ถ้าศึกษาเทคนิค และรักจะลงทุนแนวนี้จำเป็นต้องรู้ครับ กฎ ทั้ง10 ข้อนี้ เป็นหลักการสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับการลงทุน เพราะหากไม่มีหลักการดังกล่าวแล้ว เราก็จะไม่สามารถกำหนดการซื้อขายที่เป็นรูปแบบได้ ซึ่งในกฎเหล่านี้จะพูดถึงการวิเคราะห์แนวโน้ม , หาจุดกลับตัว, ติดตามค่าเฉลี่ย, มองหาสัญญาณเตือน และอื่นๆ
เป็นแนวคิดความเข้าใจพื้นฐานที่ต้องมีและใช้ในการลงทุน ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค พอได้ไปพบกระทู้เก่าจากสินธร แต่เขียนไว้เกือบ 2 ปีแล้วยังทันสมัยอยู่จึงขอนำมาแปะไว้ครับ
1. ดูแนวโน้ม
เรียน รู้ชาร์ตในระยะยาว โดยเริ่มการวิเคราะห์ชาร์ตในระดับเดือนและสัปดาห์ ของช่วงเวลาหลายๆปี การดูชาร์ตในระดับของช่วงเวลาที่กว้างขึ้นจะทำให้สามารถมองเป็นแนวโน้มของ ตลาดในระยะยาวได้ชัดเจนขึ้น เมื่อทราบถึงแนวโน้มระยะยาวแล้ว จึงจะดูชาร์ตในระดับวันและนาที การดูแนวโน้มในช่วงสั้นเพียงอย่างเดียวจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ถึงแม้ว่าคุณจะลงทุนในระยะสั้น คุณจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหากคุณลงทุนในทิศทางเดียวกับแนวโน้มในระยะกลางและ ยาว
2. วิเคราะห์และไปตามแนวโน้ม
แนว โน้มของตลาดมีหลายช่วงเวลา ระยะยาว ระยะกลาง และระยะสั้น สิ่งแรกคือ คุณต้องรู้ว่าคุณจะลงทุนในระยะเวลาเท่าใด และวิเคราะห์ชาร์ตของช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยที่คุณต้องแน่ใจว่าคุณลงทุนไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มในระยะเวลานั้นๆ ซื้อเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาขึ้น และขายเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาลง หากคุณลงทุนในระยะกลาง ให้ใช้ชาร์ตในระดับวันและสัปดาห์ ถ้าคุณลงทุนระยะสั้น ให้ใช้ชาร์ตระดับวันและรายนาที อย่างไรก็ตาม ในแต่ละกรณี ให้ดูแนวโน้มของช่วงเวลาที่ยาวขึ้น และใช้ชาร์ตของช่วงเวลาที่สั้นลงในการหาจุดที่จะเข้าซื้อ-ขาย
3. หาจุดสูงสุดและต่ำสุด
วิเคราะห์ แนวรับและแนวต้าน จุดที่ดีที่สุดในการเข้าซื้อก็คือจุดใกล้แนวรับซึ่งมักจะเป็นจุดต่ำสุดของ รอบการซื้อขายที่แล้ว จุดที่ดีที่สุดสำหรับการขายก็คือจุดที่ใกล้แนวต้าน ซึ่งมักจะเป็นจุดสูงสุดของรอบการซื้อขายที่แล้ว หากมีการเคลื่อนผ่านแนวต้าน แนวต้านนั้นจะกลายเป็นแนวรับสำหรับการปรับตัวลดลง อีกนัยหนึ่ง จุดสูงสุดเดิมกลายเป็นจุดสูงสุดใหม่ และเช่นเดียวกัน ในกรณีที่ราคาทะลุผ่านแนวรับ มักจะมีแรงขายออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้จุดต่ำสุดเดิมกลายเป็นจุดต่ำสุดใหม่
4. รู้ว่าจะไปไกลแค่ไหนจึงจะกลับตัว
เทียบ อัตราส่วนการขึ้น-ลง เป็นเปอร์เซนต์ โดยทั่วไปตลาดจะมีการกลับตัวทั้งขึ้นและลงตามสัดส่วนเปอร์เซนต์ของแนวโน้ม ของช่วงก่อน คุณสามารถวัดอัตราส่วนของการปรับตัวขึ้นหรือลงของแนวโน้มปัจจุบันได้โดยใช้ อัตราส่วนชุดหนึ่งที่มีการกำหนดค่าไว้แล้ว เช่น การกลับตัวขึ้นหรือลง 50%ของแนวโน้มก่อน เป็นอัตราพื้นฐานที่ใช้กันบ่อย อัตราส่วนต่ำสุดของการวัดการดีดกลับ คือ 1/3 ของแนวโน้มก่อน และอัตราส่วนสูงสุดคือ 2/3 อัตราส่วนที่สำคัญและควรให้ความสนในก็คือ อัตราส่วน Fibonacci 36% และ 62% ดังนั้น เมื่อตลาดมีการพักในช่วงแนวโน้มขาขึ้น จะมีจุดซื้อคืนจุดแรกเมื่อตลาดปรับตัวลง 33-38% ของจุดสูงสุด
