ผู้หญิงคนหนึ่งเนื้อตัวมอมแมมแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าเก่า เธอเป็นกรรมกรเข้ามาก่อสร้างคอนโดหรู ย่านใจกลางเมือง เธอเดินกำเงินค่าแรงเป็นแบงค์ยี่สิบหลายใบในมือ เข้าร้านอาหารฟาสฟู๊ดดังเจ้าหนึ่งในห้างหรู ไม่ไกลจากไซต์ก่อสร้าง เพื่อซื้ออาหารแบบที่เห็นในโฆษณา แต่ภาพเหตุการณ์ที่ผมเห็นเป็นอะไรที่น่าสงสารเศร้าอย่างยิ่งเพราะ พนักงานขาย ปฏิบัติกับเธอแบบแล้งน้ำใจ ใช้น้ำเสียงที่ดุดัน พร้อมด้วยสายตาดูถูกดูแคลนจากลูกค้าบางคนในร้าน
สิ่งที่ทำให้เธอเป็นจุดสนใจเพราะเงินในมือที่มีไม่มากพอ ทำให้ไม้สามารถเลือกชุดอาหารที่มีในเมนูได้ ยิ่งทำให้เธอประหม่าไปใหญ่ แต่เรื่องนี้จบสวย เพราะมีคุณป้าใจดีท่านหนึ่ง ที่ยืนต่อคิวในแถว อาสาเข้าช่วยเหลือ ให้คำแนะนำพร้อมออกเงินส่วนต่างให้เธอได้ซื้อแบบที่ต้องการกลับบ้าน ฟังเรื่องนี้อาจจะทำให้เราคิดสงสัยว่าทำไมคนจนแบบเธอ ต้องอยากมากินของแพงเกินฐานะแบบนี้ด้วย แต่สิ่งที่ผมได้ยินเธอบอกกับคุณป้าท่านนั้น หลังจากยกมือไหว้ขอบคุณ คือ ที่เธอมาซื้อเพราะวันนี้เป็นวันเกิดของลูกชาย ที่บ่นอยากกินมานานหลายปี แต่เธอไม่มีโอกาสซื้อให้ วันนี้เลยรวบรวมเงิน รวบรวมความกล้าเข้ามาซื้อทั้งอาหารและแลกซื้อของเล่นที่แถม ไปให้เป็นของขวัญลูกชาย
JUBILEE CAFE เป็นธุรกิจร้านอาหารก่อตั้งและดำเนินกิจการโดย โจ อัลฟอร์ด ตั้งอยู่ที่เมือง Lawrence, Kansas USA เป็นร้านอาหารเช้า เปิดบริการ 07.00 เสริฟอาหารเช้าแบบร้านอาหารทั่วไป โดยมีเมนูอาหารเช้าให้เลือกเช่น ไข่,เบคอน,ซุป, บิสกิต, ขนมปังปิ้ง, กาแฟ ,น้ำส้ม ความน่าสนใจของร้านอาหารนี้ ไม่ปฎิเสธคนจน กรรมกร แรงงานต่างด้าว หรือคนไร้บ้าน เขาขายอาหารที่ราคาไม่แพง แต่มีคุณภาพดี และอิ่มอร่อย
สิ่งที่ทำให้เธอเป็นจุดสนใจเพราะเงินในมือที่มีไม่มากพอ ทำให้ไม้สามารถเลือกชุดอาหารที่มีในเมนูได้ ยิ่งทำให้เธอประหม่าไปใหญ่ แต่เรื่องนี้จบสวย เพราะมีคุณป้าใจดีท่านหนึ่ง ที่ยืนต่อคิวในแถว อาสาเข้าช่วยเหลือ ให้คำแนะนำพร้อมออกเงินส่วนต่างให้เธอได้ซื้อแบบที่ต้องการกลับบ้าน ฟังเรื่องนี้อาจจะทำให้เราคิดสงสัยว่าทำไมคนจนแบบเธอ ต้องอยากมากินของแพงเกินฐานะแบบนี้ด้วย แต่สิ่งที่ผมได้ยินเธอบอกกับคุณป้าท่านนั้น หลังจากยกมือไหว้ขอบคุณ คือ ที่เธอมาซื้อเพราะวันนี้เป็นวันเกิดของลูกชาย ที่บ่นอยากกินมานานหลายปี แต่เธอไม่มีโอกาสซื้อให้ วันนี้เลยรวบรวมเงิน รวบรวมความกล้าเข้ามาซื้อทั้งอาหารและแลกซื้อของเล่นที่แถม ไปให้เป็นของขวัญลูกชาย
