คำว่า "เล่นหุ้น" ในความหมายที่ผมใช้บ่อยๆนั้นคือ "การเก็งกำไร" เพื่อสร้างผลตอบแทนในรูปแบบของส่วนต่างราคา คำว่าเล่น นั้นก็หมายถึงการมองว่า การเก็งกำไร นั้นก็คือ เกมส์การเงินในรูปแบบหนึ่ง ที่เราสามารถแพ้ชนะ ได้ในแต่ละตา เหนือสิ่งอื่นใด ถ้าเราจะเป็นผู้ชนะในเกมส์ เราต้องมีทักษะและมีกลยุทธ
โดยคำนวณ Position size จากสมการ
ในมุมมองแบบหัวโบราณ อาจจะมองว่าเกมส์ เป็นเรื่องของเด็ก ไร้สาระเสียเวลา แต่แท้จริงแล้ว ในงานวิจัยจำนวนมากของต่างประเทศชี้ว่า เกมส์นั้นมีประโยชน์ มีกฏ มีรูปแบบชัดเจน และช่วยฝึกสมอง การคิดการสร้างกลยุทธให้กับเรา
ผมเอง เป็นอีกคนที่ชื่นชอบบอร์ดเกมส์มาก ฝึกทักษะการเอาชนะ การคิดเป็นระบบ และการวางกลยุทธ เกมส์แบบนี้ผู้ใหญ่ก็เล่นได้ และสนุกได้กับมัน หรือถ้าใครคิดภาพบอร์ดเกมส์ไม่ออก ลองจินตนาการย้อนกลับไปวัยเด็กนึกถึง เกมส์เศรษฐีบอร์ดเกมส์ ที่มีกระดานตาราง, เงินปลอมกระดาษ ,ลูกเต๋า ,โฉนดที่ดิน และใบคำทำนายในประตูดวง เกมส์แรกที่สอนให้เรารู้จักคำว่า "ล้มละลาย" สอนให้เรารู้จักเลือกลงทุนในที่ดิน อสังหา ที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ เรียกเก็บเงินจากคู่แข่งได้
รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ต
หัวใจสำคัญของเกมส์ทุกเกมส์ คือการสอนให้เราเรียนรู้วิธีเอาชนะ และการเอาตัวรอด มันมาพร้อมกัน การมุ่งแต่ชนะ แล้วต้องเสี่ยงมากมายแบบหมดหน้าตัก ถ้าพลาดถ้าหมดตัว ไม่ต่างอะไรกับเกมส์การเงินของผู้ใหญ่ในตลาดหุ้น ที่ผู้ชนะได้เงินทองมากมาย ในขณะที่ผู้แพ้ขาดทุนหมดตัวได้เสมอ
ดัชนีตลาดหุ้นไทย กำลังไต่ระดับยกเพดานบินสูงสุดรอบ 14 ปี ผมเองเคยมีประสบการณ์เทรดหุ้นในตลาดมาปีนี้ก็ปีที่ 8 เคยมีโอกาสซื้อหุ้นตอนดัชนี 400 ก็เคยมาแล้ว สิ่งหนึ่งที่พบตลอดเวลาที่ดัชนีเคลื่อนที่ไปคือ คนที่คิดว่าตลาดหุ้นจะลง จะไม่ไปต่อหรือมาถึงจุดสูงสุดแล้ว ถ้าจำกัดได้ตอน 1000 จุด ก็จะมีกูรูมาบอกว่า ตลาดหุ้นแพงไม่น่าซื้อ เดี่ยวก็ลง PE ตลาดสูง พอดัชนีไปต่อ 1100 จุดก็จะมีกูรู กลุ่มเดิม ออกมาบอกอีกว่า ยากแล้วมาจุดสูงสุดรอบหลายปี เดี่ยวตลาดก็ลง และแล้วตลาดหุ้นก็ไป 1200 จุด เมื่อมี QE3 มันก็ทำท่าว่าจะไปต่อ ทะยานไปแตะ 1282 ใครจะรู้ว่าอนาคตถ้ามี QE4 QE5 หรือมีการอัดเงินเข้ามาในระบบ และเงินไหลมาตลาดเกิดใหม่อีก ตลาดหุ้นไทยอาจจะไป 1500 หรือ 2000 ก็เป็นได้