5. ใช้เส้นแนวโน้ม
เส้น แนวโน้มเป็นหนึ่งในเครื่องมือการวิเคราะห์ที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมีเพียงขอบเขตที่เส้นแนวโน้มแสดงและจุด 2 ตำแหน่งบนชาร์ต เส้นแนวโน้มขาขึ้นวาดโดยใช้จุดต่ำสุด 2 จุด ที่อยู่ใกล้กัน และเส้นแนวโน้มขาลงวาดโดยใช้จุดสูงสุด 2 จุดใกล้กัน ราคาของหุ้นมักจะเคลื่อนเข้าใกล้เส้นแนวโน้มก่อนที่จะเคลื่อนกลับเข้าสู่แนว โน้มของมัน หากราคาทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม จะแสดงถึงสัญญาณของการเปลี่ยนแนวโน้ม เส้นแนวโน้มจะมีผลเมื่อราคาเคลื่อนแตะที่เส้น 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เส้นแนวโน้มที่ลากได้ยิ่งยาว หมายถึง จำนวนครั้งมากขึ้นของการทดสอบเส้นแนวโน้ม และยิ่งทำให้เส้นแนวโน้มมีความสำคัญมากขึ้น
6. ติดตามค่าเฉลี่ย
หมาย ถึงการเคลื่อนไหวของเส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งจะบอกถึงราคาเป้าหมายที่จะซื้อและขาย เส้นค่าเฉลี่ยเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าราคาอยู่ในแนวโน้มเช่นใดและช่วยยืนยัน สัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม อย่างไรก็ตาม เส้นค่าเฉลี่ยไม่ใช่เครื่องมือที่จะบอกล่วงหน้าว่าแนวโน้มกำลังจะเปลี่ยน รูปแบบของการใช้เส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นที่นิยมคือการใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นเพื่อหาจุดซื้อ-ขาย ค่าที่นิยมใช้สำหรับค่าเฉลี่ยที่ใช้คู่กันคือ 5 วันและ10 วัน, 10 วันและ25วัน, 25 วันและ 50 วัน สัญญาณซื้อ-ขายเกิดขึ้นเมื่อเส้นที่มีค่าเฉลี่ยสั้นกว่าตัดกับเส้นที่ ยาวกว่า หรือ เมื่อราคาเคลื่อนผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน เนื่องจากเส้นค่าเฉลี่ยต่างๆเป็นดัชนีที่เคลื่อนไปตามแนวโน้ม การใช้เส้นค่าเฉลี่ยจึงเหมาะสำหรับตลาดที่ในช่วงที่มีแนวโน้มที่ชัดเจน
7. รู้ถึงจุดที่ตลาดกลับตัว
Oscillators (เครื่องมือที่มีตัวเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 100) เป็นดัชนีที่ช่วยชี้บอกจุดที่มีการซื้อหรือขายมากเกินไป ในขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยจะช่วยยืนยันว่าตลาดการเปลี่ยนแนวโน้ม Oscillators จะช่วยเตือนล่วงหน้าว่าตลาดเคลื่อนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากเกินไป และทำให้เกิดการกลับตัว Oscillators ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ Relative Strength Index (RSI) และ Stochastics ทั้งสองตัวนี้จัดเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า Oscillators เพราะให้ค่าที่อยู่ในช่วง 0 ถึง 100 เมื่อ RSI มีค่าเกิน 70 