วันนี้มีคำถามเรื่อง Money management เข้ามาทางกล่องข้อความ จากน้องในกลุ่มไทยเทรด ผมตอบคำถามเรื่องนี้บ่อยพอสมควร
หลายครั้งที่ตอบ คิดว่ามันมีประโยชน์ และคนทั่วไปที่สนใจเข้ามาเทรด เก็งกำไร จำนวนมากยังสับสนและไม่ค่อยเข้าใจ ในหลักการนำไปใช้เท่าไหร่
เลยอยากนำมาเขียนอะไรง่ายๆ สรุปไว้ จริงๆเรื่องของ Money management มันเป็นคณิตศาสตร์บางครั้งพูดมาลงลึก ยากไป ก็เบื่อ แถมไม่มีกราฟิกให้ดู ให้ท่องจำแบบ เทคนิคอล ทำให้คนไม่สนใจ และมักจะเลิกที่จะลืมมันไป
แต่น้องๆที่คิดจะมาเทรด จำไว้อย่างนะครับ เราไม่มีทาง betting แล้วชนะ ทุกครั้ง โอกาสขาดทุนมันมี เสมอ
มีคนถามผมเสมอ ใช้เทคนิคอล ต่อให้ backtest หรือ forward test ทำไปทำไม ในเมื่อมันไม่มีทางถูกต้อง 100% คำตอบก็คือ ทำไปไม่ใช้หาว่ามันถูกแค่ไหนเป็นหลัก แต่ทำเพื่อให้รู้ว่ามันมีโอกาสผิดพลาดหรือ %loss มากแค่ไหน
ถ้ามันมีโอกาสแพ้เยอะ ใช้ไม่ได้ก็ต้องโยนทิ้ง ถ้ามันมี %loss พอรับได้ เราก็ต้องประเมินให้ออกว่าระดับมันมาก ปานกลาง หรือสูงเท่าไหร่ เพื่อเอาโมเดลของ Risk Management หรือ Money management มาเป็นตัวไปจับ เพื่อจำกัด ลดทอนขนาดของความเสียหาย ที่จะเกิดจากการเสี่ยง
ดังนั้น มันไม่ใช่มีแค่กราฟ เข้าไปมั่วก็จบ หรือนั่งเทียนดูคลื่นเป็น ก็จะสำเร็จ ได้เงินออกมาจากตลาดง่ายๆ ชองแบบนั้นมันไม่มีอยู่จริง
เพราะถ้าเทรดจริง สิ่งที่ยากไม่ใช่การอ่านกราฟ หรือการนั่งเดา ด้วยปาก แต่สิ่งที่ยากคือการตัดสินใจ การตัดสินใจที่มีเดิมพัน ตรงนี้บทบาทของ money management มันจึงมีความสำคัญมาก ยิ่งศึกษามาก รู้มากถ่องแท้ หรือวิจัยมากแค่ไหน โอกาส จะอยู่รอด หรือจะสร้างกำไร ยั่งยืนก็จะมีมากตามไป
มันจึงไม่ใช่ รู้แค่กราฟก็จบ ดูอินดิเคเตอร์เป็น สแกน หุ้นได้ ก็พอ แบบนั้นก็อันตรายและอยู่ในโลกจินตนาการเกินไป เพราะมันใช่ไม่ได้ในตลาดเก็งกำไร ที่ล้วนมีแต่เสือ สิงห์ กระทิง แรด การดึงเงินออกมาจากเกมส์พวกนี้ได้ มันไม่ใช่ง่ายๆ
เขียนมาถึงตรงนี้เพราะอยากให้น้องๆ เห็นความสำคัญ แต่ผมคงไม่ไปสอนทั้งหมดทุกโมเดล เพราะมันมีออกมาใหม่ๆเรื่อยๆ มีการคิดค้น การทดลอง การอภิปรายเยอะ ลองไปหาบทความอ่านเอา โดยเฉพาะของรัสเซีย และอเมริกา หลายกลุ่ม ทำออกมาได้น่าสนใจ ในหลายตลาด ทั้งด้านการบริหารขนาด position size หรือยันไปถึงเรื่องการออกแบบและบริหาร portfalo management
---------------------------------------
mind set อีกข้อหนึ่งที่ต้องถูก ถ้าคิดจะมาเป็นนักเก็งกำไรอาชีพ มองความเสี่ยงให้ออก ก่อนมองกำไร ดังนั้นวันนี้จะมาสอน เรื่อง moneymanagement กับการจำกัดขนาดความเสี่ยงง่ายๆ
