เมื่อวันอาทิตยที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมกิจการร้านอาหารของพี่คนหนึ่งที่รู้จักโดยบังเอิญ เราพบกันตอนที่ทำโปรเจคร่วมกันเมื่อหลายปีก่อน เขาทิ้งชีวิตมนุษย์เงินเดือนจากงานประจำที่แสนปวดหัว ในสังคมเมืองย่านสีลมออกมาอยู่ที่ชานเมือง เปิดร้านอาหารเล็กๆ ตามใจฝันได้ใช้ทักษะการทำอาหารที่เขาชอบ ได้ลองผิดลองถูกในธุรกิจที่เขาอยากทำ จำได้ว่าสมัยก่อนถ้าแวะไปคอนโดพี่เค้า พวกผมและเพื่อนๆต้องได้กินแกงป่า สูตรอร่อยทุกครั้งไป
ถึงแม้ร้านอาหารของเขายังเป็นเพียงร้านเล็กๆไม่ใหญ่โต มีลูกจ้างเพียงสองสามคน แต่สิ่งหนึ่งที่ผมสัมผัสได้คือ ความสุขที่มันเกิดในประกายหรือแววตาของพี่คนนี้ ทุกครั้งที่เขาเล่าเรื่องการผจญภัยตามฝันให้ฟัง ผมชอบช่วงขณะที่เขาตัดสินใจลาออกจากงานประจำ ด้วยเงินเก็บในบัญชีเพียงไม่กี่แสนบาท เพราะวันนั้นเขาได้รับข่าวร้าย ว่าหัวหน้างานต้องลาพักยาวเนื่องจากตรวจพบมะเร็งในลำไส้ เขาจึงตั้งคำถามกับตัวเองในวัย สามสิบห้า ว่าอยากจะตายแบบนี้ ตายแบบยังไม่ได้ทำตามที่ตัวเองฝันหรือเปล่า เพียงแค่ข้ามคืนเมื่อได้คำตอบ ใบลาออกก็ถูกส่งไปยังห้องของผู้จัดการทันที
ฟังเรื่องนี้แล้วนึกถึง เรื่องของพี่โหน่ง วงทนงศ์ สมัยที่เริ่มต้นทำ aday ใหม่ๆแต่ไม่มีทุนต้องขายรถ ต้องระดมทุนมาทำตามความฝัน โชคดีที่มีคนที่เชื่อมั่นและมีคน(ผู้สนับสนุน)ฝันจะเปลี่ยนโลก(หนังสือ)เหมือนกัน ความฝันพี่เขาถึงเป็นจริงและงอกงาม ผมเองก็เป็นแฟนพันธ์แท้ของ aday ตั้งแต่เล่มแรกๆ ถึงแม้จะมีไม่ครบทุกเล่มเพราะเพื่อนแสนดี ชอบยืมไปหม้อสาวและไม่คืน บวกกับปรากฏการณ์เอาอยู่แต่น้ำท่วมทั้งจังหวัด ทำให้ผมเสียหนังสือของสะสมไปเกือบครึ่ง แต่แนวคิดและความขบถแบบสนุกๆ ของพี่โหน่ง(ในฉบับรุ่นแรกๆ สมัยแกเป็น บก.) ก็ยังอยู่ ยิ่งนำมารวมกับไอเดียความคิดนอกกรอบของคุณตัน อิชิตันเข้าไปแล้ว ผมว่าถ้าใครคิดจะออกจากกรอบเดิมๆ มันเป็นสิ่งที่น่าสนใจและควรศึกษาไม่น้อยเลยทีเดียวครับ
นำเรื่องนี้มาให้อ่านไม่ได้พยายามจะบอกให้ ท่านลาออกจากงานประจำเพื่อมาเดินตามฝันแบบพี่คนนี้ การทำงานประจำก็เป็นเรื่องดีคือ มั่นคง หมดเดือนก็มีตัวเลขในบัญชีเพิ่มมากขึ้น ทำงานไปนานๆก็หวังก้าวหน้าต้องแข่งขัน เล่นเกมส์การเมืองในที่ทำงาน เพื่อก้าวเป็นหัวหน้างาน(แต่ก็เป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่ดี) ทำงานหนัก เครียด กดดันมากกว่าเดิมแต่ก็ได้เงินมากขึ้น มีเงินซื้อความสุข ซื้อวัตถุ เปลี่ยนรถ เปลี่ยนบ้าน ได้มากขึ้น นั้นเป็นขบบ ธรรมเนียมแบบทุนนิยม ค่านิยมที่เรายอมรับ และนำมาปฏิบัติ สืบเนื่องยาวนาน
การจะเปลี่ยนออกจากกรอบ ไม่ควรหักดิบถ้าท่านไม่ได้เกิดมาบ้านรวย มีมรดกหลายล้าน มีคนคอยสปอย แต่เราควรคิดวางแผนแบบนอกกรอบ รู้จักอดออม และเรียนรู้เรื่องการลงทุน และลงมือทำเพื่อต่อยอดเงินออม เงินเก็บให้งอกเงย การลงทุนก็เหมือนกับการเพิ่มโอกาสและเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน ให้ตัวเราในอนาคต นอกจากนั้นควรใช้เวลาเพื่อค้นหาตัวเองสิ่งที่รักอยากทำ และเมื่อถึงจุดหนึ่ง เราก็ควรจะตัดสินใจว่าจะเดินในทางที่เราต้องการ หรือทนยอมจำนนกับสภาวะมนุษย์เงินเดือน ที่มีความสุขเฉพาะวันหยุดและเสาร์อาทิตย์
เวลาที่เราจะเลือกหรือเปลี่ยนตัวเองนั้นมีไม่มากนัก ยิ่งถ้าถึงวันที่มีครอบครัว มีลูกแล้วนั้น โอกาสยิ่งริบรี่ลงไปทุกขณะแต่จะเลือกทางเดินไหน จะสำเร็จหรือล้มเหลวก็ไม่สำคัญ เท่ากับ เรามีความสุขที่ได้ทำหรือไม่ครับ...
