ธรรมชาติของมนุษย์เราทุกคนย่อมต้องการเป็นที่ยอมรับ แน่นอนว่าการจะเป็นที่ยอมรับ และมีความน่าเชื่อถือได้นั้น ความคิดและการตัดสินใจเป็นเรื่องสำคัญ เรามักพึงพอใจกับผลการตัดสินใจที่ "ถูก" มากกว่า "ผิด" เพราะเมื่อเราเป็นคนถูกนั้นหมายถึงสภาวะทางจิตใจได้ถูกตอบสนองทางบวก สภาวะทางอารมณ์ก็อิ่มเอมเปรมปีร์ ตามมาด้วย ความสุขความสมหวัง แต่ตะกอนตกค้างจากทางจิตที่เราได้รับก็คือ "อัตตา" หรือการเกิดของตัวตนจากการยึดติดในความคิด ยึดติดในการตัดสินใจที่ต้องถูกต้องเสมอ
ไม่ใช้เรื่องแปลกเพราะถ้าย้อนกลับไปดูที่ระบบการศึกษา และการเลี้ยงดูส่วนใหญ่เราถูกเลี้ยงดูและปลูกฝั่งให้เป็นคนที่มีความฉลาด เป็นคนเก่ง โดยถูกสอนให้รอบคอบให้ตัดสินใจให้ดีและถูกต้อง ประกอบกับการให้รางวัลหรือคำชมเมื่อเรา "ถูก" และทำให้ได้เป็นที่ยอมรับในคนรอบข้าง มันจึงทำให้พื้นฐานความคิดและจิตใจของเรา ชอบเป็นคนที่ "ถูกต้องเสมอ" เกือบในทุกเรื่อง แย่ที่สุดถึงแม้จะผิดเราก็มักจะหาเรื่องกลบเกลื่อนหรือประเด็นที่มาบิดบังความผิด แก้ตัวหรือโบ้ยให้เป็นแพะรับบาปกันไป ซึ่งนั่นคือกลไกการปกป้องตัวเองโดยอัตโนมัติ ยิ่งมีอัตตามาก การยอมรับในความผิดพลาดยิ่งเกิดยากมาก การยึดติดในความถูกต้อง ยิ่งมีมากตามไป
ผมมีกรณีศึกษาเรื่องหนึ่งของ อาจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เป็นญาติที่ผมรู้จัก ชื่อ แดง(นามสมมติ) แกเป็นคนเก่งมาโดยตลอดเรียนเก่งได้ทุน จบนอกมีตำแหน่งการงานดี เป็นที่ยอมรับ แกคิดทำอะไรมักจะต้อง ถูกเสมอ แน่นอนว่าส่วนใหญ่ก็มักจะถูกมากกว่าผิด อัตตาก็เลยเกิด
วันหนึ่งผมและครอบครัวพี่แดง(พี่แดงและภรรยา) นั่งรถเดินทางไปทำบุญที่วัดแห่งหนึ่ง พี่แดงเป็นคนขับ เราใช้อยู่นานแต่ก็ยังไม่สามารถหาทางเข้าวัดแห่งนี้ได้ ด้วยความกระวนกระวายของพี่นิด ภรรยาแกจึงบอกพี่แดงว่าให้ถามทางจาก คนขายผลไม้ข้างทาง ตามสไตล์คนไทยดั้งเดิมที่ไปไหนไม่เคยพึ่งแผนที่หรือ GPS แต่ใช้ชอบปาก
จนแล้วจนรอด ก็ยังไม่สามารถไปถึงเป้าหมายได้ พี่แดงเลยตัดสินใจเลือกขับรถไปในทางที่ตัวเองคิดว่า "ใช่" หรือ "ถูกต้อง" ในขณะที่ภรรยาไม่เห็นด้วย แนะนำให้ถามทางตลอดเวลา เมื่อนานเข้าเรื่อยๆ ความตึงเครียดก็ปรากฏ พี่แดงขับรถวนไปมากลับมาที่เดิม ขณะที่ภรรยาก็เริ่มบ่นๆ บอกให้เลี้ยวซ้าย แต่ฝ่ายสามีก็เลี้ยวขวา ภรรยาบอกให้จอดถามทาง สามีก็บอกว่าไม่ต้องไปถูกจนเกิดเป็นการโต้งเถียงทะเลาะกัน ในที่สุดเราก็ไม่ได้ไปถึงวัดที่ตั้งใจ แต่ก็ได้ทำบุญในวัดที่เราเจอระหว่างทาง เรื่องนี้บ่งบอกถึงอัตตาและการยึดติด ในความคิดที่จะเป็นผู้ถูกเสมอในใจเรา ซึ่งสำหรับผมก็ไม่ได้สรุปว่ามันเป็นเรื่องไม่ดี แต่การยึดติดในการตัดสินใจที่ต้องถูกต้องเสมอ นั้นเป็นอุปสรรค์สำคัญในการดำเนินชีวิต เป็นบ่อเกิดของปัญหาหลายเรื่องๆ ไม่เว้นแม้แต่ในโลกการลงทุน
สัญชาติญาณเรามักต้องการเป็นผู้ที่ตัดสินใจ "ถูก" เมื่อเรามีความคิดเช่นนั้นมันจึงส่งผมให้เราพยายามหาช่องทางในการตัดสินใจที่ดี ที่มีความน่าจะเป็นถูกต้องเสมอ โดยเฉพาะเมื่อเราเล่นหุ้น หลายคนพัฒนาระบบเทรด โดยพิจารณาจาก %win หรือจำนวนครั้งที่ตัดสินใจถูกต้อง และเลือกใช้มัน หลายครั้งที่เกิดการขาดทุน(ผิด)ติดต่อกันเพียง 2-3 ครั้ง ก็ล้มเลิกเปลี่ยนไปใช้ระบบเทรดอื่นๆ บางคนก็ต้องเจอกับปัญหา เพราะพยายามใช้กรอบเวลาที่เล็ก Time Frame ระดับนาที หรือใช้ Parameter เวลาที่สั้น เพื่อให้ได้ค่า จำนวนครั้งที่ถูกมากๆ ซึ่งทำให้ตัวเองต้องถูกผลักให้ไปเผชิญกับกรอบการแกว่งที่ผันผวนโดยปริยาย
การยึดมั่นในความถูกต้อง ยังมีผลอย่างมากต่อแผนการเล่น คนที่มีอัตตาสูง ไม่กล้าเผชิญหน้ากับความผิด จะเกิดอารมณ์กลัวขาดทุน ทำให้เมื่อมีการขาดทุน โดยไม่ยอมรับความผิดนั้น ไม่ยอมรับว่าตัวเองคิดผิด แต่ทนที่จะถือหุ้นต่อแม้ราคาจะลดลงจากจุดซื้อมากขนาดไหนก็ตาม เพราะไม่ต้องการยอมรับความผิดพลาด ไม่ยอมรับในการขาดทุน ได้แต่ปลอมใจว่าเป็นการขาดทุนแค่ตัวเลข และภาวนาให้ราคาเด้งกับมารับให้ได้ลงจากดอย เพื่อมายืนยันว่านี่ไง ฉันตัดสินใจถูก นอกจากนี้การลังเลยึดมั่นที่จะต้องตัดสินใจถูก ยังทำให้เราพลาดโอกาสการซื้อหุ้น ในจังหวะที่ดีไปเพียงเพราะเราคิดว่า มันจะต้องรอให้มั่นใจ และไม่อยากผิดพลาด เป็นบ่อเกิดที่จิตใจเราชักนำไม่ให้ เราเล่นได้ตามระบบ
สัจธรรมของชีวิต คือเราไม่สามารถตัดสินใจได้ถูกต้องทุกครั้ง 100% ความผิดพลาด เป็นสิ่งที่เราต้องเจอ ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน ไม่สำคัญว่าเราจะต้องตัดสินใจผิดสักกี่ครั้ง แต่สิ่งที่สำคัญคือเมื่อผิดพลาดแล้ว ต้องควบคุมความเสียหายจากการขาดทุนที่เกิดให้ได้ ด้วยการตัดขาดทุน ตามที่วางแผนไว้ ในขณะเดียวกัน ต้องกล้าเสี่ยง ซื้อหุ้นแล้วรู้จักปล่อยให้หุ้นวิ่งทำกำไรตามระบบ(Let's Profit run) เพื่อทำกำไร กำไรส่วนนี้เองจะชดเชยการขาดทุนที่เกิดขึ้นได้
