เคยมีคนถามผมว่าทำไมถึงชอบแนวทาง technical analysis คำตอบของผมเรียบง่ายมาก เพราะผมเองเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ ผมชอบสังเกต ชอบติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด เลยเลือกใช้แนวทางนี้ในการลงทุน แต่ผมเองก็ไม่ได้ละเลยเรื่องของพื้นฐาน ไม่เคยคิดว่าเรื่องของพื้นฐานเป็นสิ่งไม่จำเป็น เพราะหมวกอีกใบผมเองผู้ประกอบการ ทำกิจการเล็กๆ ผมเชื่อมั่นในการเติบโตของธุรกิจ ว่าเป็นสิ่งสำคัญและเป็นแรงพลักดันให้เกิด แนวโน้มและรูปแบบการเติบโตของราคาหุ้น ได้เป็นอย่างดี
ถ้ามองอย่างเข้าใจ ไม่ใช่งมงาย จะพบว่า technical analysis แท้จริงก็คือการวิเคราะห์บนโดเมนสามสิ่ง นั้นคือ ราคา ,ปริมาณการซื้อขาย และเวลา เมื่อวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลได้ ก็นำมาตีความ เพื่อช่วยตัดสินใจ ทุกอย่างมันตั้งอยู่บนตัวเลขเชิงคณิตศาสตร์ เป็นการสังเกต ติดตามข้อมูลได้แบบ รายวัน รายนาที ทำให้เราอยู่ใกล้ชิดกับสภาพความเป็นจริงของตลาด
แต่แน่นอนว่าหุ้น ก็คือกิจการ มันหนีไม่พ้นเรื่องของปัจจัยพื้นฐาน ที่มีผลต่อรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น เมื่อกิจการดี ผลประกอบการดี กำไรเติบโต ย่อมส่งผลดีต่อมูลค่าของหุ้น ส่งผลบวกต่อจิตวิทยาของนักลงทุนแนวต่างๆ ทำให้เกิดโมเมนตรัมแรงขับ ของราคา ในทางกลับกันถ้าเกิดผลประกอบการขาดทุน กิจการไม่เติบโต ย่อมมีผลในเชิงลบเช่นกัน ดังนั้นความเข้าใจ พื้นฐานของบริษัท จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อนักลงทุน
ไม่ว่าจะ VI หรือ VS เพราะการรับรู้สภาพของบริษัทและกิจการ จะช่วยเป็นเกาะป้องกันความเสี่ยงที่ดีให้กับเรา สำหรับนักเก็งกำไร ช่วยในเรื่องของ การวิเคราะห์คุณภาพของแนวโน้มราคา เกิดแต้มต่อในการเก็งกำไรเข้าไปอีก ดังนั้นวันนี้ขอนำเรื่องเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานที่ เราควรทำความรู้จักนั้นคือ เรื่องของ "การเพิ่มทุน" มาอธิบายให้ฟังกันคราวๆ
เป้าหมายการเพิ่มทุน
การเพิ่มทุน ก็คือ การหาเงินเพิ่ม บริษัทต้องการเงินจากกระเป๋าของนักลงทุนไปใช้ในการทำธุรกิจ แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาให้ดีคือ วัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุน หุ้นเพิ่มทุนมักมีวัตถุประสงค์หลักดังนี้