จะแสดงถึงการซื้อที่มีมากเกินไป (Overbought) และ ต่ำกว่า 30 แสดงถึงการขายมากเกินไป (Oversold) ค่า Overbought และ Oversold สำหรับ Stochastics คือ 80 และ 20 นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้ค่า 14 วันหรือสัปดาห์สำหรับการคำนวณ Stochastics และ 9 หรือ 14 วันหรือสัปดาห์สำหรับ RSI สัญญาณกลับตัวที่เกิดใน Oscillators จะเป็นสัญญาณเตือนว่าตลาดกำลังจะกลับตัว เครื่องมือเหล่านี้ใช้ได้ดีเมื่อตลาดอยู่ในช่วงที่เหมาะกับการเล่นเก็งกำไร และไม่แสดงแนวโน้มที่ชัดเจน สัญญาณในระดับสัปดาห์สามารถนำมาใช้ช่วยในการขจัดสัญญาณหลอกและยืนยันสัญญาณ ในระดับวัน และใช้สัญญาณระดับวันสำหรับยืนยันสัญญาณในรายนาที
8. มองเห็นสัญญาณเตือน
Moving Average Convergence Divergence (MACD) เป็นดัชนีวัด (พัฒนาโดย Gerald Appel) ที่รวมเอาระบบการตัดผ่านของเส้นค่าเฉลี่ยและการชี้จุด Overbought/Oversold ของ Oscillators ไว้ด้วยกัน สัญญาณซื้อจะเกิดเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดขึ้นเหนือเส้นที่ช้ากว่า โดยที่ทั้ง 2 เส้นอยู่ต่ำกว่าศูนย์ สัญญาณขายเกิดเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดลงต่ำกว่าเส้นที่ช้ากว่าที่เหนือ ศูนย์ สัญญาณในระดับสัปดาห์จะมีน้ำหนักและความสำคัญมากกว่าสัญญาณในระดับวัน MACD histogram ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่ง แสดงถึงส่วนต่างระหว่าง MACD ทั้งสองเส้น สามารถส่งสัญญาณเตือนว่าจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มได้เร็วกว่าอีกด้วย
9. เป็นแนวโน้มหรือไม่เป็นแนวโน้ม
Average Directional Index (ADX) เป็นดัชนีที่จะบอกว่าตลาดอยู่ในช่วงที่มีแนวโน้มหรือไม่ และเป็นตัวช่วยวัดว่าแนวโน้มนั้นอยู่ในระดับใด เส้น ADX ที่ชี้ขี้นแสดงถึงแนวโน้มที่มีความชัดเจนมาก ควรใช้เส้นค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ หากเส้น ADX ปรับตัวต่ำลง แสดงถึงตลาดที่ไม่มีแนวโน้มและเหมาะสำหรับเก็งกำไรระยะสั้น ควรใช้ Oscillators ในการวิเคราะห์ การใช้ ADX ช่วยนักลงทุนในการวางแผนกลยุทธ์การลงทุนและในการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม กับสภาวะตลาด
10. รู้จักการดูสัญญาณเพื่อยืนยันแนวโน้ม
สัญญาณ ที่ให้การยืนยันรวมถึงปริมาณการซื้อขายและจำนวนการซื้อขายที่มีการลงทุนจาก ผู้ที่เข้ามาซื้อขายใหม่ (open interest) ทั้ง 2 ตัวนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการยืนยันแนวโน้มสำหรับตลาดล่วงหน้า ปริมาณการซื้อขายมักจะส่งสัญญาณกลับตัวก่อนที่ราคาจะกลับตัว สิ่งสำคัญคือจะต้องมั่นใจว่ามีปริมาณการซื้อขายอย่างหนาแน่นในทิศทางเดียว กับแนวโน้มปัจจุบัน ในแนวโน้มขาขึ้น ควรมีปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้นเพื่อยืนยันว่าแนวโน้มนั้นยังแข็งแรงอยู่ ส่วน open interest ที่เพิ่มขึ้นนั้นจะช่วยยืนยันว่ามีเงินไหลเข้ามาต่อเนื่องและช่วยหนุนให้แนว โน้มปัจจุบันคงอยู่ หาก open interest ลดลง ย่อมเป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มนั้นใกล้สิ้นสุดลง ดังนั้นราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นควรจะมีปริมาณซื้อขายและ open interest หนุนอยู่ด้วย
