ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิกฤติการเงินโลกกับตลาดหุ้นไทย # 1

จับเอาประเด็นนี้มาเขียนลงรายละเอียด เพราะว่าช่วงนี้ผมเชื่อว่าหลายคนมักจะใจจดใจจ่อกับเรื่องวิกฤติหนี้ของ EU โดยเฉพาะประเด็นของกรีซที่กำลังลูกผีลูกคน คำถามส่วนใหญ่คือ ถ้ามันเกิดวิกฤติจริงๆจะทำยังไง??? ยิ่งถ้าเป็นมือใหม่หรือเป็นแมงเม่าหัดบิน ที่เพิ่งเข้าตลาดมาช่วงซูเปอร์บูมหลังปี 2009 กลุ่มนี้ยิ่งน่าเป็นห่วงเพราะไม่เคยมีประสบการณ์ในตลาดหุ้นช่วงผ่านวิกฤติการเงินโลก ทำให้มีโอกาสจะบาดเจ็บล้มตายสูง



หลังวิกฤติการเงินซับไพร์มปี 2008 ดัชนีตลาดหุ้นไทย(SET)  ร่วงลงไปจุดต่ำสุดที่ 384 จุด จากจุดสูงสุดก่อนเกิดวิกฤติที่ 916 จุด เมื่อวิกฤติผ่านพ้นดัชนีก็ฟื้นต้ว บวกกับเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้า และนโยบาย QE1 และ QE2 ปัจจัยที่พาให้ตลาดหุ้นทะยานที่ 1200 จุด จนกลายมาเป็นที่นิยม เป็นสรวงสวรรค์ของคนที่อยากรวย หลายคนซื้อหุ้นถือไว้ ก็กำไรมหาศาล หลายร้อยเปอร์เซ็นต์ บ้างก็รับสมอ้างกลายเซียนหุ้น เป็นกูรู ผู้ประสบความสำเร็จในการลงทุนไปก็มี


ตลาดหุ้นมันก็อยู่บนกฏของธรรมชาติ มีขึ้นมีลง มีเกิด และมีดับ เป็นวัฏจักร มันเป็นความไม่แน่นอนของกระแสเงินที่เขามาขับเคลื่อนตลาด จากปัจจัยต่างๆ วัฏจักรใหญ่ของการเคลื่อนไหวตลาดหุ้น เราสามารถอ้างอิงได้กับการเกิดวิกฤติการเงินโลกที่ช่วง 20 ปีหลัง มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย และใช้เวลาห่างกันไม่นาน เหมือนอดีต หลายคนที่ไม่ได้ศึกษาภาพรวมของเศรษฐกิจแบบ Macro View หรือติดตามประวัติศาสตร์วิกฤติการเงินโลก อาจจะยังไม่เห็นภาพ และยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญเหตุการณ์เหล่านี้ ดังนั้นมาลองดูปรากฏการณ์วิกฤติการเงินโลกครั้งสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นกันดีกว่า


1. Tulip Mania (The Netherlands, 1637)


เป็นวิกฤติฟองสบู่ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าในประเทศ เนเธอรแลนด์ ที่มีการเก็งกำไรสัญญาล่วงหน้าดอกทิวลิป ในช่วงที่ทิวลิป เป็นที่นิยมและเป็นสินค้าที่มีความต้องการมากในเอเซีย ยุโรปและอเมริกา จนขาดตลาด ไม่พอขายในประเทศและส่งออก ว่ากันว่าช่วงนั้นทิวลิปประเภทที่มีสีสันแปลก มีกลิ่นที่หอม จะมีราคาสูงขนาดสามารถเทียบเท่ากับบ้านหนึ่งหลัง เลยทีเดียว ทำให้ประชาชนสนใจแห่เข้ามาเก็งกำไรสัญญาล่วงหน้าการซื้อขายทิวลิป จนเกิดฟองสบู่ และเมื่อทิวลิปราคาดี เกษตรกรก็ปลูกมาก ประกอบกับความต้องการในตลาดลดลงสุดท้ายฟองสบู่ก็แตก




 2.  Bankers’ panic (1907)


วิกฤติการเงินในสหรัฐเกิดจากหนี้เสีย การขาดสภาพคล่องของแบงค์และสถาบันการเงินในประเทศ ทำให้สถาบันการเงิน 9 แห่งต้องล้มละลาย ผู้คนแห่ถอนเงินฝาก ส่งผลโดยตรงต่อตลาดหุ้นทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐ ร่วงลงถึง 50% จากจุดสูงสุดในปี 1906 เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ จนปี 1908 รัฐบาลประกาศตั้ง Federal Reserve system (FED) ขึ้นมาแก้ปัญหา และดูแลภาคการเงินการธนาคาร ตลอดจนกำหนดนโยบายการเงินการคลัง เพื่อเกิดสเถียรภาพทางเศรษฐกิจ



3. German hyperinflation (1922)


ปัญหาเงินเฟ้่อระดับสูงในประเทศเยอรมันและประเทศยุโรป หลังจากเกิดภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันมีปัญหาเศรษฐกิจ ประกอบกับเป็นหนี้กับต่างชาติจำนวนมาก จนต้องผิดนัดชำระหนี้จำนวนมหาศาล หลายพันล้านเหรียญ จนทำให้ความน่าเชื่อถือของค่าเงินลดลง เงินด้อยค่า อัตราเงินเฟ้อสูง เกือบ 1 เท่าตัวจากปีก่อน ทำให้เงินในมือของประชาชนและธนาคารด้อยค่าลงไป ประชาชนจำนวนมากอดยาก เดือดร้อน เพราะไม่สามารถนำเงินที่มีไปซื้ออาหาร และสิ่งของได้ดังเดิม หลายเมือง รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือ 

