ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชีวิตที่ไม่ยอมแพ้

คุณเคยเหนื่อยและท้อแท้กับงานที่ทำบ้างไหมครับ??? ดูเหมือนจะเป็นคำถามบ้านๆที่หลายคนคงเคยพบ หรือเคยตั้งคำถามกับตัวเอง สักครั้งในชีวิต การจะก้าวข้ามอุปสรรค์และความยากลำบากนี้ไปได้ก็ต้องอาศัยความเพียง พยายามอย่าถึงที่สุด และแน่นอนว่าคงไม่มีอะไรดีกว่าการพยายามปลุกพลังบวกในใจเราให้ลุกขึ้นสู่ต่อไป



ผมมีเรื่องราวดีๆของ 2 ตัวอย่างชีวิตที่ไม่ยอมแพ้มาฝากกัน ทั้งสองคนนี้เป็นการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่กับตัวเอง ถึงแม้จะเป็นความสำเร็จที่ได้มาจะไม่ได้เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ แต่ก็เป็นชัยชนะก้าวแรกสำหรับเส้นทางสู่ความสำเร็จในอนาคต


คนแรกที่ผมจะขอนำมาเป็นตัวอย่างคือ คุณ Oscar Leonard Carl Pistorius เกิดที่เมืองโยฮันเนสเบริก ประเทศแอฟริกาใต้ เขาพิการตั้งแต่เกิดไม่ขาทั้งสองข้าง ตั้งแต่ใต้หัวเข่า เริ่มใส่ขาเทียมตั้งแต่ 1 ขวบเป็นคนรักกีฬา ชอบเล่นกีฬาหลายประเภท แม้จะพิการแต่ใจไม่เคยท้อเขาฝึกฝนและทุ่มเท โดยเฉพาะการวิ่งที่ ออสการ์ เขาชนะการวิ่งแข่งขันวิ่ง 100 เมตรในกีฬาของโรงเรียน ซึ่งแข่งกับคนปกติ ด้วยเวลา 11.72 วินาที ดีกว่าสถิติของนักกีฬาพาราลิมปิกอยู่ที่ 12.20 วินาที ในตอนนั้นเขาเริ่มได้รับโอกาสในการกีฬา โดยมีผู้สนับสนุนได้มองขาเทียมแบบ Flex-Foot Cheetahs ซึ่งเป็นโครงขาเทียมรูปตัวเจ และเขาก็ใช้มันลงแข่งขันกีฬาฤดูร้อนของคนพิการในปี 2004 จนเข้าเส้นชัยได้ที่ 3



ความฝันของ  ออสการ์ ไม่ใช่เพียงแข่งเพื่อชัยชนะ แต่เขาแข่งขันเพื่อบอกให้ทุกคนรู้ว่า เขาไม่ใช่แค่คนพิการ เขาไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา ในปี 2005 เขาขอทดลองเข้าลงแข่งขันกับนักกีฬาปกติในรายการระดับประเทศชื่อ South African championships ซึ่งสิ่งมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้นเมื่อเขาเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 5 เอาชนะนักวิ่งปกติระดับท๊อปของประเทศ



ในปี 2007 ออสก้าร์ก็ตัดสินใจลงแข่งขันวิ่งระดับนานาชาติกับนักกีฬาปกติคนอื่นๆอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในรายการ IAAF Golden Gala ที่กรุงโรม ในปีนั้นเอง ดร.เบิร์กแมน รายงานต่อคณะกรรมการ IAAF ว่า ขาเทียมของออสการ์ทำให้เขาได้เปรียบนักกีฬาคนอื่นๆที่ร่างกายปกติอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้คณะกรรมการตัดสินไม่ให้เขาใช้ขาเทียม ลงแข่งในรายการแข่งขันที่จัดโดย IAAF เพราะเป็นการเอาเปรียบนักกีฬาปกติ แต่ด้วยความไม่ยอมแพ้ ซึ่งมีผลทำให้เขาไม่สามารถลงแข่งขันโอลิมปิค 2008  ออสก้าร์ไม่ยอมแพ้เขานำเรื่องขึ้นฟ้องที่ศาลอนุญาโตตุลาการเพื่อการกีฬา เพื่อหาข้อไกล่เกลี่ย สุดท้าย ศาลตัดสินให้ IAAF แพ้โดยขาเทียมนั้นไม่มีผลต่อความได้เปรียบและทำให้ออสก้าร์สามารถลงแข่งขันได้ แต่อย่างไรก็ดี ในโอลิมปิกปี 2008 ออสก้าร์ก็พบกับความผิดหวังที่สถิติของเขายังไม่ดีพอที่จะได้รับคัดตัวเป็นตัวแทนประเทศ