1. เพิ่มทุนขยายกิจการ ซื้อกิจการหรือลงทุนด้านการผลิต ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจ, การเพิ่มกำลังผลิต ให้รองรับกับการเติบโตของกิจการในอนาคต แบบนี้ดี ถ้ากิจการบริษัทนั้นมีแนวโน้มเติบโต มีศักยภาพดี มีผลประกอบการดีในอดีตรองรับ
2. เพิ่มเปลี่ยนไลน์ธุรกิจ ผู้บริหารเห็นอนาคตในการขยายกิจการไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่แตกต่างไป เหมือนในช่วงหนึ่ง กิจการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ พลังงานสะอาดมาแรง มีหลายบริษัท เพิ่มทุนไปลงทุนในกิจการพวกนี้ ในกลุ่มนี้ต้องระวังเพราะมันคือการวัดดวง ถ้าทำดีก็ดี ทำเจ๊ง ก็เน่า
3. เพิ่มทุนใช้หนี้ บางบริษัทกิจการไม่ดี ขาดทุนเยอะ เป็นหนี้บาน จ่ายดอกไม่ไหว เลยของเพิ่มทุนไปใช้หนี้ พวกนี้ต้องมองผลงานในอดีตให้ดี เพราะบางบริษัทกิจการแย่ต่อเนื่อง การเพิ่มทุนแบบนี้เหมือนเอาเงินไปถมหนี้ คนที่รับความเสี่ยงเต็มๆและเดือดร้อนก็คือ นักลงทุน แต่ถ้าบริษัทไหนผลงานดี น่าเชื่อถือ การเพิ่มทุนเพิ่มไปใช้นี้จะช่วย รักษากระแสเงินสด และลดการจ่ายดอกเบี้ย แบบนั้นก็เป็นเรื่องที่ดีน่าสนับสนุน
การเพิ่มทุนหนีไม่พ้นเรื่องของ dilution effect การลดลงของราคาหุ้น ส่วนใหญ่ผู้บริหารก็จะมาอัดฉีดความฝัน ความหวัง อัดฉีด miracle ด้วยคำพูดต่างๆนาๆอนาคตดีแน่ คุ้มแน่ ของแบบนี้บางทีก็ยากจะเชื่อลมปากของผู้บริหารได้ทั้งหมด ดังนั้นต้องมองผลงานในอดีตเป็นหลัก โดยเฉพาะผู้ลงทุนที่คิดจะซื้อหุ้นเพิ่ม ในการเพิ่มทุน ปกติการเพิ่มทุนก็จะมีการกำหนดจำนวนหุ้นที่เพิ่ม,ราคาเพิ่มทุนที่ต้องการต่อหุ้น และ ราคาใช้สิทธิ์ของผู้ถือหุ้นเดิม ตรงนี้เป็นข้อมูลที่เราควรศึกษาให้ดีสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงก็คือโอกาสและความคุ้มค่าในการเพิ่มทุนมันจะช่วยเราวิเคราะห์ คุณภาพของแนวโน้มและมองเห็นโอกาสในอนาคต
ขาขึ้น
มองแบบนักเก็งกำไร โดยธรรมชาติส่วนใหญ่ก่อนเพิ่มทุน ราคาหุ้นมักจะโดนลากขึ้นไปให้ราคาในกระดานสูง เป็นธรรมชาติจริงๆ (ทำให้เห็นว่าหุ้นราคาสูง คุ้มค่าในการใช้สิทธิ์) ตรงนี้เป็นข้อได้เปรียบ เข้าเก็งกำไร ได้ในรอบขาขึ้น การขึ้นแบบนี้มักช่วงระยะประมาณ 1-2 สัปดาห์ รูปแบบการเคลื่อนที่ของราคาจะมีการยกตัวรุนแรง มี GAP
แต่ก็มีบางกรณีหุ้นบางตัว โดยเฉพาะหุ้นเล็กๆ มีการโดนทุบ โดยเทขายอย่างหนัก ในรูปแบบขาลงก่อน ประกาศเพิ่มทุน ปกติสาเหตุทำเพื่อเก็บหุ้นในราคาถูกจากกระดาน หรือลดการใช้สิทธิของนักลงทุนทั่วไป