เงินกลายเป็นเศษกระดาษ ประชาชนนำมาเผา แก้ความหนาว เพราะไม่มีสามารถซื้อไม้ฟืนหรือแก๊ส มาใช้ได้ 





4.  Great Depression : Wall Street Crash (1929) 


ยุคฟองสบู่ตลาดหุ้นวอลสตีทแตก ยุคนั้นมีนักลงทุนจำนวนมากที่กระโจนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ในช่วงที่ตลาดหุ้นขาขึ้น หลังฟื้นต้วจากการซบเซาของภาวะเศรษฐกิจ ราคาหุ้นพุ่วงเกินพื้นฐานหลายเท่าตัว นักลงทุนจำนวนมากอยากรวย จึงกู้เงินจากวาณิชธนกิจและธนาคารมาซื้อหุ้น เกิดเป็นหนี้ในระบบจำนวนมากถึง 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ธนาคารและวาณิชธนกิจต่างนำเงินออมมาลงทุนในหุ้น จนสุดท้ายเมื่อสถานการณ์สุกงอม บริษัทหลายแห่งผลประกอบการไม่ดีดังคาด ราคาหุ้นตกร่วง ดิ่งสู้พื้น ทำให้เกิดการ panic ประกอบกับการทำกำไร short selling ทำให้ตลาดหุ้น ฟองสบู่แตก นักลงทุนจำนวนมากและสถาบันการเงิน ต่างขาดทุนหมดตัวไปตามๆกัน เกิดความตื่นตระหนกแห่ถอนเงินและเกิดความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจสหรัฐอย่างหนัก


GDP ตกลงจาก $103.6bn ในปี 1929, เหลือ $66bn ในปี 1934 ทำให้ตลาดหุ้นและภาคเศรษฐกิจสหรัฐรซบเซาหลังจากนั้นอีกเกือบ 10 ปีกว่าที่ทุกอย่างจะคลี่คลายในปี 1939





5. oil crisis (1973)


ยุคที่เกิดสงครามระหว่างชาติอาหรับและอิสราเอล โดยประเทศ ซีเรียและอียิป ได้ทำสงครามโจมตีอิสราเอล ในชื่อที่เรียกว่าสงคราม 20 วัน ทำให้ชาติอาหรับตอบโต้ด้วยการบอยคอร์ด ไม่ส่งน้ำมันให้ชาติที่สนับสนุนอิสราเอล


นอกจากนั้นเหตุการณ์นี้ทำให้ชาติอาหรับตระหนักถึงภัยคุกคาม จึงรวมตัวกันในชื่อ OPEC เพื่อกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การส่งออกน้ำมัน รวมถึงการสำรองน้ำมัน และการกำหนดโค้วต้าการผลิตน้ำมันในประเทศสมาชิก เพื่อให้ราคาน้ำมันมีเอกภาพ ไม่เกิดการตัดราคา แย่งกันขาย และเพื่อให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นเพื่อที่จะสามารถนำเงิน มาใช้ในการสะสมอาวุธยุทธโธปกรณ์ในการป้องกันประเทศ

ในปี 1974 ราคาน้ำมันได้พุ่งสูงขึันทันที ส่งผลให้กดดันตลาดหุ้นและเศรษฐกิจโลก เนื่องจากน้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการดำเนินธุรกิจ ราคาสินค้าแพงขึ้นประชาชนเดือดร้อน โดยเฉพาะอเมริกาซึ่งเป็นชาติพันธมิตรของอิสราเอล ตลาดหุ้นอเมริกา NYSE ร่วงลงถึง 40% สูญเสียมูลค่าลงถึง $97bn ใน 6 สัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนกังวลและตื่นตระหนกในเรื่องราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น





6. United States Savings and Loan Crisis (1980s-1990s)

อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ระยะสั้น เพิ่มสูงขึ้น จากยุคที่การปล่อยกู้ และรับจำนองเฟื่องฟู แต่ละธนาคารและสถาบันการเงิน มีเงินสดเยอะ เลยทำการปล่อยกู้และรับจำนองปล่อยกู้สินเชื่อ แข่งกันทำกำไรจากดอกเบี้ยเงินกู้ โดยปล่อยกู้ให้กับลูกค้ารายย่อย ไปซื้อบ้าน ซื้อรถ ตามแบบอเมริกันดรีม รวมถึงปล่อยกู้ในภาคธุรกิจ เมื่อความต้องการเงินกู้มาก การเพิ่มอัตราดอกเบี้ย S&L ก็สูง จนสุดท้าย เกิดปัญหาสภาพคล่อง ผู้กู้ไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ย ปัญหาหนี้เสีย บ้านติดจำนองจำนวนมาก ราคาอสังหาริมทรัพย์ตกลง จนสุดท้าย  747 สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้และรับจำนองในอเมริกา ต้องล้มละลาย เป็นความเสียหายสูง $87.9 billion สร้างผลกระทบไปทั่งอุตสาหกรรมการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และเศรษฐกิจของประเทศ ตลาดหุ้นอเมริกาได้รับความเสียหายอย่างหนักอีกครั้ง






อ่านตอนที่ 2 ต่อ เรื่องราววิกฤติการเงินโลก ยุค 90 ครับ