ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Break out !!!!!!!

 บรรยากาศ ฝนตกพร่ำๆแบบนี้ ผมชอบไปนั่งกินกาแฟนอกชาน ได้กลิ่นหอมๆของกาแฟ ผสมกับกินดินหลังฝนตก เป็นอะไรที่ผ่อนคลาย สบายใจเป็นอย่างมาก ทุกวันนี้แม้จะไม่รวย ไม่มีมีเงินเยอะ แบบคนอื่นๆ แต่การได้ทำอะไรที่ตัวเองอยากทำ นั้นก็ถือว่าเป็นโชคดีในชีวิตผมแล้ว 


สิ่งที่อยากมีมากคือ ได้มีบ้านนอกเป็นของตัวเอง คือการได้ใช้ชีวิตในต่างจังหวัด ไม่ได้ต้องมานั้่ง make money บนตึกสูงในเมืองหลวงแบบชีวิตมนุษย์เงินเดือน สำหรับผมนั้นเป็นเป้าหมายหนึ่งในชีวิตที่ตัวเองได้สำเร็จ ตอนนี้ได้ทำงานที่อยากทำควบคู่ไปกับการเทรดหุ้นและอนุพันธ์ มันก็ทำให้ทุกวันที่ตื่นเช้ามีความหมาย มีอะไรท้าทาย ให้ทำอยู่เสมอ ดังนั้นเวลาที่มีคนถามผมว่าทำไมถึงเข้ามาเล่นหุ้น คำตอบของผมนั้นไม่ใช่เพราะรวย เหมือนคนอื่น แต่สำหรับผมมันคือ เรื่องของอิสระ

อิสระ ไม่ใช่อิสระภาพทางการเงิน เพราะยังไปไม่ถึงจุดหลุดพ้นหรือนิพานทางการเงินตรงนั้น แต่อิสระของผมมันเหมือนกับการค้นพบเกราะเพชรเจ็ดสี ที่คอยปกป้องเราจากความจน คอยสนับสนุนด้านการเงินกับเรา แบบที่เรามั่นใจได้ว่า ยังไงชีวิตนี้ก็ไม่อดตาย ทำให้ผมกล้าจะฉีกกรอบได้เบรคเอ๊าท์ ออกจากขนบดั่งเดิมบนทางเดินของคนชั้นกลางแบบวิถีปฏิบัติทั่วไป ที่ต้องพึ่งพาการทำงานประจำ ออกมาทำสิ่งที่ตัวเองฝัน และอยากทำ 

พูดถึงคำว่า Break out ทำให้ผมนึกถึงคำถามของน้องคนหนึ่งที่ ถามเรื่อง Technical analysis ขึ้นมาเลยขอนำข้อสังเกต เทคนิคส่วนตัวของผมที่ใช้ในการดูเบรคเอ๊าท์ มาแนะนำกัน

1. สร้างเส้นสังเกต
ลากเส้น แนวรับ แนวต้าน เพื่อเป็นกรอบ สังเกตการเคลื่อนที่ของราคา โดยเราสามารถสร้างแนวรับ หรือแนวต้านได้จาก หลายวิธี เช่นการใช้ Fibonacci , การใช้จุดสูงสุด ต่ำสุดก่อนหน้า หรือการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นต้น 



สิ่งสำคัญคือ เรามองทิศทางการเคลื่อนที่ให้ออก ส่วนใหญ่หุ้นที่รอ การ Break out มักจะมี volatility ต่ำและเคลื่อนที่แบบชะลอตัวออกข้าง หรือ sideway 

2. ตรวจสอบความถี่
การแกว่งตัวของราคา ที่ออกข้างในกรอบ แนวรับ แนวต้านที่เราวางไว้เป็นโซนสังเกต เมื่อเราพิจารณาที่แนวรับ หรือแนวต้าน ใดที่ราคาหุ้น เข้าไปแตะทดสอบบ่อยๆครั้ง หมายความว่า เส้นนั้นเริ่มมีความถี่ของการเคลื่อนตัวผ่านเส้นสูง โอกาสที่เมื่อราคาทดสอบและจะทะลุผ่านก็จะมีมากขึ้นไปด้วย



3. รูปแบบความต่อเนื่อง
รูปแบบความต่อเนื่องเราจะพิจารณาความค่อเนื่องของการเคลื่อนที่ของราคา ในลักษณะต่างๆ เช่น การยกตัวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย ก่อนทดสอบแนวรับแนวต้าน, การเคลื่อนตัว แล้วทำจุดต่ำสุด หรือสูงสุด ใหม่ต่อเนื่อง เป็นต้น 

สิ่งเหล่านี้ก็จะมีนัยยะ ต่อโมเมนตัม และกำลังของการเคลื่อนที่ เมื่อพิจารณาปริมาณการซื้อขายร่วมด้วยแล้ว ก็จะพบว่าโอกาสที่กำลังของการแกว่งตัวจะชนะแนวรับหรือแนวต้าน ก็จะมีสูงไปด้วย



ลองฝึกฝนหาตัวอย่างการสังเกตรูปแบบแนวโน้มราคาไร้ทิศทาง หรือ sideway เยอะๆที่สำคัญเราต้องดูปริมาณการซื้อขาย ที่เกิดพร้อมกับปฏิกิริยาของทิศทางราคา ควบคู่ไปด้วยเสมอ เมื่อจะเข้าใจ เป็นประโยชน์มากทั้งในด้านการสร้างระบบ และการวิเคราะห์ เพราะ นักเก็งกำไรจำนวนมากต้องมาเสียท่า ขาดทุนเพราะ sideway มานักต่อนักแล้วครับ ดังนั้นอย่าประมาท sideway เป็นอันขาด