เป็นแนวคิดความเข้าใจพื้นฐานที่ต้องมีและใช้ในการลงทุน ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค พอได้ไปพบกระทู้เก่าจากสินธร แต่เขียนไว้เกือบ 2 ปีแล้วยังทันสมัยอยู่จึงขอนำมาแปะไว้ครับ
1. ดูแนวโน้ม
เรียน รู้ชาร์ตในระยะยาว โดยเริ่มการวิเคราะห์ชาร์ตในระดับเดือนและสัปดาห์ ของช่วงเวลาหลายๆปี การดูชาร์ตในระดับของช่วงเวลาที่กว้างขึ้นจะทำให้สามารถมองเป็นแนวโน้มของ ตลาดในระยะยาวได้ชัดเจนขึ้น เมื่อทราบถึงแนวโน้มระยะยาวแล้ว จึงจะดูชาร์ตในระดับวันและนาที การดูแนวโน้มในช่วงสั้นเพียงอย่างเดียวจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ถึงแม้ว่าคุณจะลงทุนในระยะสั้น คุณจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหากคุณลงทุนในทิศทางเดียวกับแนวโน้มในระยะกลางและ ยาว
2. วิเคราะห์และไปตามแนวโน้ม
แนว โน้มของตลาดมีหลายช่วงเวลา ระยะยาว ระยะกลาง และระยะสั้น สิ่งแรกคือ คุณต้องรู้ว่าคุณจะลงทุนในระยะเวลาเท่าใด และวิเคราะห์ชาร์ตของช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยที่คุณต้องแน่ใจว่าคุณลงทุนไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มในระยะเวลานั้นๆ ซื้อเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาขึ้น และขายเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาลง หากคุณลงทุนในระยะกลาง ให้ใช้ชาร์ตในระดับวันและสัปดาห์ ถ้าคุณลงทุนระยะสั้น ให้ใช้ชาร์ตระดับวันและรายนาที อย่างไรก็ตาม ในแต่ละกรณี ให้ดูแนวโน้มของช่วงเวลาที่ยาวขึ้น และใช้ชาร์ตของช่วงเวลาที่สั้นลงในการหาจุดที่จะเข้าซื้อ-ขาย
3. หาจุดสูงสุดและต่ำสุด
วิเคราะห์ แนวรับและแนวต้าน จุดที่ดีที่สุดในการเข้าซื้อก็คือจุดใกล้แนวรับซึ่งมักจะเป็นจุดต่ำสุดของ รอบการซื้อขายที่แล้ว จุดที่ดีที่สุดสำหรับการขายก็คือจุดที่ใกล้แนวต้าน ซึ่งมักจะเป็นจุดสูงสุดของรอบการซื้อขายที่แล้ว หากมีการเคลื่อนผ่านแนวต้าน แนวต้านนั้นจะกลายเป็นแนวรับสำหรับการปรับตัวลดลง อีกนัยหนึ่ง จุดสูงสุดเดิมกลายเป็นจุดสูงสุดใหม่ และเช่นเดียวกัน ในกรณีที่ราคาทะลุผ่านแนวรับ มักจะมีแรงขายออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้จุดต่ำสุดเดิมกลายเป็นจุดต่ำสุดใหม่
4. รู้ว่าจะไปไกลแค่ไหนจึงจะกลับตัว
เทียบ อัตราส่วนการขึ้น-ลง เป็นเปอร์เซนต์ โดยทั่วไปตลาดจะมีการกลับตัวทั้งขึ้นและลงตามสัดส่วนเปอร์เซนต์ของแนวโน้ม ของช่วงก่อน คุณสามารถวัดอัตราส่วนของการปรับตัวขึ้นหรือลงของแนวโน้มปัจจุบันได้โดยใช้ อัตราส่วนชุดหนึ่งที่มีการกำหนดค่าไว้แล้ว เช่น การกลับตัวขึ้นหรือลง 50%ของแนวโน้มก่อน เป็นอัตราพื้นฐานที่ใช้กันบ่อย อัตราส่วนต่ำสุดของการวัดการดีดกลับ คือ 1/3 ของแนวโน้มก่อน และอัตราส่วนสูงสุดคือ 2/3 อัตราส่วนที่สำคัญและควรให้ความสนในก็คือ อัตราส่วน Fibonacci 36% และ 62% ดังนั้น เมื่อตลาดมีการพักในช่วงแนวโน้มขาขึ้น จะมีจุดซื้อคืนจุดแรกเมื่อตลาดปรับตัวลง 33-38% ของจุดสูงสุด
