่โดนไปด้วย คือ ออสเตเรีย บริษัมคอมโมใหญ่อย่าง BHP
4. ค่าเงินใน ภูมิภาค กลุ่มประเทศ ค่าเงินต่างพากัน อ่อนค่าตามกันไป แน่นอนว่าถ้าไม่อ่อนตามการส่งออกแข่งกับจีนเป็นเรื่องที่ยาก ขึ้นไปอีก ค่าเงินในเกาหลี สิงค์โปร ไต้หวัน ต่างพากันอ่อนค่าในทิศทางเดียวกัน
5. อีกอันเหมือนเป็นการเอาคืน คือการ จัดการกับเงินที่ไหลออกจาก จีนในรูป USD ที่ว่ากันว่าน่าจะมาจากกลุ่มรายใหญ่ที่ทำกำไรจากตลาดหุ้นจีนรอบที่ผ่านมา
ด้านบวก
หลายสินค้า แบรนด์เนม มีฐานการผลิตที่จีน การที่ได้ discont จากค่าเงิน ย่อมทำให้บริษัทลดต้นทุนลงได้ เช่น กลุ่มมือถือ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิค กำไรบริษัท อย่าง apple sumsung lenovo กลุ่มพวกนี้เพิ่มมากขึ้น แต่อาจจะเกิดการ ลดราคาสินค้า เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดตาม ตรงนี้ผู้บริโภคทั่วไปอาจจะได้อานิสงค์ตามไปอีกทาง
นอกจากนี้ กลุ่มส่งออกของจีน ที่เป้าหมายใหญ่ ก็ได้รับไปเต็มๆ เช่น กลุ่มส่งออกยานยนต์ของจีน ที่เข้าไปบุกตลาดใน เกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ -
-กลุ่มสิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋าและอื่นๆ ที่ ส่งออก จากจีนที่ส่งสินค้าไปขายยังทวีปต่างๆ และรวมถึงสินค้าตระกูล made in china ย่อมทำให้ได้เปรียบด้านการตั้งราคากับ คู่แข่งไปอีก