เป็นธรรมดาที่ดัชนีตลาดหุ้น ขึ้นสูง ราคาหุ้นส่วนใหญ่ย่อมปรบตัวสูงขึ้นแพงขึ้นตามไปด้วย ถ้าเราเลือกที่จะเทรดหุ้นตามรอบ หลายคนอาจจะมีปัญหาเรื่องของจิตใจ กลัวที่จะไม่กล้าซื้อหุ้นยามดัชนีสูง หรือเลยจุดสูงสุดในอดีตมา กลุ่มพวกนี้ก็มักจะไม่ซื้อหุ้น เพราะคิดว่าราคาหุ้นแพง ดัชนีสูงโอกาสจะลงมีมาก สุดท้ายก็ตกรถ ขายหมูไปตั้งแต่ ป้าย 1100 แล้ว
กับอีกประเภท คือกลุ่มนักเก็งกำไรที่ ไม่มีหลักบริหารจัดการเงิน ไม่สนใจความเสี่ยง ไม่กลัวตลาดหุ้นจะตก สนุกกับการเก็งกำไรด้วยความโลภ มองภาพว่าตลาดกำลังกระทิงไม่มีทางหยุด โดยไม่ได้ระแวดระวัง พวกนี้ลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก และจำนวนคงที่เหมือนเดิมตลอดเวลา เพื่อที่จะเร่งทำกำไรจากตลาดหุ้น ยิ่งดัชนีสูง ยิ่งกล้าเสี่ยง กล้ากอบโกย ทำให้ต้องรับความเสี่ยงที่สูง โอกาสผิดพลาด ขาดทุนหมดตัวก็จะมีมากตามไป
การจะเอาตัวรอดให้เราไม่ขาดทุนหมดตัว และให้เรารักษาผลกำไรให้ได้นั้นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุด คือการมีกลยุทธ การวางระบบความคิดให้ถูกต้อง ควบคุมความเสี่ยง ให้ดี ในขณะเดียวกันต้องไม่ปล่อยให้โอกาสทำกำไรหลุดลอยเพราะความกลัว ผมนำตัวอย่างการบริหารจัดการเงิน เรื่องการวาง Position Size หรือหน้าตักเงินลงทุน มานำเสนอเพราะ มันเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันดี
หลักการที่ผมใช้คือ การวางแผนการบริหารจัดการเงินทุน ที่จะเข้าเทรด ให้ยืดหยุ่นแปรผันตามอัตราความเสี่ยงของตลาด โดยคำนึงถึงปัจจัยหลักๆ ได้แก่ ระดับดัชนีตลาดหุ้น, ค่าความเสี่ยงต่อการเทรด (%risk per trade) ที่เรารับได้, จุดตัดขาดทุน(%Stop loss)
การคำนวณ Position size ก็คือการหาว่า ในการเทรดหนึ่งครั้ง เราจะใช้เงินเท่าไหร่ในการเทรด เพื่อรองรับกับความเสี่ยงที่เรารับได้ %risk per trade แบบแปรผันตามระดับดัชนี เพื่อในกรณีที่ผิดพลาด ถ้าเราขาดทุน เราก็จะไม่เสียเงินต้นมากเกินไป จนพอร์ตเราเกิดเสียหาย ถ้าเป็นแนวคิดแบบเดิม เรามักจะใช้การเฉลี่ยเงินต้นเป็นก้อนเลขลงตัว เช่น 1,000,000 แบ่งเป็น 3 กองซื้อหุ้น 3 ตัว เป็นต้น แต่วิธีนั้นมันก็จะไม่ยืดหยุ่น และมีโอกาสที่เราจะไม่ได้คำนวณความเสี่ยงลงไปในจำนวนเงินที่ใช้เทรดด้วย
