การที่เราได้เข้ามาเป็นนักลงทุน ผมว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในเรื่องของการบริหารเงินออม นำไปลงทุนให้เติบโต เพราะถ้าต้องการมีความมั่นคงทางการเงินในอนาคตการขยันทำงานอย่างเดียวไม่พออีกต่อไป เพราะการหาเงิน มันต่างจากการบริหารเงิน ตรงที่ว่า การหาเงินถ้าหยุดทำงาน เงินก็หยุดไหลเข้ามา ไม่ว่าจะมีเงินเดือนมากมายเท่าไหร่ หรือทำธุรกิจส่วนตัวใหญาโตเพียงไหน แต่ก็ไม่สามารถการันตรีความมั่นคงในอนาคตได้
เนื่องจากอนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน ถ้าเรายังตื่นขึ้นมาทำงานได้ เงินก็ไหลเข้ากระเป๋าเราได้ แต่ถ้าเราเจ็บเราป๋วย หรือประสบอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุไม่คาดฝัน จนไม่สามารถทำงานได้ เมื่อนั้นเงินที่เคยไหลเข้ามาก็จะหมดไป
การฝากความหวังกับการได้รับเงินเดือนเพิ่ม อาจจะไม่ใช่ทางออกเพราะ ในยุคที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว นโยบายประชานิยมเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ พวกนี้ล้วนกดดันต้นทุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทใหญ่น้อยแทบทั้งสิ้น และแม้ว่าเราจะได้รับเงินเดือนเพิ่ม แต่สิ่งที่มันเพิ่มตามมาก็คือรายจ่าย ค่าใช้จ่ายทางสังคม จากไลฟ์สไตล์ที่เติบโต ต้องเปลี่ยนรถใหม่ ซื้อสูทใหม่ กินหรูขึ้น ซื้อของใช้ราคาแพงเพื่อยกระดับชีวิตตัวเองและครอบครัว
รายจ่ายเหล่านี้เพิ่มตามเงินเดือน หรือรายรับที่มากขึ้น แบบอัตโนมัติ จนบางทีเราอาจจะไม่ทันสังเกต ทำให้เงินเก็บเงินออม อาจจะไม่มากพอที่จะทำให้เรามั่นคงในอนาคต แม้จะมีสินทรัพย์ที่แพงเช่น มีความสามารถในการกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถราคาหลายล้าน แต่สินทรัพย์เรานั้นไม่ได้สร้างกระแสเงินสด ตอบแทนเงิน จึงเท่ากับว่า สินทรัพย์ที่หามาได้จากเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้มีผลต่อความมั่นคงในอนาคตอยู่ดี
รายจ่ายเหล่านี้เพิ่มตามเงินเดือน หรือรายรับที่มากขึ้น แบบอัตโนมัติ จนบางทีเราอาจจะไม่ทันสังเกต ทำให้เงินเก็บเงินออม อาจจะไม่มากพอที่จะทำให้เรามั่นคงในอนาคต แม้จะมีสินทรัพย์ที่แพงเช่น มีความสามารถในการกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถราคาหลายล้าน แต่สินทรัพย์เรานั้นไม่ได้สร้างกระแสเงินสด ตอบแทนเงิน จึงเท่ากับว่า สินทรัพย์ที่หามาได้จากเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้มีผลต่อความมั่นคงในอนาคตอยู่ดี
หลายคนแม้จะเก็บออมเก่งแต่ถ้าหวังพึ่งดอกเบี้ยธนาคาร ที่ 3%(ค่าเฉลี่ย) เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ(2.8-3.5%) เทียบกับค่าครองชีพในอนาคตที่พุ่งสูงขึ้น มันก็ยากที่จะทำให้เรามั่นคงทางการเงินได้อยู่ดี ทางออกของการอยู่รอด นั้นคือการลงทุน