บางครั้ง ภาพความไม่เท่าเทียมกันในสังคมก็ยังมีให้เราเห็นได้เรื่อยๆ ฐานะการเงิน ดูจะกลายเป็นเครื่องวัดคุณค่าความเป็นคนมากกว่าจิตใจ เหตุการณ์นี้ทำให้ผมนึกถึงเรื่องของ ชายคนหนึ่งในอีกฝากของโลก คนที่ค้นพบว่าเขาต้องการทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสังคม แล้วก็ออกเดินตามความเชื่อ เปิดร้านอาหารเล็กๆ ทำสิ่งที่ตนเองรัก และยังได้ช่วยเหลือผู้อื่น
JUBILEE CAFE เป็นธุรกิจร้านอาหารก่อตั้งและดำเนินกิจการโดย โจ อัลฟอร์ด ตั้งอยู่ที่เมือง Lawrence, Kansas USA เป็นร้านอาหารเช้า เปิดบริการ 07.00 เสริฟอาหารเช้าแบบร้านอาหารทั่วไป โดยมีเมนูอาหารเช้าให้เลือกเช่น ไข่,เบคอน,ซุป, บิสกิต, ขนมปังปิ้ง, กาแฟ ,น้ำส้ม ความน่าสนใจของร้านอาหารนี้ ไม่ปฎิเสธคนจน กรรมกร แรงงานต่างด้าว หรือคนไร้บ้าน เขาขายอาหารที่ราคาไม่แพง แต่มีคุณภาพดี และอิ่มอร่อย
แถมให้รอยยิ้มและบริการด้วยคำพูดที่ดี กับคนทุกระดับ ทำให้คนไร้บ้าน หรือคนจนเหล่านั้นรู้สึกดี ไม่รู้สึกต่ำต้อย หรือโดนดูถูกเหมือนกับร้านอาหารอื่นๆ คุณ โจ อัลฟอร์ด ได้พูดถึงเรื่องนี้ ว่า "ถ้าเรากล่าวอรุณสวัสดิ์พร้อมกับเสิร์ฟกาแฟสักแก้วหนึ่งให้กับคนไร้บ้าน สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นกับเขาในรอบสัปดาห์เลยก็ได้" มันทำให้เป็นการ แจกจ่ายความสุข ไปให้กับคนชั้นล่างเหล่านี้
ร้านอาหาร JUBILEE CAFE เปิดบริการ อังคารถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 7.00 เช้าถึง 8.30 ที่สำคัญร้านอาหารนี้ ยังดำเนินการโดยอาสาสมัคร ที่เป็นนักเรียน นักศึกษา ในชุมชน มาช่วยกันบริการ และช่วยพ่อครัวปรุงอาหาร ในร้าน โดยอาสาสมัครเหล่านี้จะต้องมาเตรียมอาหาร ตั้งแต่ 05.00 ของทุกวัน โดยทุกคนจะถูกสอนให้ปฏิบัติกับลูกค้าทุกคน อย่างเท่าเทียม ด้วยความรักและความเมตตา แม้ว่าการแต่งกาย หรือหน้าตาของลูกค้า จะดูไม่ดีเพียงใด