1. กำหนด เป้าหมายขนาดของเงินจะขาดทุน ที่รับได้
เมือ่เทียบกับขนาด account หรือ อาจจะ เทียบ จากเงินที่เรารับได้ บางคนเงินน้อย ก็ต้องอย่าไปใจใหญ่ เพราะถ้าเราเงินน้่อย เมื่อเห็นการขาดทุนเยอะๆ หลายหมื่น หลายแสน ทำใจไม่ลง ก็ไม่กล้ส Stoploss ดังนั้น ถ้าคิดว่ามีเงินน้อย ใจไม่แข็งเสียด่ายเงิน ก็อย่าไปโลภ ไปฝืนเทรด position size ใหญ่เกิดตัว
เราอาจจะคิด fix ไปเลยก็ได้ เช่น ถ้ารับได้ $100 $500 ต่อไม้การขาดทุนก็ไม่เกินนี้ ไม่ว่ากรณีใดๆ stoploss แล้ว OK มีเงินเหลือมาแก้มือใหม่ได้
2. วางแผนรับมือความเสี่ยงแบบแปรผันตามพฤติกรรมราคา
ตัวหนึ่งที่นิยมมากคือค่าความผันผวนหรือ volatility สามารถหาค่านี้มาใช้นิยาม ภาวะพฤติกรรมราคา และใช้มันเป็นตัว กำหนดขนาด SL เพื่อหา position size ได้เช่นกัน
ตย. USDJPY มีค่า volatilty ที่ 20 pip อาจจะใช้ 20 pip มาเป็นตัววาง SL แต่แน่นอนว่าก็ต้องคำนวณย้อนกับไปหา lot size ที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เรารับได้ด้วย เช่นเรารับ risk per trade ที่ $100 ดังนั้น ขนาดของ lot size ก็เท่ากับ 100/(20*10) = 0.5 lot
หรือถ้า volatilty ที่ 40 เราใช้ค่า SL = 40 pip ขนาด lot size ของเราก็เท่ากับ 100/(40*10) = 0.25 lot
วิธีนี้ Volatility stop เหมาะกับกลยุทธ์ประเภท directions ทั่วไป ที่กลยุทธ์สนองตอบกับ low volatility ได้ดี ตรงนี้ลดทอนขนาดของ risk ลงแล้วสร้าง pofit per trade ให้สูงมากขึ้นไปด้วย
3. สร้างระบบบริหารขาดทุน
ง่ายสุดให้ใช้ ตระกร้ากำไร เก็บกำไร มาเป็น cash อีกก้อน สำหรับ cover ส่วนของ loss เพื่อใช้ stoploss นั้นเอง เช่นมีกำไร $500 ก็อย่ารีบใช้ เทรดเพิ่ม ให้กันมาสำรอง stoploss เอาไว้ ตอนต้อง stoploss มันจะทำให้ง่าย จิตใจจะไม่ลังเล มีวินัย และไม่เสีย mental
ถ้ารู้เยอะ ชอบท่ายาก ใช้พวก co relation product มาทำ hedgging หรือสร้าง effect loop ในการบริหารเงินต่อไปก็ได้เช่นกัน ตรงนี้มัน disign และ implement กลยุทธ์ได้ไม่รู้จบ ขึ้นกับความสามารถของเทรดเดอร์ เลย
สรุป
เอามาฝากเทคนิคง่ายๆ money management สำคัญ มีโมเดลที่สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย สิ่งสำคัญเลือกให้เหมาะ กับระบบ เหมาะตลาด เหมาะสินค้าที่เทรด สุดท้าย เหมาะจริตของเรา ที่รับได้ เมื่อทำได้ เข้าใจ ใช้เป็น มันเพิ่มขีดความสามารถ ศักย์ภาพการเทรด และอัตราการอยู่รอด ของเราให้สูงขึ้นไปอีกครับ
Mr Chaipat