การนำเงินทุนไปลงทุนในสินทรัพย์มี่สามารถสร้างกระแสเงินสด เพื่อทำให้เงินต้นที่ลงไปเติบโต เช่นการลงทุนในหุ้น กองทุนรวม พันธบัตรอสังหาริมทรัพย์ (กรณีเก็บค่าเช่าได้) เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างผลตอบแทนจากเงินออมให้งอกเงย เอาชนะอัตราเงินเฟ้อ และสามารถทบต้นจนสะสมความมั่นคงในอนาคตให้กับเราได้ ยิ่งถ้าประกอบกับนิสัยการรักการออม การไม่ฟุ้งเฟ้อ การมีวินัยทางการเงิน(ไม่ขยันกู้ดะ) ก็จะยิ่งการันตรีความมั่นคงทางการเงินให้เราเพิ่มไปใหญ่
ความมั่นคงทางการเงิน จะเกิดได้ง่ายถ้าเริ่มต้นได้เร็ว ตั้งแต่อายุยังน้อยๆ ส่วนใหญ่คนรุ่น GenX มักจะมาเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ตอนโต หรือตอนแก่กันแล้วทั้งนั้น ถ้าหวังจะเป็นเศรษฐียามแก่ก็ยากแล้ว ดังนั้นเราจึงควรใช้ความได้เปรียบทางความรู้เรื่องการเงินการลงทุน สอนลูกหลานของเราให้เข้าใจถึงแนวคิดการสะสมความมั่นคงทางการเงิน เพื่อที่จะได้มีเงินทองพอกินพอใช้ในอนาคต
ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ร่ำรวยมีมรดกตกทอดให้ ลูกหลานใช้แบบมหาเศรษฐี แต่ความรู้และคำสอน จะเป็นทรัพย์สินอย่างดีที่ติดตัวลูกไปจนตาย และจะทำให้เขาเรียนรู้และต่อยอดไปได้อย่างไม่ร&33641;้จบ ต่างจากการทิ้งเงินทอง ทรัพย์สมบัติ ไว้ให้โดยปราศจากความรู้ ไม่นานก็หมดและเงินทองเหล่านั้นอาจจะทำลายชีวิตของลูกหลานเราก็เป็นได้อีกด้วย
ผมนำแนวคิดการสอนความรู้เรื่องการเงินสำหรับลูก จากพี่ท่านหนึ่งที่สนิทกัน เขาใช้วางแผนสอนลูกทั้งสองคนมาตั้งแต่เด็ก ดูแล้วเข้าท่ามากมีประโยชน์จริงๆเลยนำมาแนะนำครับ โดยเริ่มต้นสอนแบบเป็นช่วงๆ พร้อมกับการปฏิบัติไปกับลูก
- อายุ 3-5 ขวบ สอนให้รักการออม(อันนี้ส่วนใหญ่ก็จะสอนกัน)
- อายุ 12 (วัยรุ่น) สอนให้เขาใช้เงินให้เป็น รู้จักคุณค่าของเงินไม่ใช้เงินเกินตัว
- อายุ 13-15 สอนให้เขาใช้เงินอย่างเป็นระบบให้เบี้ยเลี้ยงค่าใช้จ่ายคงที่แบบประจำสัปดาห์ ฝึกให้เขาบริหารจัดการรายจ่ายประจำวัน การใช้เงินแบบมีวินัย ไม่ขอเงินแบบพร่ำเผื่อ ใช้จ่ายเกินโควต้า
- อายุ 16 สอนให้เขาทำหาเงินใช้เอง ทำงานพิเศษ เพื่อหาเงินมาซื้อสิ่งของที่ต้องการ สอนเรื่องธุรกิจ แนะนำไอเดียการทำธุรกิจง่ายๆเช่นการขายของ ขายขนม เพื่อหาเงินพิเศษ ฝึกให้ลูกคิด ได้ทดลองหาเงินด้วยตนเอง เพื่อฝึกทักษะความกล้าที่จะทำธุรกิจของตัวเอง
- อายุ 17 สอนให้รู้จักทำบัญชีการเงินประจำตัว บันทึกรายจ่ายต่างๆ ใช่จ่ายเงินให้เป็น สอนลูกให้เข้าใจคุณค่าของสิ่งของ ไม่ใช่การยึดติดที่ราคา
- อายุ 18 สอนให้รู้จักลงทุน รู้จักหุ้นปันผล กองทุนต่างๆ โดยพ่อแม่อาจจะฝากเงินออมเพื่อเป็นทุนในอนาคต ในหุ้นปันผล หรือกองทุน และสอนให้ลูกรู้จักหุ้นของตัวเอง ติดตามข้อมูลกิจการ และเงินปันผล แบบห่างๆเพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ในการลงทุนให้กับเขา
-อายุ 19 สอนเรื่องการใช้บัตรเครดิต การกู้เงินซื้อบ้าน ซื้อรถ การทำประกันชีวิต และเรื่องภาษี
ทุกเรื่องที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่แค่สอนในช่วงอายุต่างๆแล้วจะจบ ทุกขั้นเมื่อเริ่มแล้ว ต้องทำให้ต่อเนื่อง ทบทวนฝึกให้ลูกทำ ซึมซับจนเป็นนิสัย พ่อแม่ต้องหมั่นติดตาม ทำให้ลูกเห็น และหมั่นยกเรื่องราวการออม การลงทุนหรือหัวข้อต่างๆ ขึ้นมาทบทวน พูดคุย
เพื่อสร้างวิธีคิดในการบริหารจัดการเงินให้ลูก ทำต่อเนื่องในตั้งแต่ช่วงเด็ก จนถึงจบวันรุ่น สิ่งเหล่านี้สร้างพื้นฐานและภูมิคุ้มกันทางการเงินให้ลูก ได้เป็นอย่างดี จะสอนให้ลูกของเรา ออมเงินได้ ใช้เงินเป็น และสามารถลงทุนทำให้เงินงอกเงย เพื่อความมั่นคงทางการเงินและสิ่งเหล่านี้เป็นเกราะคุ้มกันให้ เขาใช้ชีวิตแบบไม่ลำบากจากการขาดแคลนเงินในอนาคต
สิ่งเหล่านี้ที่เขียน ไม่มีสอนในโรงเรียน ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย ดังนั้นพ่อแม่ถ้าอยากให้ลูกไม่ลำบาก ก็ต้องลงมือสอนเอง เพราะในโลกทุนนิยม แน่นอนว่าสิ่งที่สอนกันหรือปฏิบัติกันให้เห็นจนเป็นค่านิยม คือการใช้จ่ายซื้อของแพงๆติดกับวัตถุนิยม ,การเป็นลูกจ้างประจำที่ดี, การใช้บัตรเครดิต ,การกู้เงินผ่อนคอนโด ผ่อนรถแบบง่ายๆ
ทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้น กลายเป็นวิถีปฏิบัติของคนทั่วไปในสังคมทุนนิยมนี้ไปแล้ว ถ้าเราต้องการจะเปลี่ยนตัวเอง หรือเปลี่ยนลูกหลานของเรา จากมนุษย์ธรรมดา ต้องการไปสู่ความมั่นคงทางการเงิน ต้องออกแรง และต้องลงมือเริ่มต้นทำให้เร็วตั้งแต่อายุยังน้อยครับ
การนำเงินทุนไปลงทุนในสินทรัพย์มี่สามารถสร้างกระแสเงินสด เพื่อทำให้เงินต้นที่ลงไปเติบโต เช่นการลงทุนในหุ้น กองทุนรวม พันธบัตรอสังหาริมทรัพย์ (กรณีเก็บค่าเช่าได้) เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างผลตอบแทนจากเงินออมให้งอกเงย เอาชนะอัตราเงินเฟ้อ และสามารถทบต้นจนสะสมความมั่นคงในอนาคตให้กับเราได้ ยิ่งถ้าประกอบกับนิสัยการรักการออม การไม่ฟุ้งเฟ้อ การมีวินัยทางการเงิน(ไม่ขยันกู้ดะ) ก็จะยิ่งการันตรีความมั่นคงทางการเงินให้เราเพิ่มไปใหญ่
ความมั่นคงทางการเงิน จะเกิดได้ง่ายถ้าเริ่มต้นได้เร็ว ตั้งแต่อายุยังน้อยๆ ส่วนใหญ่คนรุ่น GenX มักจะมาเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ตอนโต หรือตอนแก่กันแล้วทั้งนั้น ถ้าหวังจะเป็นเศรษฐียามแก่ก็ยากแล้ว ดังนั้นเราจึงควรใช้ความได้เปรียบทางความรู้เรื่องการเงินการลงทุน สอนลูกหลานของเราให้เข้าใจถึงแนวคิดการสะสมความมั่นคงทางการเงิน เพื่อที่จะได้มีเงินทองพอกินพอใช้ในอนาคต
ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ร่ำรวยมีมรดกตกทอดให้ ลูกหลานใช้แบบมหาเศรษฐี แต่ความรู้และคำสอน จะเป็นทรัพย์สินอย่างดีที่ติดตัวลูกไปจนตาย และจะทำให้เขาเรียนรู้และต่อยอดไปได้อย่างไม่ร&33641;้จบ ต่างจากการทิ้งเงินทอง ทรัพย์สมบัติ ไว้ให้โดยปราศจากความรู้ ไม่นานก็หมดและเงินทองเหล่านั้นอาจจะทำลายชีวิตของลูกหลานเราก็เป็นได้อีกด้วย
