ชื่อของ "โกศล ไกรฤกษ์" หายไปนาน หลังจาก บงล.ตะวันออกฟายแนนซ์(1991) ถูกแบงก์ชาติเข้าแทรกแซงกิจการ เมื่อกลางปี 2540 ทรัพย์สินชิ้นสุดท้ายมูลค่าหลายพันล้านบาทหายวับไปกับตา
สมการชีวิตของชายคนนี้ผ่านร้อนหนาวทางการเมืองมาอย่างโชกโชน เป็น ส.ส. พิษณุโลกหลายสมัย และเป็นรัฐมนตรีมาแล้วหลายกระทรวง เป็นผู้ที่ก่อตั้งพรรคกิจสังคมร่วมกับ ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช มีอุปนิสัยพูดจาโผงผางจนได้รับขนานนามว่า "นักเลงโบราณ"
แม้ว่าลุงโกศล จะลดบทบาทการเป็นนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหุ้นไปนานแล้ว แต่แนวทางการลงทุนที่เน้นความ "ปลอดภัย" ของลุงโกศลไม่เคยล้าสมัย
โดยเฉพาะคำพูดที่เคยกล่าวเอาไว้ว่า "ถ้าอยากสบายตอนแก่ต้องมีรายได้ประจำไว้กิน 3 อย่าง" แกบอกว่าได้ความรู้มาจากเจ๊ก (นักธุรกิจชาวจีน) สอนแกมาอีกทีหนึ่ง สมัยตอนเป็นรัฐมนตรี
เจ๊กมันบอกว่า....!!!
อย่างแรก "ต้องมีเงินฝากประจำเอาไว้กินดอกเบี้ย"
อย่างที่สอง "ต้องมีบ้านให้เขาเช่า เอาไว้เก็บค่าเช่ากินตอนแก่"
อย่างที่สาม "ต้องมีรายได้จากเงินปันผล"
นี่แหละรายได้ 3 อย่าง สูตรขนาดแท้ของลุงโกศลเลยล่ะ
ลุงโกศลเล่าให้ฟังว่า แกได้เงินปันผลจากตลาดหุ้นอย่างเดียวปีละเกือบ 2 ล้านบาท(เมื่อปี 2543) หุ้นจะขึ้นหรือจะลงแกก็ไม่เดือดร้อน คนส่วนใหญ่เจ๊งหุ้นกันหมด แต่ลุงโกศลกลับหัวเราะร่า หุ้นที่ลุงซื้อแต่ละตัว เป็นหุ้นที่ชาวบ้านชาวเมืองเขาไม่ค่อยเล่นกัน แกจะเลือกเฉพาะหุ้นปันงามๆ พื้นฐานแน่นๆ และผู้บริหารต้องโปร่งใสเท่านั้น
หุ้นปันผลที่ลุงโกศลเล่นส่วนใหญ่จะมีสภาพคล่องการซื้อขายน้อย เป็นหุ้นประเภท "เสือนอนกิน" เก่าเก็บไม่ค่อยมีใครอยากขาย หาซื้อก็ไม่ง่ายนัก
ลุงโกศลยกตัวอย่างให้ฟังว่า หุ้นในพอร์ตของแก(ตอนนั้น) ประกอบด้วย หุ้นห้องเย็นโชติวัฒน์(CHOTI) หุ้นไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์(TF) หรือหุ้น"มาม่า" หุ้นไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่นส์(TUF) ขายปลาทูน่าส่งออกรายใหญ่ที่สุดของประเทศ หุ้นน้ำมันพืชไทย(TVO) หุ้นอาหารสยาม(SFP) และหุ้นไทยวาโก้(WACOAL)