อย่าพยายามติดกับความถูกต้องและคิดที่จะตัดสินใจถูกตลอดเวลาในสนามรบแห่งนี้ เพราะอนาคตไม่มีใครล่วงรู้ ตลาดหุ้นมีความไม่แน่นอนอยู่เสมอ ดังนั้นการเสี่ยงบนความน่าจะเป็นสูงสุดของระบบ บวกกับการบริหารจัดการเงิน และการควบคุมความเสี่ยง น่าจะเป็นกลยุทธสำคัญที่ทำให้เราอยู่รอดได้ในระยะยาวครับ
ไม่ใช้เรื่องแปลกเพราะถ้าย้อนกลับไปดูที่ระบบการศึกษา และการเลี้ยงดูส่วนใหญ่เราถูกเลี้ยงดูและปลูกฝั่งให้เป็นคนที่มีความฉลาด เป็นคนเก่ง โดยถูกสอนให้รอบคอบให้ตัดสินใจให้ดีและถูกต้อง ประกอบกับการให้รางวัลหรือคำชมเมื่อเรา "ถูก" และทำให้ได้เป็นที่ยอมรับในคนรอบข้าง มันจึงทำให้พื้นฐานความคิดและจิตใจของเรา ชอบเป็นคนที่ "ถูกต้องเสมอ" เกือบในทุกเรื่อง แย่ที่สุดถึงแม้จะผิดเราก็มักจะหาเรื่องกลบเกลื่อนหรือประเด็นที่มาบิดบังความผิด แก้ตัวหรือโบ้ยให้เป็นแพะรับบาปกันไป ซึ่งนั่นคือกลไกการปกป้องตัวเองโดยอัตโนมัติ ยิ่งมีอัตตามาก การยอมรับในความผิดพลาดยิ่งเกิดยากมาก การยึดติดในความถูกต้อง ยิ่งมีมากตามไป
ผมมีกรณีศึกษาเรื่องหนึ่งของ อาจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เป็นญาติที่ผมรู้จัก ชื่อ แดง(นามสมมติ) แกเป็นคนเก่งมาโดยตลอดเรียนเก่งได้ทุน จบนอกมีตำแหน่งการงานดี เป็นที่ยอมรับ แกคิดทำอะไรมักจะต้อง ถูกเสมอ แน่นอนว่าส่วนใหญ่ก็มักจะถูกมากกว่าผิด อัตตาก็เลยเกิด
วันหนึ่งผมและครอบครัวพี่แดง(พี่แดงและภรรยา) นั่งรถเดินทางไปทำบุญที่วัดแห่งหนึ่ง พี่แดงเป็นคนขับ เราใช้อยู่นานแต่ก็ยังไม่สามารถหาทางเข้าวัดแห่งนี้ได้ ด้วยความกระวนกระวายของพี่นิด ภรรยาแกจึงบอกพี่แดงว่าให้ถามทางจาก คนขายผลไม้ข้างทาง ตามสไตล์คนไทยดั้งเดิมที่ไปไหนไม่เคยพึ่งแผนที่หรือ GPS แต่ใช้ชอบปาก
จนแล้วจนรอด ก็ยังไม่สามารถไปถึงเป้าหมายได้ พี่แดงเลยตัดสินใจเลือกขับรถไปในทางที่ตัวเองคิดว่า "ใช่" หรือ "ถูกต้อง" ในขณะที่ภรรยาไม่เห็นด้วย แนะนำให้ถามทางตลอดเวลา เมื่อนานเข้าเรื่อยๆ ความตึงเครียดก็ปรากฏ พี่แดงขับรถวนไปมากลับมาที่เดิม ขณะที่ภรรยาก็เริ่มบ่นๆ บอกให้เลี้ยวซ้าย แต่ฝ่ายสามีก็เลี้ยวขวา ภรรยาบอกให้จอดถามทาง สามีก็บอกว่าไม่ต้องไปถูกจนเกิดเป็นการโต้งเถียงทะเลาะกัน ในที่สุดเราก็ไม่ได้ไปถึงวัดที่ตั้งใจ แต่ก็ได้ทำบุญในวัดที่เราเจอระหว่างทาง เรื่องนี้บ่งบอกถึงอัตตาและการยึดติด ในความคิดที่จะเป็นผู้ถูกเสมอในใจเรา ซึ่งสำหรับผมก็ไม่ได้สรุปว่ามันเป็นเรื่องไม่ดี แต่การยึดติดในการตัดสินใจที่ต้องถูกต้องเสมอ นั้นเป็นอุปสรรค์สำคัญในการดำเนินชีวิต เป็นบ่อเกิดของปัญหาหลายเรื่องๆ ไม่เว้นแม้แต่ในโลกการลงทุน