ธุรกิจแบบนี้อาจจะไม่เกิดกำไร มากเท่ากับร้านอาหารหรูๆ ขายอาหารราคาแพงๆให้กับคนรวยๆ แต่ผมก็เชื่อว่า คุณ โจ อัลฟอร์ด แกก็คงมีความสุข ล้นทุกวัน เพราะดูจากวิดีโอ บรรยากาศในร้านอาจจะไม่ดูดี มีระดับ แต่มันเต็มไปด้วยรอยยิ้มและความอบอุ่น ภาพการทักทาย พูดคุย ราวกับเป็นเพื่อนบ้านหรือครอบครัวเดียวกัน แม้แต่ตัวน้องๆนักเรียนที่อาสามาช่วยงาน การได้ทำงานแบบนี้ของเด็กฝรั่ง ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้จักการใช้ชีวิต การช่วยเหลือผู้อื่น และเคารพ เห็นใจคนที่ด้อยกว่าตัวเรา นี่น่าจะเป็นโมเดล "ยิ่งให้ยิ่งได้รับ" ของจริง เพราะเป็นการให้ที่ไม่ได้หวังอะไรตอบแทน ต่างจากพวกยิ่งให้ ยิ่งกอบโกยคืนทีหลัง แบบที่สร้างภาพกันในสังคม
การทำธุรกิจหรือการลงทุน เพื่อหาผลกำไร เราอาจจะไม่จำเป็นต้องมองเพียงผลกำไร ที่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว (แต่แน่นอนว่าย่อมต้องไม่ขาดทุน) ควรตระหนักถึงความสุขใจที่ได้ทำ ถ้ากิจกรรมหรือธุรกิจนั้น สร้างผลกำไรในรูปแบบของความสุข กับตัวเรา และลูกค้าได้แล้วนั้น มูลค่าของผลตอบแทนที่ได้รับ มันอาจจะมีค่ามากกว่าตัวเลขทางบัญชีหลายเท่านัก แถมอิ่มเอมใจทุกครั้งที่ได้ทำ เรียกว่าใช้ยังไงก็ใช้ไม่หมด ต่างจากการมองหาเพียงกำไร จนหลงลืมสำรวจตัวเราเองว่ายังมีความสุขดีไหม? ในสิ่งที่เราทำ หรือว่าสิ่งที่เราทำนั้นไปเบียดเบียน ใครให้ลำบากไหม?
เงินทองทุกคนในโลกล้วนต้องการ ปฏิเสธไม่ได้ หรอกว่าถ้าอยู่ในสังคม สถานะคนธรรมดา เมื่อปราศจากเงินแล้ว จะดำรงค์อยู่ได้โดยสบาย แต่เงินเมื่อมีมาก ต้องการมันมากจนเกิดไป มันย่อมทำให้เราเกิดทุกข์ เลือกที่จะเดินทางสายกลาง ใช้ชีวิตแบบไม่ประมาท ทำสิ่งที่เรารักและมีความสุข เป็นเป้าหมายหลัก ดีที่สุดครับ
อ้างอิงจาก
http://scienceofthetime.com/2012/09/10/jubilee-cafe/
http://www.youtube.com/watch?v=J50r0wNGrh0
บรรยากาศในร้าน
นักเรียนอาสาสมัครในชุมชนที่เข้ามาช่วยงาน
วีดีโอคลิปการให้สัมภาษณ์ของทีมงานและบรรยากาศในร้าน
เงินทองทุกคนในโลกล้วนต้องการ ปฏิเสธไม่ได้ หรอกว่าถ้าอยู่ในสังคม สถานะคนธรรมดา เมื่อปราศจากเงินแล้ว จะดำรงค์อยู่ได้โดยสบาย แต่เงินเมื่อมีมาก ต้องการมันมากจนเกิดไป มันย่อมทำให้เราเกิดทุกข์ เลือกที่จะเดินทางสายกลาง ใช้ชีวิตแบบไม่ประมาท ทำสิ่งที่เรารักและมีความสุข เป็นเป้าหมายหลัก ดีที่สุดครับ
อ้างอิงจาก
http://scienceofthetime.com/2012/09/10/jubilee-cafe/
http://www.youtube.com/watch?v=J50r0wNGrh0