ลุงโกศลแกเล่าให้ฟังว่า เคยไปฉะกับผู้บริหารบริษัทกู๊ดเยียร์(GYT) และบริษัทคาร์โนต์เมตัลบ๊อกซ์(CMBT)มาแล้ว เพราะบริษัทกำไรดีแต่จ่ายปันผลนิดเดียว เหมือนกับให้เงินขอทาน ตอนนั้นกู๊ดเยียร์ประกาศจ่ายปันผลหุ้นละ 2 บาท จากกำไรต่อหุ้น 52.03 บาท ส่วน คาร์โนต์เมตัลบ๊อกซ์(ออกจากตลาดหุ้นไปแล้ว) กำไรหุ้นละ 22.38 บาท ทีแรกประกาศจ่ายปันผลหุ้นละ 1 บาท แกไปต่อรองกับผู้บริหารหลายชั่วโมง จนต้องเพิ่มให้เป็นหุ้นละ 5 บาท
อีกตัวหนึ่งคือ หุ้นคาร์เปทอินเตอร์ฯ(CIT) ตอนนั้นประกาศคำเสนอซื้อหุ้นคืนจากนักลงทุนก่อนจะขอเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ ซื้อคืนในราคาหุ้นละ 45 บาท ต่ำกว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชี(Book Value)ของบริษัทมาก ลุงโกศลประกาศเลยว่าใครมาเอาเปรียบกันอย่างนี้แกไม่ยอมเด็ดขาด แกบอกว่าจะถือหุ้นเอาไว้ไม่ยอมขาย เอาไว้สู้กับผู้บริหารให้รู้ดำรู้แดง ไม่ยอมทิ้งลายนักเลงโบราณให้ใครมาหยามเกียรติได้ง่ายๆ
"เงินแค่นี้กูไม่เอา แต่กูจะถือหุ้นไว้สู้กับคุณ"
กฎการเล่นหุ้นของนักเลงโบราณท่านนี้นับว่าไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน
ข้อแรก...แกบอกว่าอย่าไปแตะต้องหุ้นสถาบันการเงิน เพราะไม่มีวันรวยได้นาน ประสบการณ์ที่ลุงโกศลเจอมากับตัวเอง โดยเฉพาะหุ้นบงล.ตะวันออกฟายแนนซ์ (DEFT) แกบอกว่าตัวเองเป็นทั้งเจ้าของ(ถือหุ้นใหญ่) เป็นเจ้ามือ(โบรกเกอร์) และเป็นคนแทง(เล่นหุ้นเอง) สุดท้ายเจ๊งหมด
ก่อนหน้าที่จะถูกทางการสั่งระงับการดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540 เพียงไม่กี่สัปดาห์ ลุงโกศลได้เจรจาลับๆ กับนักลงทุนต่างชาติ เพื่อขายหุ้นทั้งหมดในส่วนของตระกูลไกรฤกษ์ จำนวน 67 ล้านหุ้น ใน บงล.ตะวันออกฟายแนนซ์ โดยต้องการขายกิจการที่ 6.7 พันล้านบาท แต่การต่อรองราคายังไม่ทันคืบหน้าทุกอย่างก็ต้องปิดฉากลงโดยไม่เหลืออะไรเลย
ประสบการณ์กับหุ้นสถาบันการเงินอีกแห่งหนึ่งที่เจอมา ก็คือ หุ้นบงล.กรุงเทพธนาทร(BFIT) หุ้นที่ถืออยู่เคยมีมูลค่าสูงกว่า 300 ล้านบาท ถือเอาไว้ไม่ได้ขายราคามันร่วงลงมาเหลือแค่ 43 ล้านบาท "ผมอยากจะบอกว่าถ้าใครอยากฉิบหายเหมือนผมให้เล่นหุ้นสถาบันการเงิน" แกพูดประชด