วิธีที่ผมใช้ ผมมองว่า ดัชนีตลาดอยู่ในระดับต่ำ ความเสี่ยงแบบเป็นระบบ Systematic risk จะมีค่าน้อย (ยิ่งหุ้นที่มีค่าเบต้าเข้าใกล้ 1) โดยการหาค่า %risk per trade ของผมจะใช้กราฟย้อนหลัง 20 ปี ของตลาดหุ้นมาคำนวน เพื่อนำจุด High Low มากำหนดเป็น Zone ในการวางแผน(สร้างโซนโดยใช้ค่าอัตราส่วน Fibonacci) ยิ่งดัชนีตลาดอยู่ใกล้จุดต่ำสุด ค่าความเสี่ยงแบบเป็นระบบก็ต่ำ %risk per trade ก็จะสูง ในขณะเดียวกับ %Stop Loss ก็จะกว้าง เพื่อเทรดกินกำไรจากเทรนด์แนวโน้มที่ใหญ่
โดยคำนวณ Position size จากสมการ
Position size = (Purchasing Money * %risk per trade)/(%stop loss)
ตัวอย่าง มีเงินทุน 1,000,000 บาท
ดัชนี SET ปัจจุบัน ที่ 1250 จุด ค่า %risk per trade = 2%
ใช้ Stop loss ในการเทรด order ที่ 5%
ดังนั้นจะต้องใช้เงินเพื่อเทรดหุ้นใน 1 order เท่ากับ
Position size = (1000000*0.02)*0.05 = 400 000 บาท ความหมายของการคำนวณนี้คือ ถ้าเกิดตลาด Crash หรือหุ้นตกรุนแรง เราจะขาดทุนสูงสุด เพียง 20000 บาท(โดย Stop loss ที่ 5%) ซึ่งนั้นก็จะไม่ทำให้พอร์ตของเราเสียหาย หรือเสี่ยงมาก และเราก็จะไม่พลาดโอกาสที่จะทำกำไรแม้ ดัชนีตลาดหุ้นจะอยู่ในระดับสูง เทคนิคการบริหารจัดการเงินนี้ ไม่เกี่ยวกับว่าพอร์ตหุ้นคุณจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ แต่มันเป็นกลยุทธ ที่ใช้ในการเข้าทำกำไร ในทุกสภาวะตลาด ยิ่งดัชนีขึ้นสูง ความเป็นกระทิงโอกาสที่จะทำกำไรจากการวิ่งขึ้นของแนวโน้มราคาหุ้นก็จะมี แต่เราก็จำกัดความเสี่ยงในการเทรดเอาไว้ไม่ให้เกินกำลังของเรา บนแนวคิดแบบ limit risk high return แม้จะมองว่าใช้กระสุนในอัตราที่น้อยในช่วงตลาดกระทิง แต่ต้องไม่ลืมว่าไม่มีใครรู้อนาคต
พลทหารต่อให้เก่งแค่ไหน ก็ไม่อาจจะคาดเดากลศึกของแม่ทัพใหญ่ไปได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นกูรู หรือสุดยอดเทรดเดอร์ ก็ไม่อาจจะคาดเดาทิศทางของตลาดหุ้นได้แม่นยำ เพราะอนาคตที่กำหนดทิศทาง มันอยู่ในมือของชนกลุ่มน้อยคนคุมเกมส์ ที่เป็นเจ้าของเม็ดเงินมหาศาลระดับโลก ซึ่งไม่จำเป็นต้องสะท้อนความเป็นไปตามสิ่งที่เห็น ตามตัวเลขเศรษฐกิจ หรือตามสภาวะที่ควรจะเป็นเสมอไป
ดังนั้นการพยายามไปคาดเดาตลาด ด้วยอคติทางด้านใดด้านหนึ่ง(คิดว่าขึ้น หรือคิดว่าลง) ย่อมไม่อาจจะเป็นผลดีต่อเรา การปรับตัวเองให้หยืดหยุ่น เตรียมความพร้อมควบคุมความเสี่ยง ย่อมจะเป็นผลดีมากกว่าครับ