มีคำถามเรื่อง การประเมินผลการลงทุนเข้ามาบ่อย ผมตอบไปก็เยอะ วันนี้ถือโอกาสนำมาเรียบเรียงเป็นบทความเอาไว้ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน ไปเลย เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้วิธีการประเมินผลงานของการลงทุนของตัวเอง นอกเหนือจากการดูแค่กำไรขาดทุน เพียงอย่างเดียว
ผมนำวิธีเบื้องต้นง่ายๆที่ไม่ซับซ้อนมานำเสนอ จริงๆเทคนิคของการทำ Portfolio Evaluation มีหลากหลาย แต่ผมเลือกวิธีที่ไม่ซับซ้อนเพื่อให้ท่านได้นำไปประยุกต์ได้จริง ด้วยการคำนวณเบื้องต้น หรือเขียนสมการในโปรแกรม Spread Sheet ทั่วไป โดยไม่ต้องซื้อหาโปรแกรมอื่นๆเพิ่มเติม
%Growth
Compound Annual Growth Rate(CAGR)
ผมนำวิธีเบื้องต้นง่ายๆที่ไม่ซับซ้อนมานำเสนอ จริงๆเทคนิคของการทำ Portfolio Evaluation มีหลากหลาย แต่ผมเลือกวิธีที่ไม่ซับซ้อนเพื่อให้ท่านได้นำไปประยุกต์ได้จริง ด้วยการคำนวณเบื้องต้น หรือเขียนสมการในโปรแกรม Spread Sheet ทั่วไป โดยไม่ต้องซื้อหาโปรแกรมอื่นๆเพิ่มเติม
%Growth
คิดการเติบโตของผลกำไร รวมเงินปันผล แบบเป็น % เทียบจากเงินต้นลงทุน วิธีนี้ทำเพื่อมองเห็นภาพรวมของการเติบโตของเงินผลตอบแทนที่ออกมาจาก การลงทุน
เพื่อให้ชัดเจนและวัดประสิทธิ์ภาพได้ อาจจะลองแยกการโต %Growth แบบรายปี และเทียบกับมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ เพื่อวัดประสิทธิ์ภาพการลงทุนของเรา ยิ่งถ้าเราลงทุนแล้วชนะตลาดหุ้นได้ทุกปี ต่อเนื่องกันหลายปี แบบนี้ถือว่า เอาตัวรอดได้ระดับหนึ่งแล้ว
แนวคิดการประเมินผลการเติบโตของพอร์ตลงทุนแบบเฉลี่ยรายปี โดยมีสมการการคำนวณค่า ดังนี้
ตัวอย่างการคำนวณ
พิจารณาพอร์ตลงทุน ระยะเวลาตั้งแต่ปี 2007 ถึง 2012 จำนวน 5 ปี โดยในปี 2007 เงินเริ่มลงทุน 30000 บาท สิ้นปี 2012 มีเงิน 185040 บาท
ดังนั้นค่า CAGR = (185040/30000)^0.2)-1 =0.4388 =43.88%
MAR Ratio
MAR Ratio คือการนำเอาค่า CGAR ซึ่งเป็นตัวแทนของผลกำไรและการเติบโตมาเทียบกับ maximum draw down ของระบบการลงทุน ซึ่งเป็นค่าสะท้อนความเสี่ยง และการขาดทุนหนักที่ระบบได้รับมา (อ่านเรื่อง Drawdown เพิ่มเติมจาก link)
โดยค่า MAR ที่ได้ ใช้แสดงถึงอัตราส่วนการทำกำไรต่อความเสี่ยงที่ระบบมี ซึ่งมีสมการการคำนวณดังนี้
MAR Ratio = CAGR /Maximum Drawdown
ยกตัวอย่างระบบการทุนระยะเวลา 10 ปี มีค่า CAGR = 35% และ MaxDD =15%
ดังนั้นค่า MAR = 35/15= 2.33
ค่า MAR ยิ่งมากยิ่งดีเพราะหมายถึงอัตรากำไรที่มาก เมื่อเทียบกับการขาดทุน แต่ความเป็นจริง อัตราส่วนนี้มีประเด็นเรื่องของ ความผันผวนของตลาดมาเกี่ยวข้องด้วย แน่นอนว่าถ้าตลาดขาลง โอกาสที่ระบบเจอกับค่า MaxDD ที่สูง ก็จะมีมาก
ถ้าระบบลงทุนมีค่า MAR ที่เท่ากับหรือน้อยกว่า 1 นั้นหมายถึงความเสี่ยงที่เกิดในระบบมีมาก เกินความคุ้มค่าของการสร้างผลตอบแทน ดังนั้นจะบ่งบอกให้เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขระบบต่อไป