ขาลง
การเพิ่มทุนหนีไม่พ้นการลงของแนวโน้ม แต่จะลงมากลงน้อย รุนแรงแค่ไหน ขึ้นกับพื้นฐานหุ้นตัวนั้นเป็นหลัก เมื่อพอประกาศข่าวออกมาชัดเจนหรือก่อนชัดเจนช่วงข่าวลือ ราคาหุ้นก็จะไหลลง ทำขาลงที่ชัดเจน ลงแรงมี GAP กว้าง ยิ่งเมื่อมีข้อมูลชัดการคำนวณ dilution และราคาเป้าหมายออกมา ก็จะมีทั้งนักลงทุนที่ไม่ต้องการใช้สิทธิ์ทำการ SAP (ขายทำกำไรแล้วซื้อกลับ) + กลุ่มนักเก็งกำไรที่ทำ Short Selling หุ้น + มีขาทุบแจมเพื่อเนียนเก็บหุ้นราคาถูก ดังนั้นราคาก็จะเข้าช่วงขาลง อาจจะยาวไปจนถึงวัน XR และหลัง XR แน่นอนว่ามีการลงอีกรอบจากคนที่ขายหุ้นเก่าเพิ่มสภาพคล่องตัวเอง ไปซื้อหุ้นใหม่
เมื่อราคานิ่งเข้าสเถียร์ ทุกอย่างก็จะเป็นปกติ แต่สำหรับนักเก็งกำไรระยะยาว ระยะกลาง ถ้าการเพิ่มทุนนั้นเป็นบวก อาจจะติดตามหุ้นตัวนั้น แล้วหาจังหวะซื้อ เพื่อทำกำไรในระยะยาว ระยะกลางได้เช่นกัน สังเกตได้จาก volume พวกนี้จะมาก และ down side จาก high เดิมจะไม่เยอะ ส่วนระยะการดีดตัว จาก dilution effect มักใช้เวลา เพื่อพิสูจน์ว่าการเพิ่มทุนคุ้มค่า หรือกิจการโตแน่นอนจากอนาคต ไม่เหมาะกับการเก็งกำไรระยะสั้น ที่นักเก็งกำไรคาดหวังให้ราคาดีด กลับมาอย่างรวดเร็ว
ส่วนถ้าตัวไหนเพิ่มทุนแล้วเน่ามากๆ upside มีน้อย ก็ควรจะหลีกเลี่ยงอย่าไปทู่ซี้ กับมัน พวกนี้จะเข้าขาลงรุนแรง ที่สำคัญถ้าเป็นนักเก็งกำไร แล้วเกิดติดดอยหุ้นเพิ่มทุน ถ้าไม่คิดจะ stop loss มีโอกาสจะโดนแช่แข็งบนดอยได้นานเช่นกัน
การเพิ่มทุนเป็นได้ทั้งโอกาสและวิกฤติ อย่าไปมองว่าหุ้นเพิ่มทุนเป็นข่าวร้ายแง่ร้ายเสมอไป ต้องมองให้แตกว่าการเพิ่มทุนนั้นคุ้มค่า ส่วนนักเก็งกำไรควรเข้าใจผลของการเพิ่มทุน เพื่อนำมาวิเคราะห์คุณภาพแนวโน้ม ส่วนใหญ่พลาดทั้งในรูปแบบการติดดอย หรือการไปติดกับ sideway ในช่วงหลัง XR ที่ราคาจะนิ่งในช่วงนั้น ดังนั้นการเทรดหุ้นที่จะเพิ่มทุน ต้องใช้ความระมัดระวังและอย่าประมาทครับ
ไม่ว่าจะ VI หรือ VS เพราะการรับรู้สภาพของบริษัทและกิจการ จะช่วยเป็นเกาะป้องกันความเสี่ยงที่ดีให้กับเรา สำหรับนักเก็งกำไร ช่วยในเรื่องของ การวิเคราะห์คุณภาพของแนวโน้มราคา เกิดแต้มต่อในการเก็งกำไรเข้าไปอีก ดังนั้นวันนี้ขอนำเรื่องเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานที่ เราควรทำความรู้จักนั้นคือ เรื่องของ "การเพิ่มทุน" มาอธิบายให้ฟังกันคราวๆ