สัญชาติญาณเรามักต้องการเป็นผู้ที่ตัดสินใจ "ถูก" เมื่อเรามีความคิดเช่นนั้นมันจึงส่งผมให้เราพยายามหาช่องทางในการตัดสินใจที่ดี ที่มีความน่าจะเป็นถูกต้องเสมอ โดยเฉพาะเมื่อเราเล่นหุ้น หลายคนพัฒนาระบบเทรด โดยพิจารณาจาก %win หรือจำนวนครั้งที่ตัดสินใจถูกต้อง และเลือกใช้มัน หลายครั้งที่เกิดการขาดทุน(ผิด)ติดต่อกันเพียง 2-3 ครั้ง ก็ล้มเลิกเปลี่ยนไปใช้ระบบเทรดอื่นๆ บางคนก็ต้องเจอกับปัญหา เพราะพยายามใช้กรอบเวลาที่เล็ก Time Frame ระดับนาที หรือใช้ Parameter เวลาที่สั้น เพื่อให้ได้ค่า จำนวนครั้งที่ถูกมากๆ ซึ่งทำให้ตัวเองต้องถูกผลักให้ไปเผชิญกับกรอบการแกว่งที่ผันผวนโดยปริยาย
การยึดมั่นในความถูกต้อง ยังมีผลอย่างมากต่อแผนการเล่น คนที่มีอัตตาสูง ไม่กล้าเผชิญหน้ากับความผิด จะเกิดอารมณ์กลัวขาดทุน ทำให้เมื่อมีการขาดทุน โดยไม่ยอมรับความผิดนั้น ไม่ยอมรับว่าตัวเองคิดผิด แต่ทนที่จะถือหุ้นต่อแม้ราคาจะลดลงจากจุดซื้อมากขนาดไหนก็ตาม เพราะไม่ต้องการยอมรับความผิดพลาด ไม่ยอมรับในการขาดทุน ได้แต่ปลอมใจว่าเป็นการขาดทุนแค่ตัวเลข และภาวนาให้ราคาเด้งกับมารับให้ได้ลงจากดอย เพื่อมายืนยันว่านี่ไง ฉันตัดสินใจถูก นอกจากนี้การลังเลยึดมั่นที่จะต้องตัดสินใจถูก ยังทำให้เราพลาดโอกาสการซื้อหุ้น ในจังหวะที่ดีไปเพียงเพราะเราคิดว่า มันจะต้องรอให้มั่นใจ และไม่อยากผิดพลาด เป็นบ่อเกิดที่จิตใจเราชักนำไม่ให้ เราเล่นได้ตามระบบ
สัจธรรมของชีวิต คือเราไม่สามารถตัดสินใจได้ถูกต้องทุกครั้ง 100% ความผิดพลาด เป็นสิ่งที่เราต้องเจอ ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน ไม่สำคัญว่าเราจะต้องตัดสินใจผิดสักกี่ครั้ง แต่สิ่งที่สำคัญคือเมื่อผิดพลาดแล้ว ต้องควบคุมความเสียหายจากการขาดทุนที่เกิดให้ได้ ด้วยการตัดขาดทุน ตามที่วางแผนไว้ ในขณะเดียวกัน ต้องกล้าเสี่ยง ซื้อหุ้นแล้วรู้จักปล่อยให้หุ้นวิ่งทำกำไรตามระบบ(Let's Profit run) เพื่อทำกำไร กำไรส่วนนี้เองจะชดเชยการขาดทุนที่เกิดขึ้นได้
อย่าพยายามติดกับความถูกต้องและคิดที่จะตัดสินใจถูกตลอดเวลาในสนามรบแห่งนี้ เพราะอนาคตไม่มีใครล่วงรู้ ตลาดหุ้นมีความไม่แน่นอนอยู่เสมอ ดังนั้นการเสี่ยงบนความน่าจะเป็นสูงสุดของระบบ บวกกับการบริหารจัดการเงิน และการควบคุมความเสี่ยง น่าจะเป็นกลยุทธสำคัญที่ทำให้เราอยู่รอดได้ในระยะยาวครับ