ข้อสอง...ให้เน้นลงทุนในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลดี เราจะรู้ได้ยังไงว่าจ่ายปันผลดี ก็ต้องไปค้นประวัติว่าบริษัทนี้มีกำไรดีต่อเนื่องมาแล้วกี่ปี เราจะได้รู้ว่าบริษัทนี้มีรายได้มั่นคงแค่ไหน มีประวัติการจ่ายปันผลสม่ำเสมอมาแล้วกี่ปี ควรเลือกหุ้นที่มีหนี้น้อยๆ หุ้นหลายบริษัทจ่ายเงินปันผลดีมาก ดีกว่าฝากเงินกินเยอะ หุ้นอย่างนี้แหละที่น่าซื้อ พอซื้อแล้วให้ถือยาวไปเลย
ข้อสาม...ต้องไปสืบดูประวัติผู้บริหารว่าซื่อสัตย์สุจริตหรือไม่ ข้อนี้สำคัญมากทุกอย่างดีหมดถ้าผู้บริหารเอาเปรียบผู้ถือหุ้น หรือไม่โปร่งใส หุ้นอย่างนี้อย่าไปซื้อมัน บางบริษัทมีผู้บริหารไม่กี่คนจ่ายเงินเดือน จ่ายโบนัสกันเองปีละ 30-40 ล้าน แต่จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นนิดเดียว พวกมันเล่นรวยกันเองคนเดียว อย่างนี้เขาเรียกว่าพวก "โจร" แฝงตัวมานั่งบริหาร ระยะยาวหุ้นอย่างนี้ฉิบหายแน่ๆ
ข้อสี่...ต้องลดต้นทุนให้ต่ำลงตลอดเวลา นั่นคือ ต้องรู้จักดึงเงินทุนออกเหลือเอาไว้แต่กำไร ลุงโกศลเล่าว่าถึงหุ้นจะตกหนักแค่ไหน สาเหตุที่แกไม่เจ๊งก็เพราะรู้จักดึงทุนเก่าออก หุ้นที่ถืออยู่ส่วนใหญ่แทบไม่มีต้นทุนเหลืออยู่แล้ว เพราะถือมานาน ตัวไหนมีกำไรก็ขายออกเอาเงินไปซื้อหุ้นตัวอื่น หรือเอาเงินปันผลของมันนั่นแหละซื้อหุ้นตัวเอง พอหุ้นลงก็ค่อยๆ ซื้อกลับ ต้นทุนของหุ้นก็จะค่อยๆ ต่ำลง
สมมุติว่าซื้อหุ้นไว้ที่ราคา 30 บาท ได้เงินปันผลปีละ 10% ก็เท่ากับปีละ 3 บาท เอา 3 บาทไปซื้อหุ้นตัวมันเอง ถ้าทำอย่างนี้ 3 ปี เราก็จะได้หุ้นมากขึ้น ต้นทุนถูกลง ถ้าถือมา 3 ปี ราคาหุ้นขึ้นไป 60 บาท เราก็ขายหุ้นออกไปครึ่งหนึ่ง เท่ากับว่าหุ้นที่เราถืออยู่เป็นกำไรทั้งหมด เราไม่ต้องขายถือต่อไปยาวเลย แล้วก็เอาปันผลของมันซื้อตัวมันเอง ส่วนทุนเดิมของเราก็เอาไปลงทุนซื้อหุ้นตัวอื่นอีก ถ้าราคาลงมาเราก็ค่อยๆ ซื้อกลับเข้าไปอีก ไม่ต้องรีบร้อนซื้อตอนราคาแพง
"ผมเข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 2530 จากคนไม่มีประสบการณ์เลย ค่อยๆ ศึกษาเอา หุ้นที่ซื้อเอาไว้ขึ้นไปหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ ผมก็ขายเอาทุนไปลงซื้อหุ้นตัวอื่น เหลือแต่กำไรเอาไว้ ผมบอกได้เลยว่าหุ้นส่วนใหญ่ที่ยังถืออยู่เหลือแต่กำไร อย่างหุ้นคาร์เปทอินเตอร์ฯ(เพิกถอนไปแล้ว) ที่ถือเป็นแสนหุ้นมีต้นทุนเหลือแค่หุ้นละ 7 บาท ทุนเก่าผมดึงขึ้นมาหมดแล้ว ขาย 45 บาทยังไงก็มีกำไร แต่ผมไม่ขายจะถือเอาไว้สู้กับมัน"
ในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงมามากๆ ลุงโกศลแนะนำว่า นี่แหละคือ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการซื้อหุ้นดีราคาถูกเก็บเอาไว้ แกย้ำว่า "ถ้าไม่เล่นเก็งกำไรซะอย่าง ไม่ต้องไปกลัวเจ๊ง แต่ขอเตือนว่าอย่าไปเชื่อโบรกเกอร์มากไอ้พวกนี้มันหวังค่าต๋ง ใครเชื่อมันรับรองว่าเจ๊งหุ้นหมด"
แม้อายุจะมากแล้วแต่ลุงโกศล ยังทำการบ้านเรื่องหุ้นไม่เคยขาด แกจะเก็บสถิติหุ้นเอาไว้อย่างสม่ำเสมอ นอกจากเคล็ดไม่ลับที่เปิดเผยแล้ว ยังมีคติในการลงทุนที่เรียนรู้มาจากประสบการณ์ อีกหลายอย่าง
คติแรก...เสียดายดีกว่าเสียใจ การเล่นหุ้นเราต้องถือคติว่า ถ้าไม่แน่ใจก็อย่าลงทุน ถ้าหุ้นขึ้นไม่ได้ลงทุนก็ไม่เป็นไร อย่าเสียดาย ดีกว่าไปเชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อแล้วมานั่งเสียใจทีหลัง เพราะถ้าพลาดท่าจะเสียใจ
คติที่สอง...อย่าโลภ สมมติว่าฝากแบงก์ได้ดอกเบี้ย 5% แต่ลงทุนในหุ้นเราตั้งเป้าหมายไว้ที่ 20% เราก็ต้องพอใจแค่นี้ บางคนพอได้ 20% ก็ขอ 30% พอได้ 30% ก็ขอ 40% ยังงี้ยังไงก็ไม่พอสักที ก็เลยไม่ได้ขาย รอจนหุ้นตกก็ยังหวังว่าหุ้นมันจะขึ้นมาถึงที่เดิมอีก
คติที่สาม...ต้องรู้ไส้รู้พุงหุ้น คนที่จะซื้อหุ้นตัวไหนต้องรู้จักสินค้าของบริษัทนั้นทุกแง่มุม หุ้นดีราคาหุ้นก็จะขึ้นไปเองตามธรรมชาติ เวลาหุ้นตกไปเจอหุ้นพื้นฐานไม่ดีก็ต้องกล้าตัดความเสี่ยงทิ้ง
คติที่สี่...หุ้นขึ้นให้ขายหุ้นลงให้ซื้อ พอหุ้นลงคนอื่นเขาเมินหน้า เราต้องติดตามความก้าวหน้าของบริษัท เมื่อมีความก้าวหน้าดีแต่ราคาต่ำ ไม่มีคนสนใจ เราก็ซื้อเอาไว้ พอหุ้นขึ้นคนแย่งกันซื้อเราก็ทยอยขาย ซื้อมาขายไปจะทำให้เราได้หุ้นมาเปล่า (ไม่มีต้นทุน) เก็บเอาไว้ ยกเว้นว่าหุ้นดีจริงๆ เราก็ถือยาวเอาไว้กินปันผล
คติที่ห้า...อย่าเล่นหุ้นแบบนักพนัน การเล่นหุ้นต้องเล่นแบบนักบริหาร ต้องมีความอดกลั้น อย่าเชื่อข่าวลือ
บทเรียนการเล่นหุ้นสไตล์ "ปลอดภัย" ของลุงโกศล คงไม่มีคำว่า "ล้าสมัย" สิ่งที่ลุงทิ้งเอาไว้ก็คือ "แก่นคิด" การลงทุนที่ไม่เคยถูกกาลเวลากลืนหาย แม้สังขารของลุงจะจากไปไม่มีวันกลับก็ตาม....นอนหลับให้สบายเถอะครับ!!!"คุณลุง"