ออสการ์ไม่เคยยอมแพ้เขายังซ้อมอย่างหนักและเดินสายแข่งขันในรายการต่าง โดยสามารถพิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นศักยภาพอันไม่จำกัดของตัวเขา โดยเฉพาะที่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกคนพิการปี 2008 เขาสามารถชนะในการแข่งขันวิ่งระยะทาง 100, 200 และ 400 เมตร กวาดเหรียญทองกลับบ้าน ในปี 2012 เขายังคงร่วมแข่งขันรายการในประเทศ โดยชนะและทำเวลาได้ถึง 45.20  วินาที ซึ่งดีกว่าเวลามาตรฐาน เอ สแตนดาร์ด ที่ 45.30 วินาที เพื่อที่จะหวังให้ได้รับเลือกติดทีมชาติอเมริกาใต้ ไปแข่งขันโอลิมปิกในปี 2012


เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการไม่ยอมแพ้ ขีดจำกัดของร่างกาย ออสก้าร์เป็นคนพิการ ที่ไม่ยอมรับว่าตนเองพิการ เขาต้องซ้อมหนักและอดทนกว่านักกีฬาปกติมาก ต้องสู้กับการดูถูกจากเพื่อนนักกีฬา เพื่อสร้างโอกาสให้กับตัวเอง ที่สำคัญชัยชนะของเขาในอนาคตจะบอกกับโลกว่า การวิ่งอาจจะไม่ใช่เฉพาะกีฬาของคนที่มีสองขาอีกต่อไป เพราะคนพิการที่ไม่ยอมแพ้ก็สามารถลงแข่งขันและเอาชนะได้


คนที่สอง คือ Dawn Loggins เธอเป็นเด็กสาววัย 18 เติบโตและอยู่ที่ North Carolina เธอต่อสู้ชีวิตมาตั้งแต่เด็ก เติบโตมากับครอบครัวที่แตกแยก ชนชั้นกรรมกรของอเมริกา พ่อแม่ติดยา ตกงาน เร่ร่อน เธออยู่ในสลัมห้องเช่าเล็กๆ ที่ไม่มีเงินจ่ายค่า น้ำค่า ค่าไฟ และค่าแก๊ส เคยต้องใช้ชีวิตข้างถนนเพราะถูกไล่ออกจากห้องเช่าเนื่องจากแม่ไม่มีเงินจ่าย และถูกทิ้งให้อยู่คนเดียวลำพัง ต้องหาอาหาร กินเอง ชีวิตเธอไม่มีคำว่า "สบาย" แต่ด้วยความรักดี และไม่ยอมแพ้ เธอไม่นำพาตัวเองไปสู้โลกมืดแบบเด็กมีปัญหาทั่วไป แต่เธอกับใช้อุปสรรค์และความลำบาก เป็นพลังด้วยความคิดว่าสักวันเธอจะต้องมีชีวิตที่ดีกว่านี้ เธอเป็นเด็กขยันเรียน ตั้งใจเรียนมีผลการเรียนดี หลายเธอที่ได้ A เกือบทุกวิชาแม้จะต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย 



ตอนเด็กๆเธอใช้ชีวิตอยู่กับยายจนๆในห้องเช่าเล็กๆ สกปรก ไม่ค่อยได้อาบน้ำ มีชุดนักเรียนเพียงชุดเดียวและต้องใส่ซ้ำๆเธอต้องนั่งอ่านหนังสือทำการบ้านจากเทียนไขเพราะไม่มีไฟฟ้า, เธอต้องมาอาบน้ำที่โรงเรียนเพราะที่บ้านไม่มีน้ำประปา เธอโตขึ้นมาโดยปราศจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน  


