ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวรับแนวต้าน ตอนที่ 1

แนวรับและแนวต้าน เปรียบดังแนวของเส้น ณ ตำแหน่งราคาใดๆ ที่ใช้เป็นแนวสังเกตสำหรับการเคลื่อนที่ของราคาผ่านแนวนั้นๆ ด้วยเนื่องจากการหยุด การทะลุผ่าน หรือการไหลตกลงของราคา ณ ที่แนวสังเกตนี้ล้วนมีนัยยะ สำหรับการนำมาใช้งานในรอบต่อไป การทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวรับแนวต้าน จึ้งเป็นเรื่องจำเป็นควบคู่ไปกับการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาหุ้น


แนวรับ 
แนวรับ(Support) คือแนวที่มีแรงซื้อมารับราคาหุ้นไว้ไม่ให้ตกลงไปมากกว่านี้หรือสามารถชะลอการร่วงลงของราคาได้ ในขณะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปแนวรับจะมีลักษณะเหมือนแนวที่เป็นจุดสังเกตการเคลื่อนที่ลงของราคาในแนวโน้มขาลง (Down Trend)

แนวรับจะมีได้มากกว่า 1 แนวและสามารถนำแนวรับในอดีตที่มีนัยยะมาใช้ในการสังเกตในปัจจุบันได้ โดยบ่อยครั้งที่แนวรับสำคัญจะเกิดจากการที่ราคาหุ้นในทิศทางลงหลายรอบ มาหยุดลง ณ ที่แนวรับนั้น




จากภาพ S0 S1 S2 และ S3 คือแนวรับ บนแนวโน้มของลงที่เมื่อราคาหุ้นวิ่งเข้าหาแล้ว มีการชะลอหรือเด้งกลับระยะสั้นๆ โดยแนวรับที่มีความแข็งแรงจะสามารถหยุดราคาหุ้นในขาลงได้นาน

แนวต้าน
แนวต้าน(Resistance) คือแนวที่มีแรงขายมาต้านราคาหุ้นไว้ไม่ให้ขึ้นสูงไปมากกว่านี้หรือสามารถชะลอการขึ้นของราคาได้ ในขณะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปแนวต้านจะมีลักษณะเหมือนแนวที่เป็นจุดสังเกตการเคลื่อนที่ลงของราคาในแนวโน้มขาขึ้น (Up Trend)

แนวต้านจะมีได้มากกว่า 1 แนวและสามารถนำแนวต้านในอดีตที่มีนัยยะมาใช้ในการสังเกตในปัจจุบันได้ เช่น จุดสูงสุดเดิม ที่มีการเทขายจำนวนมาก





จากภาพ H0 H1 H2 H3 H4 คือแนวต้านที่เกิดขึ้นในทิศทางแนวโน้มขาขึ้น กรณีที่ทิศทางแนวโน้มมีความแข็งแรงและมีคุณภาพของแนวโน้มสูงระยะห่างของแนวต้านจะมีมาก บวกกับจะสามารถเบรกแนวต้านและวิ่งขึ้นต่อไปได้เรื่อยๆ

จากต้านเป็นรับ จากรับเป็นต้าน

การติดตามทิศทางราคาหุ้นอย่างต่อเนื่องจะพบว่า เมื่อหุ้นมีการแนวโน้มแนวรับหรือแนวต้านก่อนหน้าจะทำหน้าที่สลับกัน ยกตัวอย่างเช่น

กรณีที่ 1 แนวโน้มเป็นแนวโน้มขาขึ้น เราจะสามารถนิยามแนวต้านได้จากจุดสูงสุด และเมื่อแนวโน้มขาขึ้นวิ่งมาถึงแนวต้านที่ แรงขาย มากกว่า แรงซื้อ ทำให้ราคาหุ้นไม่สามารถ ทะลุผ่านแนวต้านไปได้ ราคาหุ้นจะเริ่มคงที่ระยะสั้นๆและเกิดการย่อตัวกลับตัวของแนวโน้ม แนวต้านก่อนหน้าจะกลายเป็นแนวรับที่ทดสอบการย่อตัวของราคา

กรณีที่ 2 แนวโน้มเป็นขาลง เกิดแรงขายต่อเนื่องจนสร้าง จุดต่ำสุดใหม่ได้ตลอดก่อให้เกิดแนวรับใหม่ ในทิศทางแนวโน้มขาลง โดยที่แนวโน้มอาจจะมีการซื้อกลับ โดยแรงซื้อจะดึงราคาหุ้นให้มีการ Rebound ขึ้น แนวรับก่อนหน้าจะทำให้ที่เป็นแนวต้าน เพื่อทดสอบการกลับตัวหรือ rebound ของราคา กรณีที่แรงซื้อมากเพียงพอชนะแรงขายที่แนวนี้ ก็จะเกิดการกลับตัวของแนวโน้มจากขาลงเป็นขาขึ้น 


ตอนที่ 2 
http://cway-investment.blogspot.com/2011/07/2_22.html