*ที่มาอ้างอิงจาก
สมการชีวิตของชายคนนี้ผ่านร้อนหนาวทางการเมืองมาอย่างโชกโชน เป็น ส.ส. พิษณุโลกหลายสมัย และเป็นรัฐมนตรีมาแล้วหลายกระทรวง เป็นผู้ที่ก่อตั้งพรรคกิจสังคมร่วมกับ ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช มีอุปนิสัยพูดจาโผงผางจนได้รับขนานนามว่า "นักเลงโบราณ"
แม้ว่าลุงโกศล จะลดบทบาทการเป็นนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหุ้นไปนานแล้ว แต่แนวทางการลงทุนที่เน้นความ "ปลอดภัย" ของลุงโกศลไม่เคยล้าสมัย
โดยเฉพาะคำพูดที่เคยกล่าวเอาไว้ว่า "ถ้าอยากสบายตอนแก่ต้องมีรายได้ประจำไว้กิน 3 อย่าง" แกบอกว่าได้ความรู้มาจากเจ๊ก (นักธุรกิจชาวจีน) สอนแกมาอีกทีหนึ่ง สมัยตอนเป็นรัฐมนตรี
เจ๊กมันบอกว่า....!!!
อย่างแรก "ต้องมีเงินฝากประจำเอาไว้กินดอกเบี้ย"
อย่างที่สอง "ต้องมีบ้านให้เขาเช่า เอาไว้เก็บค่าเช่ากินตอนแก่"
อย่างที่สาม "ต้องมีรายได้จากเงินปันผล"
นี่แหละรายได้ 3 อย่าง สูตรขนาดแท้ของลุงโกศลเลยล่ะ
ลุงโกศลเล่าให้ฟังว่า แกได้เงินปันผลจากตลาดหุ้นอย่างเดียวปีละเกือบ 2 ล้านบาท(เมื่อปี 2543) หุ้นจะขึ้นหรือจะลงแกก็ไม่เดือดร้อน คนส่วนใหญ่เจ๊งหุ้นกันหมด แต่ลุงโกศลกลับหัวเราะร่า หุ้นที่ลุงซื้อแต่ละตัว เป็นหุ้นที่ชาวบ้านชาวเมืองเขาไม่ค่อยเล่นกัน แกจะเลือกเฉพาะหุ้นปันงามๆ พื้นฐานแน่นๆ และผู้บริหารต้องโปร่งใสเท่านั้น
หุ้นปันผลที่ลุงโกศลเล่นส่วนใหญ่จะมีสภาพคล่องการซื้อขายน้อย เป็นหุ้นประเภท "เสือนอนกิน" เก่าเก็บไม่ค่อยมีใครอยากขาย หาซื้อก็ไม่ง่ายนัก
ลุงโกศลยกตัวอย่างให้ฟังว่า หุ้นในพอร์ตของแก(ตอนนั้น) ประกอบด้วย หุ้นห้องเย็นโชติวัฒน์(CHOTI) หุ้นไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์(TF) หรือหุ้น"มาม่า" หุ้นไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่นส์(TUF) ขายปลาทูน่าส่งออกรายใหญ่ที่สุดของประเทศ หุ้นน้ำมันพืชไทย(TVO) หุ้นอาหารสยาม(SFP) และหุ้นไทยวาโก้(WACOAL)