เป้าหมายการเพิ่มทุน
การเพิ่มทุน ก็คือ การหาเงินเพิ่ม บริษัทต้องการเงินจากกระเป๋าของนักลงทุนไปใช้ในการทำธุรกิจ แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาให้ดีคือ วัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุน หุ้นเพิ่มทุนมักมีวัตถุประสงค์หลักดังนี้
1. เพิ่มทุนขยายกิจการ ซื้อกิจการหรือลงทุนด้านการผลิต ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจ, การเพิ่มกำลังผลิต ให้รองรับกับการเติบโตของกิจการในอนาคต แบบนี้ดี ถ้ากิจการบริษัทนั้นมีแนวโน้มเติบโต มีศักยภาพดี มีผลประกอบการดีในอดีตรองรับ
2. เพิ่มเปลี่ยนไลน์ธุรกิจ ผู้บริหารเห็นอนาคตในการขยายกิจการไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่แตกต่างไป เหมือนในช่วงหนึ่ง กิจการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ พลังงานสะอาดมาแรง มีหลายบริษัท เพิ่มทุนไปลงทุนในกิจการพวกนี้ ในกลุ่มนี้ต้องระวังเพราะมันคือการวัดดวง ถ้าทำดีก็ดี ทำเจ๊ง ก็เน่า
3. เพิ่มทุนใช้หนี้ บางบริษัทกิจการไม่ดี ขาดทุนเยอะ เป็นหนี้บาน จ่ายดอกไม่ไหว เลยของเพิ่มทุนไปใช้หนี้ พวกนี้ต้องมองผลงานในอดีตให้ดี เพราะบางบริษัทกิจการแย่ต่อเนื่อง การเพิ่มทุนแบบนี้เหมือนเอาเงินไปถมหนี้ คนที่รับความเสี่ยงเต็มๆและเดือดร้อนก็คือ นักลงทุน แต่ถ้าบริษัทไหนผลงานดี น่าเชื่อถือ การเพิ่มทุนเพิ่มไปใช้นี้จะช่วย รักษากระแสเงินสด และลดการจ่ายดอกเบี้ย แบบนั้นก็เป็นเรื่องที่ดีน่าสนับสนุน
การเพิ่มทุนหนีไม่พ้นเรื่องของ dilution effect การลดลงของราคาหุ้น ส่วนใหญ่ผู้บริหารก็จะมาอัดฉีดความฝัน ความหวัง อัดฉีด miracle ด้วยคำพูดต่างๆนาๆอนาคตดีแน่ คุ้มแน่ ของแบบนี้บางทีก็ยากจะเชื่อลมปากของผู้บริหารได้ทั้งหมด ดังนั้นต้องมองผลงานในอดีตเป็นหลัก โดยเฉพาะผู้ลงทุนที่คิดจะซื้อหุ้นเพิ่ม ในการเพิ่มทุน ปกติการเพิ่มทุนก็จะมีการกำหนดจำนวนหุ้นที่เพิ่ม,ราคาเพิ่มทุนที่ต้องการต่อหุ้น และ ราคาใช้สิทธิ์ของผู้ถือหุ้นเดิม ตรงนี้เป็นข้อมูลที่เราควรศึกษาให้ดีสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงก็คือโอกาสและความคุ้มค่าในการเพิ่มทุนมันจะช่วยเราวิเคราะห์ คุณภาพของแนวโน้มและมองเห็นโอกาสในอนาคต
ขาขึ้น
