อารมณ์ตลาดแท้จริงแล้วก็คืออารมณ์ของนักลงทุนนี่แหละครับ แต่หลายๆคนรวมกันเข้ามันก็เกิดเป็นอารมณ์ของตลาดโดยรวม ตลาดหุ้นบ้านเราถ้าจะวิเคราะห์อารมณ์ตลาด เราจำเป็นต้องดูที่กลุ่มนักลงทุนที่มีจำนวนมาก แน่นอนว่าคือนักลงทุนรายย่อยในตลาด ผู้มีจำนวนมากแต่น้อยด้วยอำนาจเงินและการเข้าถึงข้อมูล แต่ด้วยปริมาณที่มากเลยทำให้อารมณ์ของนักลงทุนกลุ่มนี้ไปมีผลโดยตรงกับอารมณ์ของตลาด
อารมณ์ เป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีผลมากต่อการเล่นหุ้นเก็งกำไรของนักลงทุนรายย่อย ซึ่งส่วนใหญ่มีความนิยมเข้าเก็งกำไรหุ้นในระยะสั้นถึงกลาง โดยปกติของมนุษย์เราตกเป็นทาสของอารมณ์ในการตัดสินใจโดยตลอด ยิ่งเมื่อมีสถานการณ์และมีสิ่งเล้าเข้ามากระตุ้น คุณ เวอร์นอน สมิธ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2002 ศึกษาเชิงพฤติกรรมของนักลงทุนกล่าวไว้ว่า "นักลงทุนล้วนมีกล่องดำสำหรับประมวลผลการตัดสินใจฝั่งอยู่ในสมองโดยที่ไม่มีใครรู้ว่า จริงๆแล้วกล่องดำอันนี้มีวิธีในการตัดสินใจอย่างไร แต่การตัดสินใจนี้มันไม่มีเหตุผล และเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของจิตใจเป็นหลัก" หลายคนอาจจะปฏิเสธว่าไม่ ฉันสามารถควบคุมจิตใจได้ ฉันเป็นคนมีเหตุและผล ฉันเป็นผู้บริหาร ฉันมีวุฒิภาวะพอ แต่เมื่อคุณอยู่ในตลาดหุ้น ดินแดนลี้ลับ ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับเงินเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยจิตผูกไว้กับความเป็นเจ้าของ คุณไม่สามารถนี้พ้นอารมณ์ได้
จากภาพผมทดสอบกับจำนวนความคิดในเว็บบอร์ดต่างๆจำนวน 150 ความเห็นจะพบพื้นที่ใต้กราฟอารมณ์ความโลภและอาการดีใจมีค่ามาก นั้นหมายถึงตลาดยกตัว ราคาหุ้นได้มีการวิ่งขึ้นมาอย่างชัดเจนแล้ว นักลงทุนรายย่อยเริ่มมีความสุขจากการทำกำไร หรือเข้าซื้อหุ้นและเห็นพอร์ตลงทุนเขียวๆ ขณะที่คนที่ติดดอยก็ได้ลงดอย และมีความคิดที่จะซื้อหุ้นเก็งกำไรรอบต่อไป แน่นอนว่าเมื่อคนส่วนใหญ่โลภ อยากซื้อและอยากเก็งกำไร อีกไม่นานเมื่อราคาไปถึงระยะหนึ่งการจบรอบและการทำกำไรของผู้ที่มีกำไรมากพอสมควร ย่อมเกิดขึ้น
อารมณ์ เป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีผลมากต่อการเล่นหุ้นเก็งกำไรของนักลงทุนรายย่อย ซึ่งส่วนใหญ่มีความนิยมเข้าเก็งกำไรหุ้นในระยะสั้นถึงกลาง โดยปกติของมนุษย์เราตกเป็นทาสของอารมณ์ในการตัดสินใจโดยตลอด ยิ่งเมื่อมีสถานการณ์และมีสิ่งเล้าเข้ามากระตุ้น คุณ เวอร์นอน สมิธ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2002 