ลุงโกศลแกเล่าให้ฟังว่า เคยไปฉะกับผู้บริหารบริษัทกู๊ดเยียร์(GYT) และบริษัทคาร์โนต์เมตัลบ๊อกซ์(CMBT)มาแล้ว เพราะบริษัทกำไรดีแต่จ่ายปันผลนิดเดียว เหมือนกับให้เงินขอทาน ตอนนั้นกู๊ดเยียร์ประกาศจ่ายปันผลหุ้นละ 2 บาท จากกำไรต่อหุ้น 52.03 บาท ส่วน คาร์โนต์เมตัลบ๊อกซ์(ออกจากตลาดหุ้นไปแล้ว) กำไรหุ้นละ 22.38 บาท ทีแรกประกาศจ่ายปันผลหุ้นละ 1 บาท แกไปต่อรองกับผู้บริหารหลายชั่วโมง จนต้องเพิ่มให้เป็นหุ้นละ 5 บาท
อีกตัวหนึ่งคือ หุ้นคาร์เปทอินเตอร์ฯ(CIT) ตอนนั้นประกาศคำเสนอซื้อหุ้นคืนจากนักลงทุนก่อนจะขอเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ ซื้อคืนในราคาหุ้นละ 45 บาท ต่ำกว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชี(Book Value)ของบริษัทมาก ลุงโกศลประกาศเลยว่าใครมาเอาเปรียบกันอย่างนี้แกไม่ยอมเด็ดขาด แกบอกว่าจะถือหุ้นเอาไว้ไม่ยอมขาย เอาไว้สู้กับผู้บริหารให้รู้ดำรู้แดง ไม่ยอมทิ้งลายนักเลงโบราณให้ใครมาหยามเกียรติได้ง่ายๆ
"เงินแค่นี้กูไม่เอา แต่กูจะถือหุ้นไว้สู้กับคุณ"
กฎการเล่นหุ้นของนักเลงโบราณท่านนี้นับว่าไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน
ข้อแรก...แกบอกว่าอย่าไปแตะต้องหุ้นสถาบันการเงิน เพราะไม่มีวันรวยได้นาน ประสบการณ์ที่ลุงโกศลเจอมากับตัวเอง โดยเฉพาะหุ้นบงล.ตะวันออกฟายแนนซ์ (DEFT) แกบอกว่าตัวเองเป็นทั้งเจ้าของ(ถือหุ้นใหญ่) เป็นเจ้ามือ(โบรกเกอร์) และเป็นคนแทง(เล่นหุ้นเอง) สุดท้ายเจ๊งหมด
ก่อนหน้าที่จะถูกทางการสั่งระงับการดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540 เพียงไม่กี่สัปดาห์ ลุงโกศลได้เจรจาลับๆ กับนักลงทุนต่างชาติ เพื่อขายหุ้นทั้งหมดในส่วนของตระกูลไกรฤกษ์ จำนวน 67 ล้านหุ้น ใน บงล.ตะวันออกฟายแนนซ์ โดยต้องการขายกิจการที่ 6.7 พันล้านบาท แต่การต่อรองราคายังไม่ทันคืบหน้าทุกอย่างก็ต้องปิดฉากลงโดยไม่เหลืออะไรเลย
ประสบการณ์กับหุ้นสถาบันการเงินอีกแห่งหนึ่งที่เจอมา ก็คือ หุ้นบงล.กรุงเทพธนาทร(BFIT) หุ้นที่ถืออยู่เคยมีมูลค่าสูงกว่า 300 ล้านบาท ถือเอาไว้ไม่ได้ขายราคามันร่วงลงมาเหลือแค่ 43 ล้านบาท "ผมอยากจะบอกว่าถ้าใครอยากฉิบหายเหมือนผมให้เล่นหุ้นสถาบันการเงิน" แกพูดประชด