ถึงแม้ร้านอาหารของเขายังเป็นเพียงร้านเล็กๆไม่ใหญ่โต มีลูกจ้างเพียงสองสามคน แต่สิ่งหนึ่งที่ผมสัมผัสได้คือ ความสุขที่มันเกิดในประกายหรือแววตาของพี่คนนี้ ทุกครั้งที่เขาเล่าเรื่องการผจญภัยตามฝันให้ฟัง ผมชอบช่วงขณะที่เขาตัดสินใจลาออกจากงานประจำ ด้วยเงินเก็บในบัญชีเพียงไม่กี่แสนบาท เพราะวันนั้นเขาได้รับข่าวร้าย ว่าหัวหน้างานต้องลาพักยาวเนื่องจากตรวจพบมะเร็งในลำไส้ เขาจึงตั้งคำถามกับตัวเองในวัย สามสิบห้า ว่าอยากจะตายแบบนี้ ตายแบบยังไม่ได้ทำตามที่ตัวเองฝันหรือเปล่า เพียงแค่ข้ามคืนเมื่อได้คำตอบ ใบลาออกก็ถูกส่งไปยังห้องของผู้จัดการทันที
ฟังเรื่องนี้แล้วนึกถึง เรื่องของพี่โหน่ง วงทนงศ์ สมัยที่เริ่มต้นทำ aday ใหม่ๆแต่ไม่มีทุนต้องขายรถ ต้องระดมทุนมาทำตามความฝัน โชคดีที่มีคนที่เชื่อมั่นและมีคน(ผู้สนับสนุน)ฝันจะเปลี่ยนโลก(หนังสือ)เหมือนกัน ความฝันพี่เขาถึงเป็นจริงและงอกงาม ผมเองก็เป็นแฟนพันธ์แท้ของ aday ตั้งแต่เล่มแรกๆ ถึงแม้จะมีไม่ครบทุกเล่มเพราะเพื่อนแสนดี ชอบยืมไปหม้อสาวและไม่คืน บวกกับปรากฏการณ์เอาอยู่แต่น้ำท่วมทั้งจังหวัด ทำให้ผมเสียหนังสือของสะสมไปเกือบครึ่ง แต่แนวคิดและความขบถแบบสนุกๆ ของพี่โหน่ง(ในฉบับรุ่นแรกๆ สมัยแกเป็น บก.) ก็ยังอยู่ ยิ่งนำมารวมกับไอเดียความคิดนอกกรอบของคุณตัน อิชิตันเข้าไปแล้ว ผมว่าถ้าใครคิดจะออกจากกรอบเดิมๆ มันเป็นสิ่งที่น่าสนใจและควรศึกษาไม่น้อยเลยทีเดียวครับ
นำเรื่องนี้มาให้อ่านไม่ได้พยายามจะบอกให้ ท่านลาออกจากงานประจำเพื่อมาเดินตามฝันแบบพี่คนนี้ การทำงานประจำก็เป็นเรื่องดีคือ มั่นคง หมดเดือนก็มีตัวเลขในบัญชีเพิ่มมากขึ้น ทำงานไปนานๆก็หวังก้าวหน้าต้องแข่งขัน เล่นเกมส์การเมืองในที่ทำงาน เพื่อก้าวเป็นหัวหน้างาน(แต่ก็เป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่ดี) ทำงานหนัก เครียด กดดันมากกว่าเดิมแต่ก็ได้เงินมากขึ้น มีเงินซื้อความสุข ซื้อวัตถุ เปลี่ยนรถ เปลี่ยนบ้าน ได้มากขึ้น นั้นเป็นขบบ ธรรมเนียมแบบทุนนิยม ค่านิยมที่เรายอมรับ และนำมาปฏิบัติ สืบเนื่องยาวนาน
การจะเปลี่ยนออกจากกรอบ ไม่ควรหักดิบถ้าท่านไม่ได้เกิดมาบ้านรวย มีมรดกหลายล้าน มีคนคอยสปอย แต่เราควรคิดวางแผนแบบนอกกรอบ รู้จักอดออม และเรียนรู้เรื่องการลงทุน และลงมือทำเพื่อต่อยอดเงินออม เงินเก็บให้งอกเงย การลงทุนก็เหมือนกับการเพิ่มโอกาสและเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน ให้ตัวเราในอนาคต นอกจากนั้นควรใช้เวลาเพื่อค้นหาตัวเองสิ่งที่รักอยากทำ และเมื่อถึงจุดหนึ่ง เราก็ควรจะตัดสินใจว่าจะเดินในทางที่เราต้องการ หรือทนยอมจำนนกับสภาวะมนุษย์เงินเดือน ที่มีความสุขเฉพาะวันหยุดและเสาร์อาทิตย์
เวลาที่เราจะเลือกหรือเปลี่ยนตัวเองนั้นมีไม่มากนัก ยิ่งถ้าถึงวันที่มีครอบครัว มีลูกแล้วนั้น โอกาสยิ่งริบรี่ลงไปทุกขณะแต่จะเลือกทางเดินไหน จะสำเร็จหรือล้มเหลวก็ไม่สำคัญ เท่ากับ เรามีความสุขที่ได้ทำหรือไม่ครับ...