ศึกษาเชิงพฤติกรรมของนักลงทุนกล่าวไว้ว่า "นักลงทุนล้วนมีกล่องดำสำหรับประมวลผลการตัดสินใจฝั่งอยู่ในสมองโดยที่ไม่มีใครรู้ว่า จริงๆแล้วกล่องดำอันนี้มีวิธีในการตัดสินใจอย่างไร แต่การตัดสินใจนี้มันไม่มีเหตุผล และเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของจิตใจเป็นหลัก" หลายคนอาจจะปฏิเสธว่าไม่ ฉันสามารถควบคุมจิตใจได้ ฉันเป็นคนมีเหตุและผล ฉันเป็นผู้บริหาร ฉันมีวุฒิภาวะพอ แต่เมื่อคุณอยู่ในตลาดหุ้น ดินแดนลี้ลับ ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับเงินเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยจิตผูกไว้กับความเป็นเจ้าของ คุณไม่สามารถนี้พ้นอารมณ์ได้
สภาวะที่ทำอารมณ์มีผลนำในการตัดสินใจ เป็นหลักได้แก่ ช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนและความผันผวน เช่นดัชนีตลาดหรือราคาหุ้นขึ้นลงไปมา มีการลงแรง ขึ้นแรง ,ช่วงเวลาแห่งความไม่รู้ เช่นเมื่อเราเล่นหุ้นตัวหนึ่งครั้งแรก โดยที่ไม่ได้ศึกษาหาข้อมูล ไม่รู้พฤติกรรมรูปแบบของราคาหุ้นตัวนี้มาก่อน แต่ซื้อเพราะ หลายคนซื้อเลยจึงซื้อตาม, ช่วงเวลาแห่งความเชื่อมั่น ในที่นี้หมายถึงความเชื่อมั่นในแหล่งข้อมูล แหล่งข่าว คนที่บอกหรือเชียร์ว่าหุ้นตัวนี้จะมาจะขึ้น หรือคนดังออกมาฟันธงแนวโน้มตลาด แนวโน้มราคาหุ้น, ช่วงเวลาแห่งความกดดัน การถูกบีบคั้นจากการขาดทุน หรือคนรอบข้างให้ซื้อหรือขายหุ้น
ช่วงเวลาทั้งหลายที่กล่าวมานั้น ล้วนจะทำให้กล่องดำในสมองคุณทำงาน ตามสภาวะจิตใจเบื้องลึก จากสิ่งที่เราเสพมากก่อนที่ตกตะกอนอยู่ภายในจิตใต้สำนึก นั้นคือความคิดแง่ร้ายหรือความคิดแง่ดี ช่วงเวลาที่สภาวะอารมณ์มีผล เราก็จะดึงความคิดที่มีในจิตใจมาใช้ ถึงแม้สิ่งต่างๆจะปรากฏอย่างไร เราก็ทำไปตามนั้น เช่น เราหุ้นเพื่อนได้กำไรหุ้น BB มาก หลายแสนบาท เฮฮาพาคนอื่นๆไปเลี้ยงได้รับการยอมรับ ความคิดในแง่ดี ที่มีต่อหุ้นตัวนั้นหรือต่อตลาดก็ไปทางแง่ดี อารมณ์โลภก็จะเขามามีบทบาท ชดเชยกับความผิดหวังที่คุณตกรถ หรือขายหมูหุ้นตัวนั้นไป มันทำให้เรามักตัดสินใจซื้อหุ้น ไล่ซื้อหุ้นที่ราคาเพิ่มขึ้น ด้วยความหวังเชิงบวกที่ว่า ยังไงก็ได้กำไร ยังไงก็จะไม่พลาดอีก และแน่นอนว่าโอกาสที่จะติดดอยหรือขาดทุนก็จะมีสูง เพราะเราซื้อหุ้นโดยปราศจากการพิจารณาระดับราคาและความน่าจะเป็นที่ดี เมื่อเราขาดทุนจนถึงที่สุด จนหมดความหวัง เมื่อข่าวร้ายออกมา สภาวะความคิดแง่ลบก็จะครอบงำ การตัดสินใจแง่ลบก็จะเข้ามาแทน
ในตลาดจะมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นตลอด และหลายคนก็ถูกอารมณ์ในการครอบงำมันส่งผลเสียต่อการเล่นหุ้น และผลตอบแทนเป็นอย่างมาก การเล่นหุ้นเป็นระบบจะเป็นการตัดสินใจบนข้อมูลความเป็นจริง ซึ่งอยู่ในรูปแบบราคาหุ้นและปริมาณการซื้อขาย ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจุบันขณะทีเกิดขึ้นจริง ทำให้สามารถกำจัดอารมณ์ที่ถูกชักนำได้อย่างสิ้นเชิง ถ้าจิตใจของผู้เล่นหรือเทรดเดอร์มั่นคงและยึดมั่นอยู่ในระบบอย่างมีวินัย
เว็บศูนย์กลางนักลงทุนรายย่อย
แต่อารมณ์ตลาด ก็ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์ เราสามารถติดตามและนำมาใช้ในการเพิ่มค่าความเชื่อมั่นบนคุณภาพของแนวโน้มได้ แน่นอนว่าการจะทราบอารมณ์ตลาดเราจำเป็นต้องติดตามอารมณ์นักลงทุนรายย่อย ในยุค 2.0 ยิ่งเป็นอะไรที่ง่ายเพราะส่วนมากการแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดล้วนอยู่บนอินเตอร์เน็ตผ่านสังคมออนไลน์ ผ่านเว็บบอร์ด หรือห้องแชทต่างๆ ถ้าเราเป็นคนที่รู้จักสังเกต จะสามารถจับอารมณ์ของตลาดได้ ที่สำคัญ ข่าวหรือเหตุการณ์ที่ออกมา สำหรับนักเก็งกำไรแล้วล้วนมาหลังราคาเสมอ ดังนั้นใจความสำคัญอาจจะไม่ได้อยู่ที่ข่าวหรือเหตุการณ์จะออกมาอย่างไร แต่นัยยะมันอยู่ที่นักลงทุนรายย่อยจำนวนมาก ตอบสนองต่อข่าวและเหตุการณ์อย่างไรมากกว่า
ผมเองได้ทำการพัฒนาเครื่องมือทางสถิติมาประเมินอารมณ์ตลาดในรูปแบบค่าคะแนนโดยเก็บข้อมูลจากการโพสกระทู้และการคอมเมนต์ ของผู้ใช้ที่เป็นนักลงทุนรายย่อยบนเว็บบอร์ดและห้องแชท์บนโซเชียลเน็ตเวริ์คแบบเฟสบุ๊ค และนำค่ามาประมวลผลทางตัวเลข(วิธีการจำแนกและการประมวลผลเพื่อตีความยังอยู่ในช่วงวิจัยพัฒนาของยังไม่เปิดเผยรายละเอียด) เพื่อนำค่าที่ได้มาเป็นตัวแทนของอารมณ์ตลาดและนำไปใช้วิเคราะห์ร่วมกับแนวโน้มราคาหุ้น โดยผมแบ่งกลุ่มบ่งชี้ทางอารมณ์ออกเป็น ความโลภ,ความกลัว, ดีใจและเสียใจ เพื่อนำมาประเมินอารมณ์ที่อยู่ในการคอมเมนต์โต้ตอบ
แนวคิดเบื้องต้นของการทดลองนี้คือ ตลาดเก็งกำไร ระยะยาวคนส่วนใหญ่ย่อมเป็นผู้แพ้ และขาดทุน เพราะไม่เช่นนั้น คงจะมีคนรวยมากมายเต็มตลาดหุ้นไปแล้ว ดังนั้นถ้าได้ค่าอารมณ์ของคนกลุ่มใหญ่ มันก็พอจะนำมาอนุมานความเป็นไปของตลาดได้ แต่แน่นอนว่ามันอาจจะไม่100% เพราะจิตใจคนเรามักยากต่อการตรวจวัดได้ทั้งหมดและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามสิ่งเล้าที่เข้ามา แต่ก็มากพอจะนำไปเป็นปัจจัยหนึ่งในการสังเคราะห์ร่วมกับแนวโน้มราคาหุ้นและดัชนีตลาด ในแบบที่ผมเรียกว่าคุณภาพของแนวโน้ม