ข้อสอง...ให้เน้นลงทุนในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลดี เราจะรู้ได้ยังไงว่าจ่ายปันผลดี ก็ต้องไปค้นประวัติว่าบริษัทนี้มีกำไรดีต่อเนื่องมาแล้วกี่ปี เราจะได้รู้ว่าบริษัทนี้มีรายได้มั่นคงแค่ไหน มีประวัติการจ่ายปันผลสม่ำเสมอมาแล้วกี่ปี ควรเลือกหุ้นที่มีหนี้น้อยๆ หุ้นหลายบริษัทจ่ายเงินปันผลดีมาก ดีกว่าฝากเงินกินเยอะ หุ้นอย่างนี้แหละที่น่าซื้อ พอซื้อแล้วให้ถือยาวไปเลย
ข้อสาม...ต้องไปสืบดูประวัติผู้บริหารว่าซื่อสัตย์สุจริตหรือไม่ ข้อนี้สำคัญมากทุกอย่างดีหมดถ้าผู้บริหารเอาเปรียบผู้ถือหุ้น หรือไม่โปร่งใส หุ้นอย่างนี้อย่าไปซื้อมัน บางบริษัทมีผู้บริหารไม่กี่คนจ่ายเงินเดือน จ่ายโบนัสกันเองปีละ 30-40 ล้าน แต่จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นนิดเดียว พวกมันเล่นรวยกันเองคนเดียว อย่างนี้เขาเรียกว่าพวก "โจร" แฝงตัวมานั่งบริหาร ระยะยาวหุ้นอย่างนี้ฉิบหายแน่ๆ
ข้อสี่...ต้องลดต้นทุนให้ต่ำลงตลอดเวลา นั่นคือ ต้องรู้จักดึงเงินทุนออกเหลือเอาไว้แต่กำไร ลุงโกศลเล่าว่าถึงหุ้นจะตกหนักแค่ไหน สาเหตุที่แกไม่เจ๊งก็เพราะรู้จักดึงทุนเก่าออก หุ้นที่ถืออยู่ส่วนใหญ่แทบไม่มีต้นทุนเหลืออยู่แล้ว เพราะถือมานาน ตัวไหนมีกำไรก็ขายออกเอาเงินไปซื้อหุ้นตัวอื่น หรือเอาเงินปันผลของมันนั่นแหละซื้อหุ้นตัวเอง พอหุ้นลงก็ค่อยๆ ซื้อกลับ ต้นทุนของหุ้นก็จะค่อยๆ ต่ำลง
สมมุติว่าซื้อหุ้นไว้ที่ราคา 30 บาท ได้เงินปันผลปีละ 10% ก็เท่ากับปีละ 3 บาท เอา 3 บาทไปซื้อหุ้นตัวมันเอง ถ้าทำอย่างนี้ 3 ปี เราก็จะได้หุ้นมากขึ้น ต้นทุนถูกลง ถ้าถือมา 3 ปี ราคาหุ้นขึ้นไป 60 บาท เราก็ขายหุ้นออกไปครึ่งหนึ่ง เท่ากับว่าหุ้นที่เราถืออยู่เป็นกำไรทั้งหมด เราไม่ต้องขายถือต่อไปยาวเลย แล้วก็เอาปันผลของมันซื้อตัวมันเอง ส่วนทุนเดิมของเราก็เอาไปลงทุนซื้อหุ้นตัวอื่นอีก ถ้าราคาลงมาเราก็ค่อยๆ ซื้อกลับเข้าไปอีก ไม่ต้องรีบร้อนซื้อตอนราคาแพง
"ผมเข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 2530 จากคนไม่มีประสบการณ์เลย ค่อยๆ ศึกษาเอา หุ้นที่ซื้อเอาไว้ขึ้นไปหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ ผมก็ขายเอาทุนไปลงซื้อหุ้นตัวอื่น เหลือแต่กำไรเอาไว้ ผมบอกได้เลยว่าหุ้นส่วนใหญ่ที่ยังถืออยู่เหลือแต่กำไร อย่างหุ้นคาร์เปทอินเตอร์ฯ(เพิกถอนไปแล้ว) ที่ถือเป็นแสนหุ้นมีต้นทุนเหลือแค่หุ้นละ 7 บาท ทุนเก่าผมดึงขึ้นมาหมดแล้ว ขาย 45 บาทยังไงก็มีกำไร แต่ผมไม่ขายจะถือเอาไว้สู้กับมัน"
ในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงมามากๆ ลุงโกศลแนะนำว่า นี่แหละคือ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการซื้อหุ้นดีราคาถูกเก็บเอาไว้ แกย้ำว่า "ถ้าไม่เล่นเก็งกำไรซะอย่าง ไม่ต้องไปกลัวเจ๊ง แต่ขอเตือนว่าอย่าไปเชื่อโบรกเกอร์มากไอ้พวกนี้มันหวังค่าต๋ง ใครเชื่อมันรับรองว่าเจ๊งหุ้นหมด"
แม้อายุจะมากแล้วแต่ลุงโกศล ยังทำการบ้านเรื่องหุ้นไม่เคยขาด แกจะเก็บสถิติหุ้นเอาไว้อย่างสม่ำเสมอ นอกจากเคล็ดไม่ลับที่เปิดเผยแล้ว ยังมีคติในการลงทุนที่เรียนรู้มาจากประสบการณ์ อีกหลายอย่าง
คติแรก...เสียดายดีกว่าเสียใจ การเล่นหุ้นเราต้องถือคติว่า ถ้าไม่แน่ใจก็อย่าลงทุน ถ้าหุ้นขึ้นไม่ได้ลงทุนก็ไม่เป็นไร อย่าเสียดาย ดีกว่าไปเชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อแล้วมานั่งเสียใจทีหลัง เพราะถ้าพลาดท่าจะเสียใจ
คติที่สอง...อย่าโลภ สมมติว่าฝากแบงก์ได้ดอกเบี้ย 5% แต่ลงทุนในหุ้นเราตั้งเป้าหมายไว้ที่ 20% เราก็ต้องพอใจแค่นี้ บางคนพอได้ 20% ก็ขอ 30% พอได้ 30% ก็ขอ 40% ยังงี้ยังไงก็ไม่พอสักที ก็เลยไม่ได้ขาย รอจนหุ้นตกก็ยังหวังว่าหุ้นมันจะขึ้นมาถึงที่เดิมอีก
คติที่สาม...ต้องรู้ไส้รู้พุงหุ้น คนที่จะซื้อหุ้นตัวไหนต้องรู้จักสินค้าของบริษัทนั้นทุกแง่มุม หุ้นดีราคาหุ้นก็จะขึ้นไปเองตามธรรมชาติ เวลาหุ้นตกไปเจอหุ้นพื้นฐานไม่ดีก็ต้องกล้าตัดความเสี่ยงทิ้ง
คติที่สี่...หุ้นขึ้นให้ขายหุ้นลงให้ซื้อ พอหุ้นลงคนอื่นเขาเมินหน้า เราต้องติดตามความก้าวหน้าของบริษัท เมื่อมีความก้าวหน้าดีแต่ราคาต่ำ ไม่มีคนสนใจ เราก็ซื้อเอาไว้ พอหุ้นขึ้นคนแย่งกันซื้อเราก็ทยอยขาย ซื้อมาขายไปจะทำให้เราได้หุ้นมาเปล่า (ไม่มีต้นทุน) เก็บเอาไว้ ยกเว้นว่าหุ้นดีจริงๆ เราก็ถือยาวเอาไว้กินปันผล
คติที่ห้า...อย่าเล่นหุ้นแบบนักพนัน การเล่นหุ้นต้องเล่นแบบนักบริหาร ต้องมีความอดกลั้น อย่าเชื่อข่าวลือ
บทเรียนการเล่นหุ้นสไตล์ "ปลอดภัย" ของลุงโกศล คงไม่มีคำว่า "ล้าสมัย" สิ่งที่ลุงทิ้งเอาไว้ก็คือ "แก่นคิด" การลงทุนที่ไม่เคยถูกกาลเวลากลืนหาย แม้สังขารของลุงจะจากไปไม่มีวันกลับก็ตาม....นอนหลับให้สบายเถอะครับ!!!"คุณลุง"
*ที่มาอ้างอิงจาก