ส่วนใหญ่เธอใช้ชีวิตลำพังแบบดูแลตัวเอง และเมื่อเข้าโรงเรียนมัธยมเธอได้มาอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ แต่ก็ต้องทำงานพิเศษเพื่อใช้จ่าย ปัจจุบันเธออายุ 18 เธอพักอยู่กับเพื่อน นอนบนพื้น ไม่มีพ่อแม่ดูแล แม่และพ่อเลี้ยงทิ้งเธอไป นานๆจะกลับมาเยี่ยมทั้งสองใช้ชีวิตเร่รอนแบบคนไร้บ้านย้ายไปทำงานเมืองต่างๆ ชีวิตมัธยมปลายของเธอที่ Burns High School ก็แตกต่างจากวัยรุ่นทั่วไป ด้วยความที่ยากจนทำให้ไม่มีเงินใช้จ่าย ครูหลายคนต่างช่วยบริจาคเสื้อผ้า และอาหารให้เธอ นอกจากที่เธอจะได้ทุนค่าเรียนจากโรงเรียนแล้ว 


เธอยังทำงานพิเศษที่โรงเรียน เป็นภารโรงในโครงการช่วยเหลือของโรงเรียน เธอทำความสะอาดเธอต้องมาโรงเรียนแต่เช้าเกือบ 3 ชั่วโมงก่อนโรงเรียนเข้า เพื่อใช้เวลาทำความสะอาดห้องเรียน โรงยิมและห้องน้ำ จากนั้นตอนเย็นเธอก็ต้องทำความสะอาดห้องเรียนอีกรอบ แน่นอนว่าคงไม่ต้องพูดถึงว่า เธอต้องเหนื่อยและอายแค่ไหน ที่ต้องโดนดูถูกจากเพื่อนๆ เวลาที่เห็นเธอทำงาน แต่เธอก็ไม่ท้อ เปลี่ยนความลำบากเป็นพลังในการเรียนและการทำงาน 



ผลการเรียนดีเด่นระดับท๊อปของโรงเรียน เธอยังเป็นนักกิจกรรมเป็นประธานชมรมถ่ายภาพ เป็นนักกีฬาวิ่งคอสคันทรี เป็นอาสาสมัครรับใช้สังคม และทำงานต่างๆมากมาย ทำให้เธอสามารถเข้ามหาวิทยาลัยที่ดีได้ เธอสมัครเข้าเรียนต่อใน 4 มหาวิทยาลัยคือ University of North Carolina , North Carolina State University; Davidson College; and Warren Wilson College. และสุดท้ายเธอได้ส่งใบสมัครไปที่ Harvard 


เธอได้รับการตอบรับจากทั้งสีมหาวิทยาลัยและแน่นอนว่า หนึ่งในนั้นคือ Harvard เธอได้รับทุนเรียนต่อเต็ม นี่เป็นเพียงความสำเร็จแรกของเธอ ยังมีความท้าทายมากมายที่รอเธออยู่ เพราะเธอเป็นเพียงผู้หญิงที่ไม่เคย มีโอกาสได้เดินทางออกนอกเมือง ไม่เคยนั่งรถไฟใต้ดิน ไม่เคยใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ ดังนั้นความท้าทายมากมายยังคงรอเธอ แต่เธอเชื่อว่าคงไม่มีอะไรยากไปกว่าที่เธอเคยผ่านมาอีกแล้ว



ทั้งสองตัวอย่างหวังว่าจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อนๆ ได้ต่อสู้กันต่อไปนะครับ ผมเชื่อว่าหลายๆคนโชคดีกว่าทั้งสองคนนี้มาก  ผมเชื่อในความสามารถในการเอาชนะขีดจำกัดของตัวเอง ดังนั้นถ้าเราคิดจะประสบความสำเร็จ ทั้งในด้านธุรกิจ การลงทุน หรือแม้แต่เรื่องอื่นๆ คงไม่มีอะไรที่เราจะทำไม่ได้ ถ้าตั้งใจทำจริงๆ





อ้างอิงจาก
- http://edition.cnn.com/2012/06/07/us/from-janitor-to-harvard/index.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Oscar_Pistorius


รูปประกอบจาก internet