มองแบบนักเก็งกำไร โดยธรรมชาติส่วนใหญ่ก่อนเพิ่มทุน ราคาหุ้นมักจะโดนลากขึ้นไปให้ราคาในกระดานสูง เป็นธรรมชาติจริงๆ (ทำให้เห็นว่าหุ้นราคาสูง คุ้มค่าในการใช้สิทธิ์) ตรงนี้เป็นข้อได้เปรียบ เข้าเก็งกำไร ได้ในรอบขาขึ้น การขึ้นแบบนี้มักช่วงระยะประมาณ 1-2 สัปดาห์ รูปแบบการเคลื่อนที่ของราคาจะมีการยกตัวรุนแรง มี GAP
แต่ก็มีบางกรณีหุ้นบางตัว โดยเฉพาะหุ้นเล็กๆ มีการโดนทุบ โดยเทขายอย่างหนัก ในรูปแบบขาลงก่อน ประกาศเพิ่มทุน ปกติสาเหตุทำเพื่อเก็บหุ้นในราคาถูกจากกระดาน หรือลดการใช้สิทธิของนักลงทุนทั่วไป
ขาลง
การเพิ่มทุนหนีไม่พ้นการลงของแนวโน้ม แต่จะลงมากลงน้อย รุนแรงแค่ไหน ขึ้นกับพื้นฐานหุ้นตัวนั้นเป็นหลัก เมื่อพอประกาศข่าวออกมาชัดเจนหรือก่อนชัดเจนช่วงข่าวลือ ราคาหุ้นก็จะไหลลง ทำขาลงที่ชัดเจน ลงแรงมี GAP กว้าง ยิ่งเมื่อมีข้อมูลชัดการคำนวณ dilution และราคาเป้าหมายออกมา ก็จะมีทั้งนักลงทุนที่ไม่ต้องการใช้สิทธิ์ทำการ SAP (ขายทำกำไรแล้วซื้อกลับ) + กลุ่มนักเก็งกำไรที่ทำ Short Selling หุ้น + มีขาทุบแจมเพื่อเนียนเก็บหุ้นราคาถูก ดังนั้นราคาก็จะเข้าช่วงขาลง อาจจะยาวไปจนถึงวัน XR และหลัง XR แน่นอนว่ามีการลงอีกรอบจากคนที่ขายหุ้นเก่าเพิ่มสภาพคล่องตัวเอง ไปซื้อหุ้นใหม่
เมื่อราคานิ่งเข้าสเถียร์ ทุกอย่างก็จะเป็นปกติ แต่สำหรับนักเก็งกำไรระยะยาว ระยะกลาง ถ้าการเพิ่มทุนนั้นเป็นบวก อาจจะติดตามหุ้นตัวนั้น แล้วหาจังหวะซื้อ เพื่อทำกำไรในระยะยาว ระยะกลางได้เช่นกัน สังเกตได้จาก volume พวกนี้จะมาก และ down side จาก high เดิมจะไม่เยอะ ส่วนระยะการดีดตัว จาก dilution effect มักใช้เวลา เพื่อพิสูจน์ว่าการเพิ่มทุนคุ้มค่า หรือกิจการโตแน่นอนจากอนาคต ไม่เหมาะกับการเก็งกำไรระยะสั้น ที่นักเก็งกำไรคาดหวังให้ราคาดีด กลับมาอย่างรวดเร็ว
ส่วนถ้าตัวไหนเพิ่มทุนแล้วเน่ามากๆ upside มีน้อย ก็ควรจะหลีกเลี่ยงอย่าไปทู่ซี้ กับมัน พวกนี้จะเข้าขาลงรุนแรง ที่สำคัญถ้าเป็นนักเก็งกำไร แล้วเกิดติดดอยหุ้นเพิ่มทุน ถ้าไม่คิดจะ stop loss มีโอกาสจะโดนแช่แข็งบนดอยได้นานเช่นกัน
การเพิ่มทุนเป็นได้ทั้งโอกาสและวิกฤติ อย่าไปมองว่าหุ้นเพิ่มทุนเป็นข่าวร้ายแง่ร้ายเสมอไป ต้องมองให้แตกว่าการเพิ่มทุนนั้นคุ้มค่า ส่วนนักเก็งกำไรควรเข้าใจผลของการเพิ่มทุน เพื่อนำมาวิเคราะห์คุณภาพแนวโน้ม ส่วนใหญ่พลาดทั้งในรูปแบบการติดดอย หรือการไปติดกับ sideway ในช่วงหลัง XR ที่ราคาจะนิ่งในช่วงนั้น ดังนั้นการเทรดหุ้นที่จะเพิ่มทุน ต้องใช้ความระมัดระวังและอย่าประมาทครับ