ผมนำแนวคิดการสอนความรู้เรื่องการเงินสำหรับลูก จากพี่ท่านหนึ่งที่สนิทกัน เขาใช้วางแผนสอนลูกทั้งสองคนมาตั้งแต่เด็ก ดูแล้วเข้าท่ามากมีประโยชน์จริงๆเลยนำมาแนะนำครับ โดยเริ่มต้นสอนแบบเป็นช่วงๆ พร้อมกับการปฏิบัติไปกับลูก
- อายุ 3-5 ขวบ สอนให้รักการออม(อันนี้ส่วนใหญ่ก็จะสอนกัน)
- อายุ 12 (วัยรุ่น) สอนให้เขาใช้เงินให้เป็น รู้จักคุณค่าของเงินไม่ใช้เงินเกินตัว
- อายุ 13-15 สอนให้เขาใช้เงินอย่างเป็นระบบให้เบี้ยเลี้ยงค่าใช้จ่ายคงที่แบบประจำสัปดาห์ ฝึกให้เขาบริหารจัดการรายจ่ายประจำวัน การใช้เงินแบบมีวินัย ไม่ขอเงินแบบพร่ำเผื่อ ใช้จ่ายเกินโควต้า
- อายุ 16 สอนให้เขาทำหาเงินใช้เอง ทำงานพิเศษ เพื่อหาเงินมาซื้อสิ่งของที่ต้องการ สอนเรื่องธุรกิจ แนะนำไอเดียการทำธุรกิจง่ายๆเช่นการขายของ ขายขนม เพื่อหาเงินพิเศษ ฝึกให้ลูกคิด ได้ทดลองหาเงินด้วยตนเอง เพื่อฝึกทักษะความกล้าที่จะทำธุรกิจของตัวเอง
- อายุ 17 สอนให้รู้จักทำบัญชีการเงินประจำตัว บันทึกรายจ่ายต่างๆ ใช่จ่ายเงินให้เป็น สอนลูกให้เข้าใจคุณค่าของสิ่งของ ไม่ใช่การยึดติดที่ราคา
- อายุ 18 สอนให้รู้จักลงทุน รู้จักหุ้นปันผล กองทุนต่างๆ โดยพ่อแม่อาจจะฝากเงินออมเพื่อเป็นทุนในอนาคต ในหุ้นปันผล หรือกองทุน และสอนให้ลูกรู้จักหุ้นของตัวเอง ติดตามข้อมูลกิจการ และเงินปันผล แบบห่างๆเพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ในการลงทุนให้กับเขา
-อายุ 19 สอนเรื่องการใช้บัตรเครดิต การกู้เงินซื้อบ้าน ซื้อรถ การทำประกันชีวิต และเรื่องภาษี
ทุกเรื่องที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่แค่สอนในช่วงอายุต่างๆแล้วจะจบ ทุกขั้นเมื่อเริ่มแล้ว ต้องทำให้ต่อเนื่อง ทบทวนฝึกให้ลูกทำ ซึมซับจนเป็นนิสัย พ่อแม่ต้องหมั่นติดตาม ทำให้ลูกเห็น และหมั่นยกเรื่องราวการออม การลงทุนหรือหัวข้อต่างๆ ขึ้นมาทบทวน พูดคุย
เพื่อสร้างวิธีคิดในการบริหารจัดการเงินให้ลูก ทำต่อเนื่องในตั้งแต่ช่วงเด็ก จนถึงจบวันรุ่น สิ่งเหล่านี้สร้างพื้นฐานและภูมิคุ้มกันทางการเงินให้ลูก ได้เป็นอย่างดี จะสอนให้ลูกของเรา ออมเงินได้ ใช้เงินเป็น และสามารถลงทุนทำให้เงินงอกเงย เพื่อความมั่นคงทางการเงินและสิ่งเหล่านี้เป็นเกราะคุ้มกันให้ เขาใช้ชีวิตแบบไม่ลำบากจากการขาดแคลนเงินในอนาคต
สิ่งเหล่านี้ที่เขียน ไม่มีสอนในโรงเรียน ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย ดังนั้นพ่อแม่ถ้าอยากให้ลูกไม่ลำบาก ก็ต้องลงมือสอนเอง เพราะในโลกทุนนิยม แน่นอนว่าสิ่งที่สอนกันหรือปฏิบัติกันให้เห็นจนเป็นค่านิยม คือการใช้จ่ายซื้อของแพงๆติดกับวัตถุนิยม ,การเป็นลูกจ้างประจำที่ดี, การใช้บัตรเครดิต ,การกู้เงินผ่อนคอนโด ผ่อนรถแบบง่ายๆ
ทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้น กลายเป็นวิถีปฏิบัติของคนทั่วไปในสังคมทุนนิยมนี้ไปแล้ว ถ้าเราต้องการจะเปลี่ยนตัวเอง หรือเปลี่ยนลูกหลานของเรา จากมนุษย์ธรรมดา ต้องการไปสู่ความมั่นคงทางการเงิน ต้องออกแรง และต้องลงมือเริ่มต้นทำให้เร็วตั้งแต่อายุยังน้อยครับ