5. ใช้เส้นแนวโน้ม
เส้น แนวโน้มเป็นหนึ่งในเครื่องมือการวิเคราะห์ที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมีเพียงขอบเขตที่เส้นแนวโน้มแสดงและจุด 2 ตำแหน่งบนชาร์ต เส้นแนวโน้มขาขึ้นวาดโดยใช้จุดต่ำสุด 2 จุด ที่อยู่ใกล้กัน และเส้นแนวโน้มขาลงวาดโดยใช้จุดสูงสุด 2 จุดใกล้กัน ราคาของหุ้นมักจะเคลื่อนเข้าใกล้เส้นแนวโน้มก่อนที่จะเคลื่อนกลับเข้าสู่แนว โน้มของมัน หากราคาทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม จะแสดงถึงสัญญาณของการเปลี่ยนแนวโน้ม เส้นแนวโน้มจะมีผลเมื่อราคาเคลื่อนแตะที่เส้น 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เส้นแนวโน้มที่ลากได้ยิ่งยาว หมายถึง จำนวนครั้งมากขึ้นของการทดสอบเส้นแนวโน้ม และยิ่งทำให้เส้นแนวโน้มมีความสำคัญมากขึ้น
6. ติดตามค่าเฉลี่ย
หมาย ถึงการเคลื่อนไหวของเส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งจะบอกถึงราคาเป้าหมายที่จะซื้อและขาย เส้นค่าเฉลี่ยเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าราคาอยู่ในแนวโน้มเช่นใดและช่วยยืนยัน สัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม อย่างไรก็ตาม เส้นค่าเฉลี่ยไม่ใช่เครื่องมือที่จะบอกล่วงหน้าว่าแนวโน้มกำลังจะเปลี่ยน รูปแบบของการใช้เส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นที่นิยมคือการใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นเพื่อหาจุดซื้อ-ขาย ค่าที่นิยมใช้สำหรับค่าเฉลี่ยที่ใช้คู่กันคือ 5 วันและ10 วัน, 10 วันและ25วัน, 25 วันและ 50 วัน สัญญาณซื้อ-ขายเกิดขึ้นเมื่อเส้นที่มีค่าเฉลี่ยสั้นกว่าตัดกับเส้นที่ ยาวกว่า หรือ เมื่อราคาเคลื่อนผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน เนื่องจากเส้นค่าเฉลี่ยต่างๆเป็นดัชนีที่เคลื่อนไปตามแนวโน้ม การใช้เส้นค่าเฉลี่ยจึงเหมาะสำหรับตลาดที่ในช่วงที่มีแนวโน้มที่ชัดเจน
7. รู้ถึงจุดที่ตลาดกลับตัว
Oscillators (เครื่องมือที่มีตัวเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 100) เป็นดัชนีที่ช่วยชี้บอกจุดที่มีการซื้อหรือขายมากเกินไป ในขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยจะช่วยยืนยันว่าตลาดการเปลี่ยนแนวโน้ม Oscillators จะช่วยเตือนล่วงหน้าว่าตลาดเคลื่อนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากเกินไป และทำให้เกิดการกลับตัว Oscillators ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ Relative Strength Index (RSI) และ Stochastics ทั้งสองตัวนี้จัดเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า Oscillators เพราะให้ค่าที่อยู่ในช่วง 0 ถึง 100 เมื่อ RSI มีค่าเกิน 70 จะแสดงถึงการซื้อที่มีมากเกินไป (Overbought) และ ต่ำกว่า 30 แสดงถึงการขายมากเกินไป (Oversold) ค่า Overbought และ Oversold สำหรับ Stochastics คือ 80 และ 20 นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้ค่า 14 วันหรือสัปดาห์สำหรับการคำนวณ Stochastics และ 9 หรือ 14 วันหรือสัปดาห์สำหรับ RSI สัญญาณกลับตัวที่เกิดใน Oscillators จะเป็นสัญญาณเตือนว่าตลาดกำลังจะกลับตัว เครื่องมือเหล่านี้ใช้ได้ดีเมื่อตลาดอยู่ในช่วงที่เหมาะกับการเล่นเก็งกำไร และไม่แสดงแนวโน้มที่ชัดเจน สัญญาณในระดับสัปดาห์สามารถนำมาใช้ช่วยในการขจัดสัญญาณหลอกและยืนยันสัญญาณ ในระดับวัน และใช้สัญญาณระดับวันสำหรับยืนยันสัญญาณในรายนาที
8. มองเห็นสัญญาณเตือน
Moving Average Convergence Divergence (MACD) เป็นดัชนีวัด (พัฒนาโดย Gerald Appel) ที่รวมเอาระบบการตัดผ่านของเส้นค่าเฉลี่ยและการชี้จุด Overbought/Oversold ของ Oscillators ไว้ด้วยกัน สัญญาณซื้อจะเกิดเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดขึ้นเหนือเส้นที่ช้ากว่า โดยที่ทั้ง 2 เส้นอยู่ต่ำกว่าศูนย์ สัญญาณขายเกิดเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดลงต่ำกว่าเส้นที่ช้ากว่าที่เหนือ ศูนย์ สัญญาณในระดับสัปดาห์จะมีน้ำหนักและความสำคัญมากกว่าสัญญาณในระดับวัน MACD histogram ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่ง แสดงถึงส่วนต่างระหว่าง MACD ทั้งสองเส้น สามารถส่งสัญญาณเตือนว่าจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มได้เร็วกว่าอีกด้วย
9. เป็นแนวโน้มหรือไม่เป็นแนวโน้ม
Average Directional Index (ADX) เป็นดัชนีที่จะบอกว่าตลาดอยู่ในช่วงที่มีแนวโน้มหรือไม่ และเป็นตัวช่วยวัดว่าแนวโน้มนั้นอยู่ในระดับใด เส้น ADX ที่ชี้ขี้นแสดงถึงแนวโน้มที่มีความชัดเจนมาก ควรใช้เส้นค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ หากเส้น ADX ปรับตัวต่ำลง แสดงถึงตลาดที่ไม่มีแนวโน้มและเหมาะสำหรับเก็งกำไรระยะสั้น ควรใช้ Oscillators ในการวิเคราะห์ การใช้ ADX ช่วยนักลงทุนในการวางแผนกลยุทธ์การลงทุนและในการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม กับสภาวะตลาด
10. รู้จักการดูสัญญาณเพื่อยืนยันแนวโน้ม
สัญญาณ ที่ให้การยืนยันรวมถึงปริมาณการซื้อขายและจำนวนการซื้อขายที่มีการลงทุนจาก ผู้ที่เข้ามาซื้อขายใหม่ (open interest) ทั้ง 2 ตัวนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการยืนยันแนวโน้มสำหรับตลาดล่วงหน้า ปริมาณการซื้อขายมักจะส่งสัญญาณกลับตัวก่อนที่ราคาจะกลับตัว สิ่งสำคัญคือจะต้องมั่นใจว่ามีปริมาณการซื้อขายอย่างหนาแน่นในทิศทางเดียว กับแนวโน้มปัจจุบัน ในแนวโน้มขาขึ้น ควรมีปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้นเพื่อยืนยันว่าแนวโน้มนั้นยังแข็งแรงอยู่ ส่วน open interest ที่เพิ่มขึ้นนั้นจะช่วยยืนยันว่ามีเงินไหลเข้ามาต่อเนื่องและช่วยหนุนให้แนว โน้มปัจจุบันคงอยู่ หาก open interest ลดลง ย่อมเป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มนั้นใกล้สิ้นสุดลง ดังนั้นราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นควรจะมีปริมาณซื้อขายและ open interest หนุนอยู่ด้วย